สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - กัมพูชา

ว่าด้วย การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2543 (MOU 2543)

ปัจจุบัน กัมพูชายังคงอ้างเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทยเข้ามาประมาณ 3,000 ไร่ หรือ 4.6 ตารางกิโลเมตร ปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นหนึ่งใน

ปัญหา เขตแดนไทย - กัมพูชา ที่มีอยู่ตลอดแนว ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้ใช้ ความอดกลั้นอย่างสูงสุดต่อการละเมิดดินแดนไทยที่มีขึ้น เนื่องจากคำนึง ถึงมิตรภาพ ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม แต่กระทรวงการต่างประเทศและ หน่วยงานในท้องถิ่นได้ประท้วงการละเมิดดังกล่าวทุกครั้ง เพื่อรักษาสิทธิ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศของไทยไว้ระหว่างที่รอการแก้ไขปัญหา เขตแดนโดยกลไกการเจรจาที่มีอยู่

MOU (เอ็มโอยู) คืออะไร

MOU (Memorandum of Understanding - MOU) เป็นบันทึก ความเข้าใจ ซึ่งเป็น “agreement to negotiate” (การตกลงว่าจะเจรจากัน) มิใช่ “agreement to agree” (การตกลงว่าจะตกลงกัน) โดยอาจกำหนด พื้นฐานทางกฎหมายที่ผู้ทำบันทึกทั้งสองฝ่ายเข้าใจร่วมกันในการดำเนิน ความสัมพันธ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ก่อนเข้าแข่งขันกีฬาจะต้อง มีการตกลงกันเสียก่อนว่า กติกาของการแข่งขันคืออะไร ซึ่งเมื่อตกลงกติกา กันได้แล้วจะมีการแข่งขันกันจริงหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งกติกาพื้นฐานนี้ จะกำหนดขึ้นเพื่อใช้ระหว่างการแข่งขัน หรือสำหรับก่อนและ/หรือหลังการ แข่งขันด้วยก็ได้ เช่น กติกาในการเลือกวัน เวลา และสนามแข่ง วิธีการส่ง ผู้เข้าแข่งขัน อุปกรณ์ที่ใช้แข่งขัน เป็นต้น

สำหรับ MOU ที่เป็นความตกลงระหว่างประเทศนั้น คือ การที่ ประเทศสองประเทศตกลงกันในเรื่องความเข้าใจพื้นฐาน หรือกติกาพื้นฐาน ของการเจรจาหรือการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันให้เข้าใจตรงกัน ก่อนที่จะมี การเข้าเจรจาหรือมีปฏิสัมพันธ์กันจริง ๆ เพื่อให้การเจรจาหรือปฏิสัมพันธ์ นั้น ๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานหรือกติกาที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันแล้ว กรณี MOU 2543 เป็น บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Kingdom of Cambodia on the Survey and Demarcation of Land Boundary) กำหนดพื้นฐานทางกฎหมายว่า การเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชานั้น จะใช้เอกสารใดในการเจรจา แต่นั่น มิได้หมายความว่า อีกฝ่ายยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวผูกพันตนเองแล้ว แต่อย่างใด

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย