ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ปรัชญาการเมืองของกรีก
ปรัชญาการเมืองสนับสนุนอำนาจเด็ดขาด
ปรัชญาการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism)
ข้อโจมตีระบบอำนาจเด็ดขาด (Absolutism)
สาธารณรัฐอภิชนาธิปไตย
ทฤษฎีว่าด้วยเสรีภาพของการเมือง
แนวความคิดในภาคปฏิบัติ
ปรัชญาการเมืองสนับสนุนอำนาจเด็ดขาด (Absolutism)
มีนักคิด 3 ท่าน ที่สนับสนุนอำนาจเด็ดขาด คือ
1. Niccolo Machiavelli (1469-1527)
2. Jean Bodin (1530-1596)
3.
Thomas Hobbes (1588-1679)
เหตุที่นักคิดทั้ง 3 สนับสนุนความคิดและบุคคลคนเดียวปกครอง เพราะ
- บ้านเมืองเต็มไปด้วยสงคราม
- สมัยนั้นศาสนาคริสต์ครอบงำการเมือง การปกครอง ซึ่งเน้นบุคลิกภาพอิสระของมนุษย์ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาด
- ระบบศักดินาสมัยกลาง ขุนนางมีอำนาจมาก กษัตริย์ไม่ค่อยมีอำนาจ
ทั้ง 3 ท่าน แสวงหาความชอบธรรมให้ระบบกษัตริย์ โดยมีวิธีที่ต่างกัน คือ
- Machiavelli แยกศีลธรรมออกจากการเมือง
- Bodin บุกเบิกแนวความคิด รัฐาธิปไตย (รัฐ + อธิปไตย)
- Hobbes ใช้หลักเหตุผลว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์
1. Niccolo Machiavelli (1469-1527)
- คลั่งไคล้ในหนังสือ
และอำนาจ
- ชอบความสวยงาม โดยเฉพาะผู้หญิง
- ชอบความสนุกสนาน และอาหารชั้นดี
- ความคิดการเมืองของเขา เป็นในเชิงขาดศีลธรรม ตรงกับความประพฤติส่วนตัวของเขา
- เขียนหนังสือ The Prince เพื่อให้ตัวเองได้รับการสนับสนุน
The Prince (1531)
- แสวงหาและรักษาไว้ซึ่งอำนาจทางการปกครอง
โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม
- ความคิดทางการเมืองอยู่บนสมมติฐานในการมองมนุษย์ ว่ามีธรรมชาติอย่างไร
ซึ่งตามมุมมองในหนังสือเล่มนี้มองว่า มนุษย์อกตัญญู โลเล ซ่อนเร้น โลภโมโทสัน
กลัวความตาย ฯลฯ
- ผู้ปกครองควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) มองโลกตามความเป็นจริง
2)
คุณสมบัติผสมกันระหว่างสิงโตกับสุนัขจิ้งจอก คือ เป็นหลักในทุกสิ่ง
เป็นศูนย์กลางของอำนาจ เข้มแข็ง เห็นแก่ตัว อยู่เหนือคนอื่นทั้งความคิด และจิตใจ
ไม่ใช้ความกรุณาในทางที่ผิด ต้องพร้อมที่ใช้ความโหดร้าย กล่าวคือ ใช้อำนาจเด็ดขาด
เพื่อที่จะรักษาความสงบเรียบร้อย ความโหดร้ายเด็ดขาดทำร้ายเพียงคนบางคน
แต่การปกป้องสังคมถือเป็นสิ่งสำคัญ
3) ต้องทำให้ผู้อื่นทั้งรักทั้งกลัว แต่ถ้าทำใดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต้องทำให้กลัว เพราะ
- ธรรมชาติของมนุษย์
...เขาจะอยู่กับท่าน ประกาศว่าจะสละชีวิต ทรัพย์สิน ลูกเต้าให้แก่ท่าน ตราบเท่าที่ท่านยังเป็นประโยชน์ และอันตรายยังอยู่ไกล แต่เมื่ออันตรายเข้ามาใกล้ เขาจะไม่เป็นพวกท่านอีกต่อไป... - มนุษย์โดยธรรมชาติกล้าล่วงเกินคนที่ตนรักได้มากกว่าคนที่ตนกลัว
สายใยแห่งความรักมนุษย์ตัดมันได้ ถ้ามีผลประโยชน์
สายใยแห่งความกลัวจะมีอยู่ ยากที่จะลืมเลือน - การทำให้คนรักขึ้นอยู่กับจิตใจของคนผู้นั้น การทำให้กลัวขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเอง
แต่การสร้างความกลัวต้องไม่ทำให้เกิดความเกลียดชัง โกรธแค้น
เพราะจะนำไปสู่การส่องสุมคิดร้ายต่อผู้ปกครอง ดังนั้น
จึงมีวิธีการป้องกันไม่ให้คนอื่นโกรธ คือ การละเมิดทรัพย์สินของราษฎรและคนอื่น
และการไม่ล่วงเกินเกียรติยศและลูกเมียของคนอื่น
คนเราพ่อตายไม่นานก็ลืม แต่ใครมาละเมิด ล่วงเกินเรา ไม่มีวันที่จะลืม
การเมือง เป็นศิลปะของการรักษาอำนาจ สร้างเอกภาพทางการเมือง
สร้างความมั่นคงในการปกครอง มีความสงบเรียบเรียบ ต้องแยกศีลธรรมออกจากการเมือง
เพราะอำนาจแสดงถึงความชอบธรรมของวิธีการ จะใช้วิธีไหนๆ ก็ได้
ไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม
2. Jean Bodin (1530-1596)
- เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย
และเป็นตุลาการ
- มีความคิดเห็นว่า การเมือง คือ การปกครองด้วยความยุติธรรมและศีลธรรม
6 บรรพว่าด้วยสาธารณรัฐ (The Six Books of the Commonwealth) (1576)
สาธารณรัฐ คือ ประชาคมมนุษย์ที่มีการปกครองอย่างมีศีลธรรม มิใช่ทาสหรือคนรับใช้
แต่เป็นราษฎร ซึ่งจะไม่มีสิทธิต่อต้านอำนาจรัฐ ต้องเคารพกฎหมาย
ในประชาคมมนุษย์มีอำนาจเด็ดขาดสูงสุดถาวร คือ อำนาจที่เกิดมาพร้อมกับการมีรัฐ
สนองเพื่อให้มีรัฐ อำนาจนี้ไม่ถูกจำกัดโดยระยะเวลา หรือกฎหมาย
ทั้งนี้มิใช่เพราะไม่มีกฎหมาย แต่เพราะอำนาจนี้เป็นผู้ออกกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบัน
ก็คือ อำนาจนิติบัญญัติ Bodin ได้เรียกอำนาจนี้ว่า อำนาจอธิปไตย
ที่สามารถที่จะออกกฎ และยกเลิกกฎได้
รัฐกับอำนาจอธิปไตยเป็นของคู่กัน
ทำให้เกิดเป็นพื้นฐานในการจัดรูปแบบการปกครอง 3 รูปแบบ
ใช้เกณฑ์ของอำนาจอธิปไตยเป็นตัวแบ่ง คือ
- ระบอบกษัตริย์ อำนาจอธิปไตยอยู่ที่คนเพียงคนเดียว
- อภิชนาธิปไตย อำนาจอธิปไตยอยู่ที่คนกลุ่มน้อย
- ประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนรวมในการใช้อำนาจอธิปไตย
ในทัศนะของ Bodin เห็นว่า ระบอบกษัตริย์ เป็นการปกครองที่ดีที่สุด เพราะ
- สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น ครอบครัวมีหัวหน้าครอบครัว คือ พ่อ โลกมีพระเจ้าเพียง 1 องค์
- ระบอบกษัตริย์ หรือการปกครองเพียง 1 คน จะมีหลักประกันเอกภาพแห่งอำนาจที่มั่นคง องค์อธิปัตย์จะมีได้เพียงหนึ่งเท่านั้น หากมีมากกว่านี้จะไม่มีใครออกคำสั่งรับคำสั่งขององค์อธิปัตย์หลายองค์ได้
- ระบอบกษัตริย์จะสามารถเลือกคนฉลาด เข้าใจกิจกรรมบ้านเมืองได้ดีกว่า
อภิชนาธิปไตยกับประชาธิปไตย เป็นระบอบการเมืองที่ต้องมีสภา
ซึ่งประกอบด้วยคนดีและคนบ้า ส่วนระบอบกษัตริย์ในทัศนะของ Bodin จะไม่เป็นทรราช
เพราะระบอบทรราชย์จะปกครองราษฎรเยี่ยงทาส แต่ระบอบกษัตริย์นี้ ราษฎรเคารพกฎหมาย
ส่วนกษัตริย์เคารพกฎธรรมชาติสอดคล้องกับหลักศีลธรรม
เสรีภาพและกรรมสิทธิของพลเมืองจึงยังมีอยู่ อำนาจอธิปไตยแม้ว่าจะสูงสุดเด็ดขาด
ก็แบ่งแยกไม่ได้ และมีขอบเขตการใช้ซึ่งถูกจำกัดด้วยศีลธรรม
3. Thomas Hobbes (1588-1679)
-
อยู่ในยุคที่กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในยุโรป ถูกคุกคามอย่างหนัก มีการสู้รบฆ่าฟัน
เขาจึงหนีไปอยู่ที่ Paris
เป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์แก่ผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ในอนาคตของอังกฤษ ในราชวงศ์ Stuart
ซึ่งมีความขัดแย้งทางศาสนา
- ในปี 1642 พระเจ้า Charles I เกิดความขัดแย้งกับรัฐสภา ภายใต้การนำของ
Oliver Cromwell เหตุการณ์จบลงด้วยชัยชนะของ Cromwell ในปี 1651
และได้ปกครองประเทศอังกฤษในช่วงนั้น
Leviathan (1651)
Leviathan คือ สิ่งมีชีวิตที่มีพลานุภาพสูงสุด
หนังสือเล่มนี้สะท้อนแก่นปรัชญาการเมืองของ Hobbes
ซึ่งเขาเขียนขึ้นด้วยความกลัวสภาพที่ไม่สงบเรียบร้อยและความกระหายที่จะเห็นสันติภาพ
ปรัชญาความคิดในหนังสือเล่มนี้ มีดังนี้
1) ฐานคติการมองมนุษย์ : มนุษย์ในธรรมชาติมีความเห็นแก่ตัว
กระหายและรักตัวกลัวตาย มีเหตุผลเหนือสัตว์ สามารถคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ
และมีความเท่าเทียมกันในการมีความหวัง เพื่อบรรลุสิ่งที่ต้องการ
ทั้งยังมีความเท่าเทียมกันในปัญญาความคิด หรือเล่ห์กลที่จะเข้าถึงเป้าหมายได้
2) มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ : มนุษย์ทุกคนเป็นศัตรูหรือคู่แข่งกัน
มนุษย์เป็นสุนัขป่าสำหรับมนุษย์ด้วยกัน
แต่จะเข้าร่วมกันเพื่อป้องกันอันตรายอย่างเดียวกัน สังคมมนุษย์จึงไม่มีความสงบสุข
มีแต่การต่อสู้ แก่งแย่ง จนกลายเป็นสงคราม มนุษย์จะอยู่ในสภาวะหวาดกลัว
ต้องเผชิญอันตรายตลอดเวลา ในสภาวะธรรมชาติ มนุษย์ไม่มีกรรมสิทธิในทรัพย์สิน
แต่ละคนเป็นเจ้าของในสิ่งที่สามารถแย่งมาได้
และเป็นเจ้าของตราบเท่าที่ยังแข็งแรงพอและรักษาไว้ได้ มนุษย์จะต้องออกจากสภาวะนี้
มิเช่นนั้นจะถูกทำลายกันทั้งหมด
3) ทางออกสู่สันติ : คือ การมีรัฐที่มีอำนาจเด็ดขาด
ความรักตัวกลัวตายทำให้มนุษย์ยินยอมละทิ้งสภาวะธรรมชาติ
ความมีเหตุมีผลทำให้มนุษย์คิดถึงบทบัญญัติแห่งสันติภาพ (กฎธรรมชาติ)
สรุปได้ว่า อย่าทำกับผู้อื่นในสิ่งที่ท่านไม่ประสงค์ให้ผู้อื่นทำต่อท่าน
ดังเช่นการนำไปสู่การยินยอมสละสภาวะของตน
โดยมีพลังอำนาจที่ไม่อาจต้านทานได้มาบังคับให้ปฏิบัติตามพันธะ
ใครเป็นผู้จัดตั้งรัฐ : ประชาชนทำสัญญาจัดตั้งรัฐเพื่อคุ้มครองส่วนรวม
และยอมสละสิทธิที่จะติดว่าอะไรดี อะไรชั่ว หรือสิ่งใดเป็นความยุติธรรม
แต่จะผูกมัดตนเองกับสิ่งที่ดี หรือยุติธรรม ตามที่องค์อธิปัตย์บัญชา
องค์อธิปัตย์มีอำนาจสูงสุด ประชาชนต้องปฏิบัติตาม จะเรียกร้อง
ฟ้องร้องไม่ได้ องค์อธิปัตย์จะมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด
และมีหน้าที่ให้ความสงบสุขและสันติภาพแก่ราษฎร ตามเจตจำนงที่จะมุ่งให้เกิดสันติภาพ
อำนาจที่ให้แก่องค์อธิปัตย์นี้จะเรียกคืนจากรัฐไม่ได้ ยกเว้นว่า
องค์อธิปัตย์อ่อนแอลงจนคุ้มครองราษฎรไม่ได้ ประชาชนก็จะรอดพ้นจากพันธะ
และสามารถปกครองตนเอง แล้วจึงจะเลือกองค์อธิปัตย์องค์ใหม่