ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

เพลงพื้นบ้าน

นายบุญเสริม แก่นประกอบ ครู โรงเรียนบ้านชงโค

การแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้าน

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีการแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ

1.เพลงที่นิยมร้องทั่วไป

 ได้แก่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ เพลงไก่ป่า เพลงพาดควายเพลงขอทาน เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง ลำตัด เพลงระบำบ้านนา เพลงแอ่วเคล้าซอ เพลงขอทานเพลงอีแซว เพลงแห่นาค

2.เพลงที่นิยมเล่นในเทศกาล

ได้แก่ เพลงบวชนาค เพลงแห่นางแมว เพลงเข้าผี เพลงชักเย่อ เพลงกรุ่น เพลงช้าเจ้าโลม เพลงคล้องช้าง เพลงเหย่ย เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงระบำชาวไร่เพลงพวงมาลัย เพลงพิษฐาน

3.เพลงที่นิยมเล่นในหน้าเกี่ยวข้าว นวดข้าว

ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงโอก เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงพานฟาง เพลงสงคอลำพวน และเพลงชักกระดาน

4. เพลงที่นิยมเล่นในนา

ได้แก่ เพลงเรือ เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เพลงร่อยพรรษาสำหรับในภาคกลางอาจแบ่งหมวดหมู่ และแหล่งที่มาของเพลงพื้นบ้านได้ดังนี้

เพลงหน้าน้ำ กฐิน ผ้าป่า

1.เพลงเรือ จังหวัดอ่างทอง จังหวัดอยุธยา จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
2.เพลงหน้าใย (เพลงโช้) จังหวัดนครนายก
3.เพลงรำภาข้าวสาร จังหวัดปทุมธานี
4.เพลงร่อยพรรษา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

เพลงหน้าเกี่ยวและนวดข้าว

1.เพลงเต้นกำ จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครสวรรค์
2.เพลงเกี่ยวข้าว(เพลงก้ม)
3.เพลงสงฟาง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
4.เพลงสงคอลำพวน จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี
5.เพลงชักกระดาน จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา
6.เพลงพานฟาง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
7.เพลงโอก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

หน้าสงกรานต์

1.เพลงพวงมาลัย จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี
2.เพลงระบำบ้านไร่ จังหวัดอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
3.เพลงฮินเลเล จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอยุธยา
4.เพลงช้าเจ้าโลม จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดนครสวรรค์
5.เพลงพิษฐาน จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอยุธยา
6.เพลงระบำ จังหวัดนครนายก
7.เพลงเหย่ย จังหวัดกาญจนบุรี
8. เพลงแห่นางแมว มีทั่วไป
9 เพลงช้าเจ้าหงส์ จังหวัดอยุธยา
10.เพลงเข้าทรงแม่ศรี ลิงลม มีทั่วไป
11.เพลงร้องยั่ว(เพลงสังกรานต์)

เล่นทั่วไป ไม่จำกัดเทศกาล

1.เพลงสำหรับเด็ก
2.เพลงอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี
3.เพลงระบำบ้านนา จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี
4.ลำตัด จังหวัดอยุธยา จังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดกาญจนบุรี
5. เพลงแอ่วเคล้าซอ
6. เพลงขอทาน
7.เพลงฉ่อย จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอยุธยา จังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดกาญจนบุรี
8.เพลงแห่นาค จังหวัดนครนายก จังหวัดนครสวรรค์
9.เพลงทรงเครื่อง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
10.เพลงครึ่งท่อน
11.เพลงไก่ป่า
12.เพลงโนเน

ตัวอย่างเพลงโนเน ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ลูกคู่ เอ๋ยยอดเจ้าเอย นายโน นายโนเนเอย โนเน โนเนโนช้า ไม่รักไม่มา แม่โนเนเอย
ชาย โนเนเจ้าช่างนาดเอย รักหญิงจะขอพิงพาด พาดไว้ที่ต้นมะไฟ พี่จะทำบุญไปด้วย
สิ่งใดหนอ ถึงจะร่วมหอกับแม่ครกบ้านใต้ (ลูกคู่รับสร้อย)
หญิง โนเนเจ้าช่างนาดเอย วันทองของน้องจะพาด พาดไว้ที่ต้นมะไฟ พี่ทำบุญไปเสียให้ตาย ก็ครกไม่ได้ หรอกนะพ่อครกบ้านใต้

ตัวอย่างเพลงขอทาน

เอ่อ เออ เออ เอย….

สิบนิ้วประนมบรมโรจน์ ลูกมันจนเข็ญใจ จงได้โปรด โปรดเสียเถิดในวันเอยนี้ ลูกมันจนเข็ญใจ จึงได้โปรด โปรดเสียเถิด ในวัน เออ เอยนี้…ถ้าลูกไม่จนเสียเต็มเจียน ลูกไม่มาเบียดเบียนคุณป้าและน้า แม่อย่าเบื่ออย่าบนว่าคนจนมาเบียน ว่าจนจริงจึงได้เพียร เอยมา…
(ซ้ำ แม่อย่าเบื่ออย่าบ่น…)
เอ่อ เออ เออ เอย….

เขาว่าทำบุญแล้วมันไม่สูญเปล่า เปรียบเหมือนหนึ่งหว่านข้าวกันลงไว้จะต้องมียวงพวงระย้า งอกตามขึ้นมาโดยไว แม่เกสรโกสุมแม่ประทุมเมศ แม่จะตัดกิเลสไปอย่างไร ถ้าท่านไม่โปรดลูกก็ต้องเป็นเปรต จะทนทุกข์สุขเรศในพงไพรให้โปรดเปรตเมตตาลูกยาไว้ไปเสียเลยในวันนี้….

เอ่อ เออ เอ้อ เอิงเอย
แม่มาทำทานเอ๊ยจานเจือ อย่าเพิ่งเบือนเบื่อ เอ๊ยลูกมาเบียนโอ้แต่พระกุศลได้สร้าง ได้แหวกวางเหนือเศียร โอ้ว่าอย่าบ่นคนจนอย่าเบียน ให้ทานนั้นเอา เอิงเอยบุญ เอิ๋งเอย เอิงเอย….

เอ่อ เออ เอ้อ เอิงเอย
ฝ่ายพระรถได้ที แลเห็นเมรีนั้นเจ้าเมามาย แล้วล้อเอาความถามซัก โอ้แม่ยอดรักของพี่ชาย ตัวพี่หรือน้องเข้ามาครองพารา ตัวพี่เพิ่งมาแต่ใหม่ๆ ยังมิรู้ทำนองของจะดี สำหรับไว้ที่ชิงชัย ตัวพี่มาอยู่มิได้รู้ได้เห็น เผื่อว่าเกิดเข็ญพี่จะคว้าอะไรได้ นี่แน่ะเมรีเจ้าเห็นทีหรือไม่ ของนั้นอยู่ไกล เอ๋ยมือ เอิ๋งเอย เอิงเอย…

ตัวอย่างเพลงแห่นาค

จากนางห่างน้องไปแล้วเอย…(วิ้ว ๆ ๆ ๆ ) แม่ชื่น หัวใจ พ่อนาคจะบวช เข้าโบสถ์ จะต้องลาทั้งหมด (ฉาดชาฉะ) ทั้งหลาย จะต้องแทนคุณ พระมารดร ท่านได้อุ้มอุทร (ฉาดชาฉะ) นานหลาย บวชแทนคุณ พระมารดา ก็ได้เลี้ยงนาคมา (รับ ) โตใหญ่ จะลาสีกง ลาสีกา ก็พ่อนาคจะลา (รับ) นานหลาย น้องอยู่ข้างหลังให้น้องตั้งใจคอย อย่างเพิ่งคิดท้อถอย (รับ)ห่างไกล ช้าหน่อย ไวหน่อย ให้ตั้งในรอคอย (รับ) นาคไว้ ถ้าแม้นหินจม เอาหินถ่วง ช้า ๆ หน่วง ๆ เข้าไว้ใครมาพูดถูกคอ น้องอย่าแก้ห่อ ผ้าให้ ใครพูดกระไรถูกคอ น้องอย่าแก้ห่อ ผ้าให้ ขอให้ใจเหมือนใจ เอ๋ยกันเอย สุดรัก แม่ผักอีรุม สุดรักแม่ผักอีรุม ถูกมือไอ้หนุ่ม ไหนเอย…ถูกมือไอ้หนุ่มไหนเอย…)

ตัวอย่างเพลงหน้าใย(เพลงโช้)

ยกนิ้วขึ้นสิบนิ้ว ยกขึ้นเสมอคิ้วเหนือเศียร ต่างธูป และเทียน ดอกไม้
ครูเล็กยกขึ้นทางซ้าย เลยไปทั้งครูใหญ่(เชียแม่เชียะ) ยกไปขึ้นขวา
จะยกคุณ เอยแม่เจ้า ขึ้นไปวางเหนือเกล้า (เชียแม่เชียะ)ลูกชาย
ขอให้ขึ้นคล่องลงคล่อง ไปเหมือนช่องน้ำไหลเอย…(รับ)
ขอให้ขึ้นคล่องลงคล่อง ไปเหมือนอย่างช่องน้ำไหล(ซ้ำทั้งหมด) เอย….เอ๋ย แล้วเอย
ไหว้พระพุทธที่ล้ำ จะไหว้พระธรรมที่เลิศ จะไหว้พระสงฆ์องค์ประเสริฐขวาซ้าย
ถ้าลูกนึกอะไรเอ๋ยอย่าให้ผิด เลยไปเหมือนเขาริด เชียวเขาริดเอยตาไม้(รับ)
จะไหว้พระภูมิเจ้าที่ธรณีสาร ผีเมืองผีบ้าน (เซียแม่เซียะ) เป็นใหญ่
ถ้าแม้นหญิงใด จะมาสู้ ขอให้แพ้รู้เอยแพ้รู้เราไป(เอย)

- เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ
- เพลงพื้นบ้านภาคใต้
- เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออก
- เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- เพลงพื้นบ้านภาคกลาง


แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย