ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ประเทศจีน
เมืองโบราณทั้งเจ็ดของจีน
- เมืองปักกิ่ง
- เมืองซีอัน
- เมืองลั่วหยาง
- เมืองหนานจิง
- เมืองไคเฟิง
- เมืองหังโจว
- เมืองอันหยาง
เมืองโบราณทั้งเจ็ดของจีน
เมืองอันหยาง
เมืองอันหยางได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช ในเวลานั้น ผันเกิง พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 20 แห่งราชวงศ์ซางได้ย้ายเมืองหลวงงมายังเมืองยิน (หมู่บ้านเสี่ยวถุนในเมืองอันหยางมณฑลเหอหนานปัจจุบัน ) ต่อจากนั้น ผู้ปกครองราชวงศ์ซางได้ทำการก่อสร้างเป็นใหญ่ จนทำให้เมืองยินกลายเป็นเมืองหลวงที่ยิ่งใหญ่ในสมัยโบราณ หลังจากราชวงศ์ซาง เคยมีราชวงศ์ที่ราบภาคกลางของจีนตั้งเมืองหลวงที่อันหยางหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างเมือง เนื่องจากการสงคราม ทำให้เมืองโบราณแห่งนี้กลายสภาพเป็นซากสิ่งก่อสร้างและวัฒนธรรมในสมัยราชวงศ์ยินต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ได้ขุดค้นพบซากเมืองโบราณครั้งใหญ่อีกหลายครั้ง ทำให้ทราบการวางผังเมืองและโครงสร้างของเมืองโดยส่วนใหญ่ ผู้คนต่างก็เรียกซากสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ว่าซากเมืองยิน ซากเมืองยินตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหวนสุ่ย อยู่ห่างจากเมืองอันหยางปัจจุบัน 1 กิโลเมตร
จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกที่กว้างสุด 10 กิโลเมตร และจากทิศเหนือถึงทิศใต้ที่กว้างสุด 5 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด มากกว่า 24 ตารางกิโลเมตร ภายในบริเวณนี้ได้มีการค้นพบซากพระราชวังถึง 50 กว่าแห่ง ซากเมืองยินได้แสดงให้เห็นว่าเมืองหลวงโบราณแห่งนีมีความเชี่ยวชาญในการสร้างเมืองเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นส่วนโครงสร้างของพระราชวัง บ้านของชาวบ้าน โรงงงานและสุสานล้วนแต่มีโครงสร้างที่ค่อยข้างสมบูรณ์ พระราชวังมีขนาดสูงใหญ่ หรูหราโอ่อ่า ห้องที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดถึง 400 ตารางเมตร พื้นห้องมีความหนาถึง 2 เมตร ข้อมูลเหล่านี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมืองยินเป็นเมืองหลวงที่มีโครงสร้างสมบูรณ์มีการจัดวางผังเมืองอย่างชัดเจนมีฝีมือในการก่อสร้างค่อนข้างสูงในสมัยนั้น ปัจจุบันเมืองอันหยางเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของมณฑลเหอหนาน ทุกๆปีจะมีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการจำนวนมากเดินทางไปศึกษาค้นคว้ายังเมืองอันหยาง อีกทั้งยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมายให้ไปเที่ยวชมทัศนียภาพที่เมืองนี้อีกด้วย
ข้อมูลทั่วไป
ชนเผ่า
เมืองโบราณทั้งเจ็ดของจีน
เมืองทรงเสน่ห์
ท่องเที่ยวเมืองจีน
พิเชฎฐ์ ชัยยัง
การศึกษาอิสระ ประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สำนักบัณฑิต
สถาบันราชภัฏเชียงราย มกราคม 2553