สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม

      สังคมจัดเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เพราะการที่จะเกิดเป็นรัฐขึ้นได้นั้น ต้องเริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้อยู่รวมกลุ่มกัน เป็นหมู่ เป็นพวก เป็นกลุ่ม จนกลายเป็นรัฐขึ้น และการที่มนุษย์ต้องมีการรวมกลุ่มกันนี้ ก็เป็นสิ่งธรรมดา ดังที่อริสโตเติลได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเมื่อรวมกลุ่มกันเป็นสังคมมนุษย์ จนเกิดเป็นรัฐขึ้น สังคมก็ต้องอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของรัฐ ดังนั้นรัฐกับสังคมจึงมีความสัมพันธ์กัน ควบคู่กันมาอยู่ตลอดเวลา มิอาจจะแยกจากกันได้

รัฐเป็นชุมชนทางการเมือง ที่ประชาชนอาศัยอยู่รวมกัน ในดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน มีการปกครองที่เป็นระเบียบ และมีอิสระในการปกครองตนเอง ส่วนคำว่าสังคมนั้น ได้มีท่านผู้รู้และนักปราชญ์หลายท่าน ให้ความหมายและคำจำกัดความไว้ดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ.2525ได้อธิบาย สังคม ไว้ว่า คนจำนวนหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ตามระเบียบกฎเกณฑ์โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน

วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวันกล่าวว่า สังคม หมายถึงการที่คนจำนวนหนึ่ง มาอยู่รวมกัน มีความผูกพันร่วมกัน และดำรงชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้กลุ่มของตนอยู่รอด

จุมพล หนิมพานิช กล่าวว่าสังคม หมายถึงกลุ่มคนที่อยู่รวมกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยยอมรับแบบแผน หรือวิธีการ และกฎเกณฑ์ของกลุ่มร่วมกันในการดำเนินชีวิต

Landisกล่าวว่าสังคม หมายถึงกลุ่มคนที่อยู่รวมกันมาเป็นระยะเวลานานพอ และมีการยึดถือวัฒนธรรมร่วมกัน

Greenกล่าวว่า สังคม หมายถึงกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิก ประกอบด้วยประชากร สถาบัน เวลา สถานที่ และผลประโยชน์ ประชากรมีทุกเพศและทุกวัย ชีวิตทางสังคมจัดไว้เป็นระเบียบ อาทิการแบ่งแรงงาน การอยู่อาศัยในอาณาเขตแน่นอน และภายในช่วงเวลาถาวร การมีผลประโยชน์ร่วมกันที่สนับสนุนให้แต่ละบุคคลสามารถดำรงชีวิตทางสังคมได้

สรุปได้ว่า สังคมนั้นจะหมายถึงคนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีความสัมพันธ์ต่อกันทางสังคม มีดินแดนที่อยู่ของตน มีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นของตนเองโดยเฉพาะ และจะมีบางสิ่งบางอย่างคล้ายคลึงกัน เป็นต้นว่า ขนบธรรมเนียมประเพณี ทัศนคติและคุณธรรมต่างๆ ในขณะเดียวกันทุกคนก็อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันที่สังคมของตนกำหนดขึ้นไว้

ความสำคัญระหว่างรัฐกับสังคม
กลไกในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ
กฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายตามแบบพิธี
การจัดลำดับความสำคัญของกฎหมาย
พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล
ที่มาของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายภายในประเทศ (National Law)
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
วัฒนธรรมหรือประเพณี
ผลของการมีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย