สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

รัฐ (State)

องค์ประกอบของรัฐ

3. รัฐบาล (Government)

รัฐบาล คือ คณะบุคคลที่ใช้อำนาจอธิปไตยกำหนดนโยบายบริหารประเทศและนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล ถ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยคือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน รัฐบาลจะปฏิบัติหน้าที่บริหารประเทศไปในทางที่จะสนองเจตนารมณ์ของสาธารณชน (Public-Will) ส่วนรัฐบาลเผด็จการซึ่งอาจจะเป็นเผด็จการคอมมิวนิสต์ เผด็จการทรราชย์ เผด็จการแบบฟาสซิสม์ แบบ นาซีสม์และรัฐบาลแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รัฐบาลนี้จะบริหารประเทศไปโดยไม่คำนึงถึงความต้องการหรือเจตนารมณ์ของสาธารณชนแต่อย่างไร หรือจะคำนึงถึงก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น จะเห็นได้ว่า รัฐบาลคือองค์การบริหารประเทศ จึงกล่าวได้ว่า รัฐบาลเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของรัฐอันรวมไปถึงกระทรวง ทบวง กรม ดังนั้นรัฐทุกรัฐจะต้องมีรัฐบาลบริหารประเทศ ไม่เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยก็เป็นรัฐบาลแบบเผด็จการ รัฐจะขาดเสียซึ่งรัฐบาลมิได้ยกเว้นแต่คราว ปฏิวัติหรือรัฐประหาร แต่คณะผู้ปฏิวัติหรือรัฐประหารนั้นก็จะทำหน้าที่เป็นรัฐบาลไปพร้อมเมื่อยึดอำนาจได้แล้ว “โดยทั่วไปแล้วในรัฐหรือประเทศหนึ่ง ๆ จะมีรัฐบาลเดียวเท่านั้น หากมีกรณีที่รัฐบาลชุดหนึ่งชุดใดเปลี่ยนไปก็มิได้หมายความว่ารัฐหรือประเทศสิ้นสุดไปด้วยแต่อย่างใด เพราะในบางครั้งมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนรูปของรัฐบาล”

สรุปว่า รัฐบาล คือ คณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครองรัฐ ไม่ว่าอำนาจที่ได้มานั้นจะมาจากการเลือกตั้ง แต่งตั้ง สืบสายโลหิต ยึดอำนาจหรือด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม หากบุคคลกลุ่มนั้นสามารถก่อให้เกิดการปกครอง สามารถบังคับใช้กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ตนตั้งขึ้นมาต่อประชากรในอาณาเขตนั้น ๆ แล้ว ถือว่าบุคคลกลุ่มนั้นมีฐานะเป็นรัฐบาล และเชื่อว่ารัฐบาลคือกลไกที่สำคัญของรัฐที่จะปฏิบัติหน้าที่หลักอยู่ 2 ประการ คือ

1. หน้าที่ในรัฐ โดยการจัดระเบียบในสังคมพิทักษ์ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในสังคม พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดถึงการให้บริการและสวัสดิการแก่สังคมอันเป็นการสนองเจตนารมณ์ของประชาชนในรัฐ
2. หน้าที่ระหว่างรัฐ โดยการรักษาป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่นและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์แห่งรัฐ

  1. ประชากร (Population)
  2. ดินแดน (Territory)
  3. รัฐบาล (Government)
  4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)

องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย