สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

เขตอำนาจ (jurisdiction) ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

การยอมรับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสามารถ กระทำได้ 4 วิธี ดังนี้

1. การยอมรับเขตอำนาจศาลฯ โดยผลของสนธิสัญญา กล่าวคือ การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาซึ่งมีข้อบทให้ภาคีนำข้อพิพาทไปสู่ การพิจารณาของศาลฯ ได้

2. การยอมรับเขตอำนาจศาลฯ ล่วงหน้าโดยผลของการ ประกาศฝ่ายเดียว (Optional clause) ตามข้อ 36 (2) ของธรรมนูญ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐภาคีคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ได้เคย ยอมรับเขตอำนาจศาลฯ ล่วงหน้า สามารถฟ้องรัฐภาคีคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง ที่ได้เคยประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฯ ล่วงหน้าไว้ได้

3. รัฐภาคีคู่พิพาททำความตกลงเสนอเรื่องให้ศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศพิจารณาเป็นกรณี

4. Forum Prorogatum : รัฐภาคีคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลฯ ฝ่ายเดียว และรัฐภาคีคู่พิพาทอีกรัฐหนึ่ง ยอมรับเขตอำนาจศาลในภายหลัง

การยอมรับเขตอำนาจศาลฯ ของประเทศไทย

ประเทศไทยได้ยอมรับเขตอำนาจศาลฯ ล่วงหน้า โดยผลของ การประกาศฝ่ายเดียว ตามข้อ 36 (2) ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ โดยหนังสือลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2493 (ยอมรับอำนาจศาลเป็น เวลา 10 ปี) หลังคดีปราสาทพระวิหารแล้ว ไทยไม่ได้ให้การยอมรับอำนาจ ของศาลโลกอีก ซึ่งหมายถึงการยอมรับอำนาจในคดีใหม่

ส่วนการยื่นคำขอต่อศาลโลกของกัมพูชาในครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการฟ้อง คดีใหม่ แต่เป็นการตีความคดีเก่าที่ศาลได้ตัดสินไปแล้วเมื่อปี 2505 ซึ่งไทย ได้ยอมรับอำนาจศาลแล้ว ในครั้งนั้นจึงเป็นการถ่ายทอดมาจากคดีเดิม ทั้งนี้ การยอมรับดังกล่าวครอบคลุมถึงการที่ศาลจะตีความและออก มาตรการชั่วคราวใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีหลักนี้ด้วย

ไทยจำเป็นต้องไปศาลโลกหรือไม่

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 53 ของธรรมนูญศาลฯ ระบุว่า เมื่อภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ปรากฏตัวต่อศาล ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถขอให้ศาลฯ ตัดสิน เข้าข้างตนได้

ข้อ 60 ของธรรมนูญศาลฯ ระบุว่า คำตัดสินของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศถือเป็นที่สุดและไม่มีการอุทธรณ์ ในกรณีที่มีข้อพิพาท ในความหมายหรือขอบเขตของคำตัดสิน ศาลฯ จะต้องตีความคำตัดสิน ดังกล่าว หากมีภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ และ

ข้อ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติระบุว่า ประเทศสมาชิก สหประชาชาติจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฯ

ไทยต้องไปศาลฯ หรือไม่

เมื่อคำนึงถึงหลักกฎหมายข้างต้น เมื่อกัมพูชายื่นคำขอต่อศาลฯ ขอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 ดังกล่าว ประเทศไทย จะปฏิเสธไม่ไปโต้แย้งคำขอของกัมพูชาที่ศาลฯ ก็สามารถทำได้ แต่จะเป็น ผลให้ศาลฯ สามารถพิจารณาฝ่ายเดียว ตามข้อ 53 ของธรรมนูญศาลฯ บนพื้นฐานของคำขอ คำให้การ และเอกสารประกอบของฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายเดียวได้ โดยศาลฯ ไม่มีโอกาสรับรู้ รับทราบและพิจารณาข้อโต้แย้ง หลักฐานและเหตุผลต่าง ๆ ของฝ่ายไทยอันอาจเป็นผลให้คำวินิจฉัยตีความ ของศาลฯ เป็นคุณแก่ฝ่ายกัมพูชาและส่งผลเสียกับประเทศไทย

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย