วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

ร้อยกรองไทย

วิทยา ผิวงาม

ฉันทลักษณ์
โคลง
ฉันท์
กาพย์
กลอนสุภาพ
ร่าย
ประวัติการประพันธ์
การพัฒนาร้อยกรองไทยในปัจจุบัน
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
บทอาขยาน

ร่าย

ร่าย เป็นชื่อของคำประพันธ์ ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กำหนดว่า จะต้องมีบท หรือบาท เท่านั้น เท่านี้ จะแต่งให้ยาว เท่าไรก็ได้ เป็นแต่ต้อง เรียงคำ ให้คล้องจองกัน ตามข้อบังคับ เท่านั้น ลักษณะบังคับต่างๆ ใช้อย่างเดียวกับ โคลง 2 และโคลง 3

คำร่าย "ร่าย" แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน
ร่าย แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. ร่ายสุภาพ
2. ร่ายดั้น
3. ร่ายโบราณ
4. ร่ายยาว

1. ร่ายสุภาพ



ตัวอย่าง:



2. ร่ายดั้น



ตัวอย่าง:



2. ร่ายโบราณ



ตัวอย่าง:



ร่ายยาว

การแต่งร่ายยาว ต้องรู้จัก เลือกใช้ ถอยคำ และสัมผัสใน ให้มีจังหวะ รับกันสละสลวย เมื่ออ่านแล้ว ให้เกิด ความรู้สึก มีคลื่นเสียง เป็นจังหวะๆ อย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต" และจำนวนคำ ที่ใช้ ในวรรคหนึ่ง ก็ไม่ควรให้ยาว เกินกว่าช่วง ระยะหายใจ ครั้งหนึ่งๆ คือ ควรให้อ่าน ได้ตลอดวรรค แล้วหยุดหายใจได้ โดยไม่ขาดจังหวะ ดูตัวอย่างได้ ในหนังสือ เวสสันดรชาดก

ร่ายยาวนี้ ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด ที่ต้องว่า เป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ และเทศน์ธรรมวัตร เป็นต้น เมื่อจบความ ตอนหนึ่งๆ มักลงท้ายด้วย คำว่า นั้นแล นั้นเถิด นี้แล ฉะนี้แล ด้วยประการฉะนี้ คำนั้นแล นิยมใช้เมื่อ สุดกระแสความตอนหนึ่งๆ หรือจบเรื่อง เมื่อลง นั้นแล ครั้งหนึ่ง เรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อ มาจากคำ นั้นแล นั่นเอง เพราะเวลาทำนอง จะได้ ยินเสี ยง นั้นแล เป็น นั้นแหล่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย