วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
โดย ภัสรา เทพบุญ
คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอาวุธ
คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการแข่งขัน หรือกีฬา
คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการตกแต่ง การแต่งกาย
คำศัพท์ที่เกี่ยวกับโสเภณี
ภาคผนวก
คำศัพท์ที่เกี่ยวกับโสเภณี
ตามปกติจะให้ภาพลักษณ์ของการที่มนุษย์ถูกทำให้เป็นสินค้า คือสามารถซื้อขายกันได้
ดูเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะแปลกแยกจากคนทั่วไป
ตรงที่ทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งร่างกายและจิตใจก็สามารถซื้อขายได้
ซึ่งเป็นลักษณะของการได้เงินมาอย่างง่าย ๆ
เมื่อนำมาใช้เป็นศัพท์ทางการเมืองจึงมักใช้กับชาวบ้านผู้ขายสิทธิในการเลือกตั้ง และ
ส.ส.ที่ขายตัวให้พรรคการเมืองที่จ่ายเงินเพื่อดึงคนเข้าพรรค
ซึ่งจะเป็นที่สังเกตว่าคำที่เกี่ยวกับโสเภณีและการขายตัวในภาษาทางการเมืองมีลักษณะหนึ่งที่ร่วมกันอยู่
คือ มีการซื้อ ขาย
เหมือนกันแต่เมื่อนำมาใช้ในบริบททางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กับนักการเมือง
จะให้ภาพลักษณ์ที่ดูรุนแรงกว่า แสดงให้เห็นถึงความเห็นแก่เงิน เห็นแก่ตัว ร้าย
หลอกลวง ดูเป็นมนุษย์ที่ไร้ศักดิ์ศรีเพราะสามัญสำนึกต่าง ๆ สามารถซื้อได้ด้วยเงิน
ตัวอย่างที่ 1 ตกเขียว
ความหมายเดิมของคำว่า ตกเขียว หมายถึง
การจ่ายเงินซื้อตัวเด็กผู้หญิงไว้ก่อน เมื่อโตเป็นสาวแล้วก็ไปรับจากพ่อแม่มาขายตัว
เมื่อคำนี้ถูกนำมาใช้เป็นภาษาเกี่ยวกับการเมือง จะหมายความถึงการเจรจาซื้อตัว ส.ส.
จากพรรคการเมืองเดิมก่อนยุบสภา
ทั้งความหมายเก่าและความหมายใหม่นี้จะมีส่วนที่มีลักษณะคล้ายกันตรงที่เป็นการจ่ายเงินซื้อตัวบุคคลก่อนที่จะใช้การได้
คือ มีลักษณะคล้ายกับการจองไว้ก่อนนั่นเอง
ตัวอย่างที่ 2 เรียกแขก
ตามปกติแล้วคำว่า เรียกแขก หมายถึง การใช้กลวิธีต่าง ๆ เช่น การพูด
ในการดึงดูดใจลูกค้าให้มารับบริการ
ซึ่งบ่อยครั้งจะพบอยู่ในบริบทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโสเภณี หรือการขายตัว
แต่เมื่อนำมาใช้กับภาษาการเมือง เรียกแขก จะหมายถึง
การเรียกความนิยมจากประชาชนโดยให้บุคคลในพรรคที่มีความนิยมมาก
และเป็นที่เชื่อถือของประชาชน เป็นผู้ออกหาเสียง
ตัวอย่างที่ 3 ขายตัว
ในภาษาการเมืองจะมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรกจะเป็นการขายตัวของชาวบ้าน ซึ่งหมายถึงการยอมรับเงิน
หรือของจากนักการเมือง แล้วสัญญาว่าจะเลือกผู้สมัครคนนั้นอีกลักษณะคือ
การขายตัวของนักการเมือง ซึ่งจะหมายถึงการรับเงินจากพรรคการเมืองอื่น
โดยตกลงกันว่าจะย้ายเจ้าไปสังกัดในพรรคนั้น
สำหรับคำศัพท์อื่น ๆ
ที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้
ก็จะมีความหมายในหลายลักษณะแต่ก็ยังคงมีบางส่วนที่คงลักษณะของภาพลักษณ์เดิมไว้อยู่
เช่น การเขียนเทียน เสียรังวัด เว้นวรรค ดูด ล้วงลูก อุ้มหมู เช็คหัว หัวย่อย
ทำการบ้าน การวางเรือใบ แร่ยูเรเนียม ไพ่ไฟ ถือกระเป๋า สูญญากาศ ฯลฯ
คำเหล่านี้แม้จะไม่สามารถจัดกลุ่มได้
แต่ก็มีความสำคัญในแง่ของการใช้เพราะจะพบว่าเป็นที่นิยมใช้กันมากตามบทความในหนังสือพิมพ์รายวัน
จึงจะขอยกตัวอย่างบางคำ ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 ดูด
ในกรณีนี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การสูบด้วยปากเท่านั้น แต่ ดูด
ในภาษาการเมืองจะหมายถึง การใช้เงินซื้อตัว
ส.ส.ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เชื่อถือของประชาชนเข้ามาอยู่ในพรรคของตนคำว่า ดูด
ทางการเมืองจึงให้ความรู้สึกในทางลบ คือ
เป็นภาพลักษณ์ของพลังเงินที่มีอำนาจดึงคนจากพรรคหนึ่ง
ให้เข้ามาอยู่ในอีกพรรคหนึ่งได้นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 2 ล้วงลูก
ในภาษาทางการเมืองหมายถึง การเข้าไปด้าวก่ายงาน
หรือพยายามเข้าไปมีบทบาทกับงานของผู้อื่น คำว่า ล้วงลูก
จึงให้ภาพลักษณ์ในแง่ที่ไม่ดีนัก
เพราะเป็นการเข้าไปก้าวก่ายงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของตน และหากถูกเรียกว่า
จอมล้วงลูก เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา
ก็จะให้ภาพลักษณ์ไปในลักษณะที่เป็นหัวหน้าพรรคที่เอาใจใส่งานของลูกน้องมากเกินความจำเป็น
ตัวอย่างที่ 3 ปิดล้อมหมู่บ้าน
หมายถึง การซื้อบัตรประชาชนชาวบ้านมาเก็บไว้
ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการปิดล้อมทั้งหมู่บ้านหากจะดูความหมายของคำว่าปิดล้อม
แต่เดิมจะให้ภาพลักษณ์ของการก่อการร้ายคือทำสิ่งผิดกฏหมาย
และเมื่อนำมาใช้ในบริบทของการเมือง จึงให้ความรู้สึกของการทุจริตมากยิ่งขึ้น ไปอีก
ตัวอย่างที่ 4 อุ้มหมู
หมายถึง การจัดพาหนะ รับ-ส่ง ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งถือว่าเป็นการทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง
ตัวอย่างที่ 5 แร่ยูเรเนียม
ความหมายเดิมของ แร่ยูเรเนียม
หมายถึงธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เมื่อนำมาใช้เป็นภาษาทางการเมือง
หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นคำที่ให้ภาพลักษณ์ในแง่ที่ดี
ตัวอย่างที่ 6 การบ้าน
ความหมายเดิมคือ งานที่ครูหรืออาจารย์
สั่งให้นำกลับมาทำที่บ้านซึ่งจะมีภาพลักษณ์ของการบ้านคือ งานที่จะต้องกลับมาทำ
มีลักษณะคล้ายหน้าที่ เมื่อนำมาใช้ในภาษาการเมืองจะหมายถึง
ผลงานในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆในขณะที่เป็น ส.ส.อยู่
ซึ่งทั้งสองความหมายจะมีลักษณะร่วมกันในส่วนที่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ
การบ้านจึงเป็นสัญลักษณ์ของงานในหน้าที่นั้น ๆ