สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลที่น่าสนใจ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc)

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 31 ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศระบุว่าในกรณี ที่ภาคีคู่พิพาทฝ่ายใดไม่มีคนชาติเป็นหนึ่งในองค์คณะของผู้พิพากษา ภาคีคู่พิพาทฝ่ายนั้นสามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจได้ ทั้งนี้ ประเทศ คู่ความสามารถเลือกผู้พิพากษาเฉพาะกิจที่เป็นคนชาติของตนหรือ คนชาติอื่นได้

ข้อ 7 (2) ของข้อบังคับศาลฯ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจมีสิทธิ และหน้าที่เท่ากับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีในทุก ประการ ซึ่งหมายถึง จะมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดี และมีสิทธิออกเสียง

บทบาทของผู้พิพากษาเฉพาะกิจ

แม้ว่า ผู้พิพากษาเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระ เพราะ ไม่ใช่ผู้แทนของประเทศที่ได้เลือก แต่ในทางปฏิบัติ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ จะมีบทบาทในการให้ความเห็นซึ่งสะท้อนถึงมุมมองของประเทศที่ได้เลือกตน ให้แก่ผู้พิพากษาคนอื่น ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อันจะมีผลต่อคำพิพากษา ในที่สุด

ผู้พิพากษาเฉพาะกิจของไทยและกัมพูชา

ไทยได้แต่งตั้งผู้พิพากษา Jean - Pierre Cot ชาวฝรั่งเศสเป็น ผู้พิพากษาเฉพาะกิจของฝ่ายไทย เนื่องจากผู้พิพากษา Jean - Pierre Cot เป็นนักกฎหมายที่ได้รับการยอมรับและมีแนวคิด ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของคณะที่ปรึกษากฎหมายของฝ่ายไทย อีกทั้งยังเข้าใจแนวคิด ทางกฎหมายของฝรั่งเศส นอกจากนี้ ในด้านประสบการณ์ ผู้พิพากษา เฉพาะกิจของฝ่ายไทยยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เคยเป็นที่ปรึกษาและทนายความ รวมทั้ง เคยทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจในคดีที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนใน ศาลโลกหลายคดี และปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลระหว่าง ประเทศอื่น ๆ ด้วย

ทั้งนี้ กัมพูชาได้แต่งตั้งนาย Gilbert Guillaume อดีตประธาน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (สัญชาติฝรั่งเศส) เป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจ

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย