ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ประชากรและสังคมโลก
ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6,070.6 ล้านคนในปี 2543 เป็น
7,851.4 ล้านคนในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ ในปี 2568
โครงสร้างของประชากรโลกมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60
ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในปี 2543
เป็นร้อยละ 15.0 ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี)
มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 30.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 24.2 ในปี 2568 แสดงให้เห็นว่า
โครงสร้างของประชากรกำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างประชากรวัยเด็กในอดีตเป็นประชากรวัยสูงอายุ
หรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเป็นภาพรวมของประชากรโลก
แต่ถ้าพิจารณาในแต่ละภูมิภาคของโลกทำให้ทราบว่ายุโรปมีสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรเข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุ มากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประชากรวัยเด็กน้อยที่สุดคือ ร้อยละ
16 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุมากที่สุดร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมดในยุโรป
ในขณะที่แอฟริกามีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กสูงถึงร้อยละ 42
และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพียงร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดในแอฟริกา
ประเทศที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 5 ประเทศ คือ อิตาลี
ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมันนี และสวิสเซอร์แลนด์
ประเทศเหล่านี้มีลักษณะทางประชากรที่สำคัญ เช่น
อัตราเกิดต่อประชากรพันคนค่อนข้างต่ำ และมีอัตราตายต่อประชากรพันคนต่ำเช่นกัน
แต่มีอายุขัยเฉลี่ยค่อนข้างสูง
ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกเท่ากับประเทศอิตาลีในยุโรป
(ร้อยละ 25) และที่น่าสนใจคือ
คนญี่ปุ่นเป็นคนมีอายุขัยเฉลี่ยหรือมีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลกด้วย (82 ปี)
ในขณะที่แอฟริกายังเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กมากเกือบร้อยละ 42
ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาค มีอัตราเจริญพันธุ์รวมและอัตราตายต่อประชากรพันคนสูงมาก
(4.9 และ 15 ตามลำดับ) และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยที่ต่ำมากเพียง 49 ปีเท่านั้น
» สังคมโลก
» สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์
» สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกตามการจัดแบ่งมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง
» ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม ระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์