สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สิทธิมนุษยชน

บทที่ 1 ปฐมบท
บทที่ 2 นโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
บทที่ 3 แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน
บทที่ 4 แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนตามกลุ่มเป้าหมาย
บทที่ 5 การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญา และแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ
บทที่ 6 การส่งเสริมการดำเนินงานสิทธิมนุษยชน
บทที่ 7 กลไกการบริหารการจัดการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

บทที่ 4 แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนตามกลุ่มเป้าหมาย

แผนปฏิบัติการแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัย

สภาพปัญหา

ในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับภาระดูแลผู้หนีภัยจาก ประเทศเพื่อนบ้านนับจำนวนรวมกันแล้วกว่าล้านคน บุคคลเหล่านี้หนีออกประเทศของ ตนด้วยสาเหตุต่างๆ กันอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง สงครามกลางเมือง ภัยประหัตประหาร การยึดครองของต่างชาติ การกดขี่เสรีภาพ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศาสนา การละเมิดสิทธิ มนุษยชน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนภัย เศรษฐกิจที่ตกต่ำ และความอดอยากแร้นแค้น

ในปัจจุบัน มีผู้หนีภัยฯ ชาวพม่าประมาณ 1 แสนคน อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่ว คราว 11 แห่ง ในพื้นที่ชายแดน 5 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ราชบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และชุมพร และนักศึกษาพม่าประมาณ 1 พันคน ในศูนย์ บ้านมณีลอย จังหวัดราชบุรี สำหรับผู้อพยพจากอินโดจีนได้เดินทางกลับมาตุภูมิหรือไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม จนเกือบหมดแล้ว

ในปัจจุบัน แม้ว่าประเทศไทยมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย สถานะผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) เนื่องจากมีข้อติดขัดหลายประการทาง กฎหมายในการให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ลี้ภัยตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาฯ แต่ประเทศไทย ก็ได้ให้การปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยบนพื้นฐานของหลักการมนุษยธรรมและสอดคล้องตามหลัก การพื้นฐานที่สำคัญของอนุสัญญาฯ มาโดยตลอด ซึ่งการปฏิบัติของไทยได้รับการ ยอมรับด้วยดีจากประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ร่วมมือกับองค์การ ระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติองค์การอนามัยโลก ฯลฯ ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หนีภัยเหล่านั้น ในระหว่างที่พักพิงอยู่ในประเทศไทย และเมื่อสถานการณ์ของประเทศมาตุภูมิเหล่านั้นกลับคืนสู่สภาพที่ปลอดภัย ก็ได้ช่วย เหลือผู้หนีภัยเดินทางกลับมาตุภูมิอย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี

นอกจากนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลไทยได้จัดทำ Working Arrangements กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย (UNHCR) โดยได้อนุญาตให้ UNHCR มีบทบาทเพิ่มขึ้นในปัญหาผู้หนีภัยฯ พม่า เช่น ร่วมสังเกตการณ์ในการรับให้ พื้นที่พักพิงและการส่งกลับ ช่วยเหลือทางการไทยในการจัดทำทะเบียน และการย้ายพื้น ที่พักพิง เป็นต้น

อนึ่ง ข้อจำกัดด้านนโยบายของรัฐบาลไทยต่อผู้หนีภัยฯ ในปัจจุบันคือ จะให้ความ ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบและการประหัตประหารเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยสาเหตุอื่น ๆ เช่น ถูกบังคับย้ายถิ่นฐาน บังคับใช้ แรงงาน หลบหนีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือความหวาดกลัวต่าง ๆ รัฐบาลไทยไม่ สามารถแบกรับภาระในการจัดหาพื้นที่พักพิงชั่วคราวให้ได้ นอกจากดำเนินการส่งกลับ อย่างปลอดภัย

ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้กำหนดการรับรองสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคนที่อยู่ใน ประเทศไทยโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น ซึ่งย่อมรวมถึงผู้อพยพ ผู้หนีภัย ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วยโดยมีบัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับการคุ้มครอง"

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
มาตรการเร่งด่วน

1.ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เมื่อมีผู้หนีภัยจากการสู้รบและภัย ประหัตประหารเข้ามาอยู่ในเขตแดนไทย โดยมุ่งให้ผู้หนีภัยมีความปลอดภัยในชีวิต เป็นประการสำคัญ

2 รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้หนีภัย โดยอำนวยความสะดวกให้ผู้หนีภัย ได้อยู่อาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่มีความปลอดภัย มีอาหาร มีสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐาน มีสุขอนามัยจนกว่าสถานการณ์ในประเทศที่ผู้หนีภัยออกมากลับคืนสู่สภาพปลอด ภัยต่อชีวิตของผู้หนีภัย

3. ประสานและร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชนในการ ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัยใน ระหว่างที่อยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่รัฐบาลจัดให้

4. อำนวยความสะดวกในการส่งกลับผู้หนีภัยคืนสู่ประเทศมาตุภูมิอย่างปลอดภัย และมีศักดิ์ศรีเมื่อเห็นว่าสถานการณ์ในประเทศมาตุภูมิของผู้หนีภัยเหล่านั้นได้กลับคืนสู่ สภาพปกติและไม่เป็นภัยต่อชีวิตของผู้หนีภัย

5. ให้ผู้หนีภัยเด็กและสตรีได้รับพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัย ทั้งในด้าน ร่างกายจิตใจ และปัญญาในระหว่างอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว

6. ป้องกันและขจัดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้หนีภัย โดยเฉพาะผู้หนีภัย เด็กและสตรี
ระยะเวลาดำเนินการ : ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของแผนนี้
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ
มาตรการระยะยาว

1.ดำเนินนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศเพื่อนบ้านร่วมกับประเทศพัฒนาแล้วและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น United Nations Development Programme (UNDP) ธนาคารโลก, World Food Programme, UNICEF เป็นต้นทั้งนี้ เพื่อป้องกันและลดจำนวน ผู้หนีภัยที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยให้มี จำนวนในระดับที่ประเทศไทยและองค์การ ระหว่างประเทศจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเอื้อต่อการสนับสนุนให้ผู้หนีภัยสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาได้โดยสมัครใจ เพราะสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ดีขึ้นในประเทศที่ตนจากมา
ระยะเวลาดำเนินการ : ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของแผนนี้
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงการต่างประเทศ กรมวิเทศสหการ กระทรวง พาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการมั่นคงแห่งชาติ

2. กระตุ้นให้ประเทศต้นเหตุและองค์การระหว่างประเทศพิจารณาดำเนิน มาตรการป้องกันต่าง ๆ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในการป้องกันการ หลั่งไหลของ ผู้หนีภัยจากประเทศต้นเหตุไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

3. เสนอให้รัฐบาลพิจารณาความเป็นไปได้ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย สถานภาพผู้ลี้ภัย ปี ค.ศ. 1951

4.1 สิทธิมนุษยชนของเด็ก
4.2 สิทธิมนุษยชนของสตรี
4.3 สิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ
4.4 สิทธิมนุษยชนของคนพิการ
4.5 สิทธิมนุษยชนของผู้ป่วย
4.6 สิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์
4.7 สิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อย
4.8 สิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าว
4.9 สิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัย
4.10 สิทธิมนุษยชนของคนไร้สัญชาติ
4.11 สิทธิมนุษยชนคนจน
4.12 สิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงาน
4.13 สิทธิมนุษยชนของเกษตรกร
4.14 สิทธิมนุษยชนของผู้บริโภค
4.15 สิทธิมนุษยชนของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
4.16 สิทธิมนุษยชนของผู้ต้องคุมขัง
4.17 สิทธิมนุษยชนของผู้พ้นโทษ
4.18 สิทธิมนุษยชนของผู้เสียหาย (เหยื่ออาชญากรรม)
4.19 สิทธิมนุษยชนของชุมชน
4.20 สิทธิมนุษยชนของผู้รับบริการสงเคราะห์จากรัฐ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย