สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

การดำเนินความสัมพันธ์กับกัมพูชาของรัฐบาลปัจจุบัน

รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และ พัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ รวมถึงกัมพูชา โดยได้บรรจุเป็นนโยบายเร่งด่วน (ข้อ 1.6) ที่รัฐบาลจะเริ่มดำเนินการในปีแรก ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

แม้ในช่วงที่ผ่านมาไทยและกัมพูชาจะมีปัญหาความขัดแย้ง ด้านเขตแดน โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหาร แต่รัฐบาลยังคงยืนยัน ท่าทีที่จะจำกัดความขัดแย้งดังกล่าวมิให้กระทบต่อความสัมพันธ์ในด้าน ต่าง ๆ ทั้งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยมุ่งที่จะแก้ไข ปัญหาผ่านกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ ได้แก่ การพบหารือทวิภาคีระดับผู้นำ การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (JBC) การประชุม คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) และการประชุมคณะกรรมการ ชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) ดังกล่าวข้างต้น

ประเทศไทยมีเจตนารมณ์ที่ต้องการเห็นเพื่อนบ้านมีความ เจริญก้าวหน้าและพัฒนาในด้านต่าง ๆ ซึ่งการพัฒนาของประเทศ เพื่อนบ้านรวมทั้งกัมพูชา ย่อมส่งผลดีต่อประเทศไทยและประชาชนไทย ตลอดจนส่งผลต่อการพัฒนาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนในภาพรวม ที่ผ่านมาไทยได้ให้ความ ช่วยเหลือด้านการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ แก่กัมพูชา อาทิ การสร้างศูนย์ ฝึกอาชีพพูนพนม ชานกรุงพนมเปญ การให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา ถนนหมายเลข 67 (ช่องสะงำ - อันลองเวง - เสียมราฐ) และถนนหมายเลข 48 (เกาะกง - สแรอัมเบิล) การให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา และ การฝึกอบรม ซึ่งในปัจจุบันมีเยาวชนกัมพูชาได้รับการศึกษาจากโครงการ ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความ ร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7 ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศ กัมพูชา เมื่อวันที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2554 ได้ตกลงที่จะพัฒนาและส่งเสริม ความร่วมมือดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มีความตกลงร่วมมือในสาขา ใหม่ ๆ อาทิ การจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง ธรรมดา การจัดทำความตกลง ACMECS Single Visa และการแลกเปลี่ยน การเยือนระหว่างสื่อมวลชนไทย - กัมพูชา ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้แสดงให้ เห็นว่า ไทยและกัมพูชานอกจากจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดน ติดกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้แล้ว ยังมีผลประโยชน์ที่ผูกพันเกื้อกูลกัน ในหลายด้านและในระยะยาวสืบเนื่องต่อไป

พัฒนาการล่าสุดของความสัมพันธ์ไทย - กัมพูชา : ศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์

--ภายหลังจากที่รัฐบาลปัจจุบันได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 สถานการณ์บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา ได้กลับมามีความสงบอีกครั้ง ผู้นำกัมพูชาได้แสดงท่าทีที่เป็นมิตร และแสดงความพร้อมที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์และยุติการเผชิญหน้ากับไทย

--การเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 ในโอกาส เข้ารับตำแหน่งใหม่ ถือเป็นการเริ่มศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่าง สองประเทศ ผู้นำทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ปัญหาที่มีอยู่อย่างสันติ ฟื้นฟู และส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคม และการท่องเที่ยว อาทิ การเปิดจุดผ่านแดน ถาวรแห่งใหม่บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยน ระหว่างประชาชน การท่องเที่ยว และการค้าระหว่างกัน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศยังได้หารือกันอย่าง สร้างสรรค์ในประเด็นคั่งค้างต่าง ๆ อาทิ การเจรจาแบ่งเขตทางทะเลใน พื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในหลักการให้มีการเจรจากันอย่างเป็นทางการ โปร่งใสและเปิดเผย โดยในส่วนของไทยมีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเจรจา และ ในส่วนของกัมพูชามีนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะเจรจา สำหรับการเจรจาเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการเจรจาหารือกันต่อไป ในส่วนการประชุมคณะ กรรมการชายแดนร่วม (GBC) ไทย - กัมพูชา ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมของสองประเทศเป็นประธานร่วมนั้น จะมีการประชุมในโอกาสแรก เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านความร่วมมือบริเวณชายแดน และการ ปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเรื่องมาตรการชั่วคราว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554

--ท่าทีของรัฐบาลกัมพูชาดังกล่าวข้างต้น กอปรกับบรรยากาศ ความสัมพันธ์ระดับผู้นำที่เป็นมิตร และความคืบหน้าในการหารือตามกลไก ทวิภาคีต่าง ๆ ที่มีอยู่ สะท้อนถึงความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเชื่อมั่น และการ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน อันน่าจะนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์และส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างกันให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง เพื่อประโยชน์ของประเทศ และประชาชนของทั้งสองประเทศที่ยั่งยืนต่อไป


ข้อมูลปราสาทพระวิหาร
ประวัติการกำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ฝรั่งเศส
คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีปราสาทพระวิหาร
คำตัดสินวันที่ 15 มิถุนายน 2505 (ค.ศ. 1962)
ความเห็นแย้งที่ว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของไทย
การปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยในการแก้ไขปัญหา เขตแดนไทย - กัมพูชา
การดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
การเสนอบันทึกการประชุม JBC 3 ฉบับ เพื่อขอรับ ความเห็นชอบของรัฐสภา
สาระสำคัญในการประชุม JBC
การเจรจาร่างข้อตกลงชั่วคราว (draft Provisional Arrangement - PA) เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร
บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - กัมพูชา ว่าด้วย การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2543 (MOU 2543)
ความเป็นมาของ MOU 2543
การละเมิดข้อตกลงของกัมพูชาและการประท้วงของไทย
แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2546 (TOR 2546)
การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา
การแก้ไขปัญหาไทย - กัมพูชา ในกรอบคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC และกรอบอาเซียน
บทบาทของประธานอาเซียนในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาระหว่างไทย - กัมพูชา ผ่านกลไกทวิภาคีของทั้งสอง ประเทศ
การแก้ไขปัญหาไทย - กัมพูชา ในกรอบศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เขตอำนาจ (jurisdiction) ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินคดีปราสาท พระวิหาร ปี 2505 ทำไมกัมพูชายังสามารถนำข้อพิพากษา กลับเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้อีก
กัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคำสั่ง ออกมาตรการชั่วคราว
เงื่อนไขในการมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว
ข้อมูลที่น่าสนใจ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc)
ตัวแทน (Agent)
ปราสาทพระวิหารกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
กระบวนการการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (WHC 32) ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ปี 2551
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 33 (WHC 33) ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ปี 2552
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 (WHC 34) ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ปี 2553
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 (WHC 35) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี 2554
การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ท่าทีของไทยต่อความสัมพันธ์ไทย - กัมพูชา
การดำเนินความสัมพันธ์กับกัมพูชาของรัฐบาลปัจจุบัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย