ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ทฤษฎีและปรัชญาทางการเมือง

ปรัชญาการเมืองของกรีก
ปรัชญาการเมืองสนับสนุนอำนาจเด็ดขาด
ปรัชญาการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism)
ข้อโจมตีระบบอำนาจเด็ดขาด (Absolutism)
สาธารณรัฐอภิชนาธิปไตย
ทฤษฎีว่าด้วยเสรีภาพของการเมือง
แนวความคิดในภาคปฏิบัติ

ทฤษฎีว่าด้วยเสรีภาพของการเมือง

คนทั่วไปเข้าใจว่า เสรีภาพ คือ ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ แต่ถ้าเราทำตามใจชอบ คนอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน ก็จะไม่มีเสรีภาพเช่นกัน ดังนั้น จึงมีการอธิบายเสรีภาพทางการเมืองทีแท้จริง ดังนี้

1) เสรีภาพ คือ สิทธิที่จะทำในสิ่งที่ต้องการและไม่ถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ โดยสิ่งที่กำหนดเสรีภาพ คือ กฎหมาย เสรีภาพจึงเป็นอำนาจของกฎหมาย เสรีภาพ คือ สิทธิอำนาจอันชอบธรรมที่กฎหมายอนุญาต

2) เสรีภาพ คือ ความสงบทางจิตใจของประชาชนคนหนึ่งที่จะไม่เกรงกลัวประชาชนอีกคนหนึ่ง กล่าวคือ มีหลักประกันในความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ความมั่นคง

นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับทฤษฎีนี้ ยังมีการพูดถึง การถ่วงดุลอำนาจ ดังนี้

เสรีภาพของประชาชนจะไม่สามารถมีได้ หากผู้ปกครองลุแก่อำนาจ มนุษย์ทุกคนที่มีอำนาจ มักลุแก่อำนาจ ใช้ไม่ไม่หยุดยั้งจนกว่าจะพบขอบเขตจำกัด แต่ก็ไม่รู้ว่าขอบเขตอยู่ไหน

การลุแก่อำนาจจะหยุดยั้งได้ โดยจัดให้อำนาจยับยั้งอำนาจ คือ ไม่ให้อำนาจรวมอยู่ในองค์กรเดียวกัน มิเช่นนั้นทุกสิ่งอย่างจะสูญเสีย หากผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อำนาจทั้ง 3 ทาง

อิทธิพลทางความคิด คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รัฐสภา ประธานาธิบดี ระบบตุลาการ

3. Jean Jacques Rousseau (1712-1778)

- ต้นตระกูลเป็นชาวฝรั่งเศส เขาเกิดที่ Geneva ทวดของเขาทิ้งมรดกให้ไว้เป็นจำนวนมาก แต่พอของเขาก็ผลาญจนหมดสิ้น กลายเป็นชนชั้นกฎุมพีที่ตกกระป๋อง กำพร้าแม่ ป้ากับน้าดูแลเขา เยาว์วัยตกระกำลำบาก เคยทำงานเป็นช่างแกะสลัก แล้วต้องตกต่ำไปเป็นคนรับใช้ ขโมยของเขากิน แต่อย่างไรก็ตามเขาก็สนใจศึกษาค้นความหาความรู้ด้วยตนเอง

- ชนะการประกวดเรียงในหัวข้องาน “ความก้าวหน้าของศิลปะและศาสตร์ต่างๆ ทำให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้น” แต่ Rousseau กับสวนกระแสโดยเขียนเรียงความ มีสาระทำนองว่า “อารยธรรมทำให้มนุษย์เสื่อมทรามลง มนุษย์ที่ดี คือ มนุษย์ที่อยู่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ”

“ต้นกำเนิดแห่งความไม่เสมอภาคของมนุษย์” (Origin of Inequality) จำแนกไว้ 2 ประเภท

1) ตามธรรมชาติ - สมอง ร่างกาย = ชีววิทยา
2) ที่ไม่เป็นตามธรรมชาติ ได้แก่ ความแตกต่างที่เกิดจากสภาวะทางสังคม เช่น ชาวนาญี่ปุ่นรวย ชาวนาไทยจน

คำอธิบาย มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ สติปัญญายังไม่พัฒนา จิตใจดีและมีศีลธรรม อ่อนไหวต่อความทุกข์ทรมานของคนอื่น เพราะว่ามนุษย์ยังอยู่ในฐานะต่างคนต่างอยู่ โอกาสที่จะเกิดความอยาก ความโลภ การต่อสู้ยังไม่มี แต่เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคม นิสัยมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางเลวลง เช่น มนุษย์อยู่กันเป็นครอบครัว พ่อ-แม่-ลูก มีความคิดในการสะสม แก่งแย่ง ต่อสู่ระหว่างกันในครอบครัว มนุษย์ที่มีปัญญา มีความฉลาด ก็เริ่มต้นเอาไม้มาปักล้อมรั้ว แล้วกล่าวว่า นี้คือที่ของฉัน เพื่อให้ทรัพย์สมบัติ ที่ดินมีหลักประกัน แล้วก็สถาปนาสังคมหรือรัฐขึ้นมาคุ้มครองทรัพย์สินของตน โดยหลอกลวงผู้อื่นว่า ภายใต้กฎหมายและรัฐจะเกิดหลักประกันในสังคม นี้คือ แหล่งที่มาของสังคมและกฎหมาย

เพราะฉะนั้น Rousseau มองสังคมกับรัฐในทางที่ไม่ดี

“มนุษย์เกิดมาอย่างอิสระหรือเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งต้องอยู่ใต้พันธนาการ”
“กฎหมายกับรัฐสร้างเครื่องพันธนาการแก่ผู้อ่อนแอ แต่เสริมสร้างพลังแก่ผู้มีอำนาจ”

ปรัชญาของ Rousseau ทิ้งเชื้อสังคมนิยม เป็นพื้นฐานหรือรากเหง้าลัทธิที่ต้องการให้ทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม ล้มล้างทรัพย์สินส่วนบุคคล ปัจจัยการผลิต ทำลายความแตกต่างทางชนชั้น

“สัญญาประชาคม” (The Social Contract) (1762)

ส่วนที่ 1: ความชอบธรรมแห่งอำนาจ
“คนที่แข็งแรงที่สุด ก็ไม่อาจแข็งแรงพอเป็นนายได้คลอดไป ถ้าไม่เปลี่ยนกำลังมาเป็นสิทธิ การเชื่อฟังเป็นหน้าที่”

แต่เป็นเพราะประชาชนเชื่อว่า ผู้ปกครองมีสิทธิที่จะปกครอง และปกครองได้เพราะประชาชนเชื่อฟังอำนาจ มีความรู้สึกว่ามีหน้าที่ที่จะทำตาม เช่น เลือกตั้ง

 

Rousseau อธิบายว่าพันธะสังคมไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของคำสั่ง หรือสิทธิของผู้แข็งแรงสุด เพราะพันธะจะสลายไปพร้อมกับกำลัง ถ้าต้องเชื่อฟัง เราก็ไม่ต้องเชื่อฟังโดยหน้าที่

ส่วนที่ 2: ที่มาของความชอบธรรมแห่งอำนาจ
ความชอบธรรมแห่งอำนาจไม่ได้เกิดจากพ่อแม่ แต่มาจากสัญญาประชาคม ซึ่งเกิดจากเจตจำนงอิสระของบุคคลที่รวมตัวกันเข้าเป็นสังคม ทำสัญญาเบ็ดเสร็จ แต่ละคนมอบสิทธิตามธรรมชาติแก่สังคมเหมือนกันหมด ทำให้เกิดองค์อธิปัตย์หรือมวลชน องค์อธิปัตย์จะปฏิบัติในนามของทุกคน สิ่งที่กระทำไปถือเป็นเจตจำนงของประชาชน

เจตจำนงทั่วไปแสดงออกโดยเสียงข้างมาก แต่ทฤษฎีของ Rousseau ก็เป็นเสมือนดาบ 2 คม กล่าวคือ ประชาธิปไตยทางตรงอาจนำไปสู่เผด็จการเสียงข้างมาก และเสียงข้างมากที่ถือว่าเป็นเจตจำนงทั่วไป ทำให้เสียงข้างน้อยเป็นความคิดที่ผิด

แม้ Rousseau จะถือเสียงข้างมาก แต่เขาก็ไม่ต้องการกีดกันคนออกเสียง เพราะสิทธิออกเสียง = สิทธิโดยทั่วไป

- คุณลักษณะของอำนาจอธิปไตย คือ เจตจำนงทั่วไป เกิดจากสัญญาประชาคม

  1. ไม่อาจโอนหรือมอบหมายให้แก่กันได้
  2. อำนาจอธิปไตยไม่อาจแบ่งแยกได้
  3. ผิดพลาดไม่ได้ เจตจำนงทั่วไปต้องถูกต้องเสมอ โน้มไปทางประโยชน์สาธารณะ
  4. เป็นอำนาจเด็ดขาด

- ความคิดทางสังคม

Rousseau ต้องการสร้างความยุติธรรมในสังคม ลดช่องว่าง คนรวย-คนจน ต้องการให้รัฐมั่นคง มีเสถียรภาพ ปรับฐานะคนรวย-คนจน ให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด คนรวยกับคนจนยิ่งแตกต่างกันมากเท่าไร สังคมก็จะมีแต่ความทุกข์ทรมาน

เศรษฐี เป็นที่มาของ กิเลศ ตัณหา กดขี่
ยาจก เป็นที่มาของ ปัญหา ภาระต่างๆ ไม่จบสิ้น

สังคมที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ จะเกิดความหายนะต่อผลประโยชน์ส่วนรวม กลายเป็นทรราชย์ เศรษฐีกลัวยาจกต้องกดขี่ เพื่อรักษาฐานะ เพราะยาจกอาจลุกฮือ ลบล้างทรัพย์สินของเศรษฐี ระหว่างทั้งสองชนชั้นจะมีการขายเสรีภาพสาธารณะ

เพราะฉะนั้นต้องมีแนวทางสายกลาง วางรากฐานความเท่าเทียมกันทางสังคม สร้างกฎหมายที่ยุติธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย