ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ทฤษฎีและปรัชญาทางการเมือง

ปรัชญาการเมืองของกรีก
ปรัชญาการเมืองสนับสนุนอำนาจเด็ดขาด
ปรัชญาการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism)
ข้อโจมตีระบบอำนาจเด็ดขาด (Absolutism)
สาธารณรัฐอภิชนาธิปไตย
ทฤษฎีว่าด้วยเสรีภาพของการเมือง
แนวความคิดในภาคปฏิบัติ

สาธารณรัฐอภิชนาธิปไตย

อำนาจสูงสุดอยู่ที่บุคคลจำนวนเล็กๆ ที่มีคุณภาพ มีชาติกำเนิด ได้รับการตระเตรียมด้านการศึกษา การที่จะทำให้ระบอบนี้อยู่ได้นั้น ไม่ใช่การเสียสละ แต่เป็นความรู้จักพอดีในหมู่ผู้ปกครอง ไม่มุ่งผลประโยชน์ส่วนตน กดขี่ประชาชน ความพอดีลดความตึงเครียดของระบบนี้เกี่ยวกับความแตกต่างด้านชนชั้น

ระบอบกษัตริย์

ปกครองโดยคนเพียงคนเดียว ปกครองด้วยกฎหมาย ความแน่นอนของกฎหมายจะขัดขวางเจตจำนงของกษัตริย์ ระบอบกษัตริย์นี้จะเกิดการถ่วงดุลโดยองค์กรต่างๆ ได้แก่ ขุนนาง พระ สิทธิหรืออภิสิทธิ์ของเมืองต่างๆ (การกระจายอำนาจ) คณะผู้พิพากษา ระบอบกษัตริย์จะไม่เป็นทรราช เพราะระบบที่ขัดแย้ง ถ่วงดุลของสถาบันต่างๆ ทำให้ระบอบยังคงอยู่ หลักการหรือเงื่อนไขของการปกครอง ไม่ใช่คุณธรรม แต่อยู่บนพื้นฐานของความแตกต่าง ยศบรรดาศักดิ์ อภิสิทธ์ ชั้น วรรณะ สถานภาพ ความแตกต่างเหล่านี้ ยากที่จะทำให้ชนชั้นต่างๆ ได้เปรียบ และเสียสละ เกียรติยศของกษัตริย์กับความหยิ่งในเกียรติยศของชนชั้นสูง จะทำให้บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติ ทำเพื่อรัฐ เพื่อเสียงแซ่ซ้อง สรรเสริญ

ระบอบทรราชย์

เป็นระบอบที่เหยียดหยามธรรมชาติของมนุษย์ อำนาจอยู่ที่คนเพียงคนเดียว หรือไม่กี่คน ทำเพื่อตนเองและกดขี่คนส่วยใหญ่ หลักการของระบอบนี้ คือ การสร้างความกลัว ทำให้เชื่อฟังอย่างไม่มีเงื่อนไข

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย