สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

สาระสำคัญในการประชุม JBC

สาระสำคัญในการประชุม JBC ทั้ง 3 ครั้ง มีความคืบหน้า เพิ่มเติมในอีกหลายประเด็น ได้แก่

    ที่ประชุมยืนยันว่าควรดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2 ของ แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของการสำรวจฯ (TOR 2546 ซึ่งมี 5 ขั้นตอน) โดยเร็วที่สุด คือ ให้ผลิตแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศตลอดแนว เขตแดน เพื่อช่วยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
    เห็นชอบว่า ชุดสำรวจร่วมอาจเริ่มการสำรวจพื้นที่ตอนที่ 5 (หลักเขตแดนที่ 1 - 23)
    ที่ประชุมหารือเรื่องการจัดทำคำแนะนำสำหรับการสำรวจ ในพื้นที่ตอนที่ 6 (หลักเขตแดนที่ 1 - เขาสัตตะโสม) ซึ่งรวมบริเวณปราสาท พระวิหารด้วย และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปหารือกันในระดับเทคนิคต่อไป
    ระหว่างรอการจัดทำข้อตกลงชั่วคราวเกี่ยวกับสถานการณ์ ชายแดนไทย - กัมพูชา (Provisional Arrangement) บริเวณปราสาท พระวิหารให้แล้วเสร็จ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้เริ่มสำรวจและจัดทำเขตแดน ในพื้นที่ตอนที่ 6 ทันทีที่ได้ข้อยุติเกี่ยวกับคำแนะนำสำหรับการสำรวจ ในพื้นที่ตอนที่ 6
    เห็นชอบให้มีการประชุม JBC สมัยวิสามัญ เพื่อหารือ ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่สำรวจตอนที่ 6 เมื่อมีการเริ่มสำรวจและ จัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ดังกล่าว
    รับทราบว่าเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้อง กันเกี่ยวกับร่างรายงานร่วมภาษาอังกฤษ ว่าด้วยการสำรวจสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนสำหรับ 29 หลัก (หลักเขตแดนที่ 23 - 51) และตกลงให้ เจ้าหน้าที่เทคนิคของทั้งสองฝ่ายร่วมกันตรวจสอบร่างรายงานการสำรวจฯ ทั้งสามภาษาก่อนส่งให้คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม (Joint Technical Sub - Commission - JTSC) และ JBC พิจารณาและให้ความเห็นชอบ ต่อไปตามลำดับ (ดูองค์ประกอบของคณะ JTSC ตลอดจนขั้นตอน การปฏิบัติงานตามสายบังคับบัญชาในหัวข้อ TOR 2546)
    ฝ่ายไทยจะส่งร่างรายงานร่วมภาษาอังกฤษ ว่าด้วย การสำรวจสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดน สำหรับ 19 หลักที่เหลือ (หลักเขตแดนที่ 52 - 70) ให้ฝ่ายกัมพูชาพิจารณาต่อไป

หมายเหตุ : สำหรับการประชุม JBC เมื่อวันที่ 7 - 8 เมษายน 2554 ที่เมือง โบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การเตรียมการดำเนินงานในประเด็นต่าง ๆ ในระหว่างที่รอให้บันทึก การประชุมในการประชุม JBC 3 ครั้งที่ผ่านมา ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาไทย อาทิ การเตรียมการดำเนินการสำรวจในบริเวณพื้นที่ตอนที่ 5 การคัดเลือก บริษัทจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ และยังได้หารือเรื่องการดำเนิน การสำรวจรายละเอียดในบริเวณที่จะเปิดจุดผ่านแดนถาวร

ลำดับเหตุการณ์การเสนอบันทึกการประชุมฯ 3 ฉบับ ให้รัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบ

1. คณะรัฐมนตรีได้เสนอบันทึกการประชุมฯ 3 ฉบับ ให้รัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 190 วรรคสอง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 ต่อมา ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 (สมัย สามัญนิติบัญญัติ) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ที่ประชุมฯ มีมติ เห็นชอบให้ถอนบันทึกการประชุม JBC ไทย - กัมพูชา ทั้ง 3 ฉบับ ออกจาก วาระการพิจารณาไปก่อน

2. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ การเสนอบันทึกการประชุม JBC ทั้ง 3 ฉบับ อีกครั้ง และประธานรัฐสภาได้ บรรจุบันทึกการประชุมฯ ในระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 7 พฤษภาคม 2553 แต่รัฐสภายังไม่ได้พิจารณาจนปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไป บันทึกการประชุมฯ ดังกล่าว จึงเป็นอันตกไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 57 ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา

3. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน 30 คน) เพื่อพิจารณาศึกษาบันทึกการประชุมฯ ซึ่งมีการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ จำนวน 13 ครั้ง โดยกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมชี้แจงในการประชุม ทุกครั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้มีรายงานผลการพิจารณาศึกษาเสนอต่อ รัฐสภาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมีข้อแนะนำที่สำคัญ ได้แก่

    ให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เกี่ยวกับการที่ ประเทศไทยไม่ยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ระวางดงรัก ไปยัง นายกรัฐมนตรี เพื่อให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
    ฝ่ายไทยควรเจรจาให้ฝ่ายกัมพูชานำชุมชน ประชาชน ทหาร ออกนอกพื้นที่พิพาท โดยอาจใช้รูปแบบการเจรจาที่แตกต่างจากเดิม อาทิ การพบปะอย่างไม่เป็นทางการ
    ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดแนวทางเยียวยาบรรเทา ความทุกข์ของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าไปทำกินในพื้นที่ที่ตนเองมี เอกสารสิทธิได้
    ให้โต้แย้ง/ท้วงติงในกรณีคำกล่าวปราศรัยของฝ่าย กัมพูชาในการประชุม JBC ที่กล่าวหาว่าฝ่ายไทยรุกล้ำดินแดนหรือทำผิด MOU 2543 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

4. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 80 คน ได้ยื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภา เพื่อเสนอความเห็นไปยัง ศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาบันทึกการประชุม JBC ทั้ง 3 ฉบับว่า เป็นหนังสือ สัญญาตามมาตรา 190 วรรคสองหรือไม่ ซึ่งประธานรัฐสภาได้ส่งคำร้อง ดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554

5. ในการประชุมร่วมของสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 และ 29 มีนาคม 2554 นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้เลื่อนการพิจารณารับทราบผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษาบันทึก การประชุม JBC รวม 3 ฉบับ ออกไปอีก เนื่องจากสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม

6. ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งที่ 10/2554 ในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554 ว่า “พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ร้องจะเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา แต่การที่คณะรัฐมนตรีได้นำ บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา รวม 3 ฉบับ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีข้อเท็จจริงปรากฏตาม คำร้องและเอกสารที่ประธานรัฐสภาส่งต่อศาลว่า คณะผู้แทนทั้งสองฝ่าย ยังจะต้องเจรจากันต่อไป กรณียังไม่ถึงขั้นตอนที่จะต้องเสนอเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด เนื่องจากยังมีขั้นตอนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องพิจารณาดำเนินการเสียก่อน ในชั้นนี้จึงยังไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคหก (6) ประกอบมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ที่จะเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาด”

7. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 รับทราบ คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 10/2554 และให้ถอนบันทึกการประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับ ออกจากการพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเจรจาต่อไป และในคราวประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 ที่ประชุมฯ ได้มีมติให้ถอนบันทึก การประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับ ออกจากการพิจารณาของรัฐสภา

8. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 กระทรวงการต่างประเทศได้มี หนังสือแจ้งให้กัมพูชาทราบถึงการมีผลใช้บังคับของบันทึกการประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากการดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของไทย เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้มีหนังสือตอบกลับเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 รับทราบการแจ้งของฝ่ายไทย และแจ้งว่า สำหรับกัมพูชา บันทึก การประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่สิ้นสุดการประชุม เมื่อวันที่ 7 - 8 เมษายน 2552

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย