สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

ความเป็นมาของ MOU 2543

ประมาณปี 2537 หลังจากที่ประเทศกัมพูชาสามารถจัดการปัญหา การเมืองภายในและมีการจัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา ได้เริ่มเจรจาปัญหาเขตแดนอีกครั้ง เหตุผลหลักที่ประเทศไทยต้องการเจรจา ปัญหาเขตแดนกับกัมพูชา คือ

1. หลังจากศาลโลกพิพากษาในปี 2505 ประเด็นปัญหาเรื่อง เขตแดนไทย - กัมพูชา ถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 30 ปี

2. เหตุการณ์สู้รบระหว่างทหารไทยกับลาว บริเวณบ้านร่มเกล้า ชายแดนจังหวัดพิษณุโลก ทำให้รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา เขตแดนและนำไปสู่ความจำเป็นในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเขตแดนกับ ประเทศเพื่อนบ้าน

3. รัฐบาลมีนโยบายไม่ให้เรื่องเขตแดนกลายเป็นประเด็น ทางการเมือง แต่เป็นเรื่องของกฎหมายและเรื่องทางเทคนิค

4. รัฐบาลตระหนักถึงความจำเป็นที่จะใช้กฎหมายระหว่าง ประเทศในการเจรจาเขตแดน

ดังนั้น เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและกัมพูชา ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจัดทำ หลักเขตแดนสำหรับเขตแดนทางบก (Joint Statement on the Establishment of the Thai - Cambodian Joint Commission on the Demarcation for Land Boundary) ต่อมาในการประชุม คณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 1 (30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2542) ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดน ร่วมฯ ขึ้นและเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ประธานคณะกรรมาธิการ เขตแดนร่วมฯ ของทั้งสองฝ่าย คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายวาร์ กิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาล ผู้รับผิดชอบกิจการชายแดน ได้ลงนามใน MOU 2543 โดย MOU 2543 ข้อ 1 กำหนดว่า

“[ไทยและกัมพูชา] จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำ หลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักร กัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้

    อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบท แห่งสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 112 (ค.ศ. 1893) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่น ๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 122 (ค.ศ. 1904)
    สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพ มหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ค.ศ. 1907) กับ พิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ค.ศ. 1907) และ
    แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนซึ่งจัดตั้งขึ้น ตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส”

ทั้งนี้ MOU 2543 ไม่ใช่การกำหนดเขตแดนแต่เป็น MOU ที่ 2 ฝ่ายตกลงกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน การที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 เป็นแผนที่ ของคณะกรรมการปักปันฯ การอ้างอิงเอกสารดังกล่าว ก็ไม่ได้แสดงว่า ไทย “ยอมรับ” แผนที่หรือเส้นที่ปรากฏในแผนที่เป็นเส้นเขตแดน หากจะถือว่า ไทยยอมรับในลักษณะนี้ ก็ต้องถือว่ากัมพูชายอมรับสันปันน้ำตามที่ระบุใน อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ในข้อ 1 (ก) และ (ข) ของ MOU 2543 ด้วย ดังนั้น จะต้องมีการเจรจากันต่อไป จนกว่าทั้งสองฝ่าย จะได้ข้อยุติร่วมกัน

ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ที่มาของ “แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000”

สนธิสัญญากำหนดเขตแดนไทย - กัมพูชา มี 2 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 สนธิสัญญาทั้งสองฉบับระบุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ผสมสยาม - ฝรั่งเศสเพื่อปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการสำรวจ ภูมิประเทศจริง และได้มีการจัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดน โดยมีการจัด ทำแผนที่ 2 ชุด ได้แก่ แผนที่ชุด Bernard (ตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1904 มี 11 ระวาง) และแผนที่ชุด Montguers (ตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 มี 5 ระวาง) ซึ่งทั้งหมดเป็นแผนที่จัดทำในมาตราส่วน 1 : 200,000 ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง “แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000” จึงหมายรวมถึงแผนที่ หลายฉบับ (มิได้หมายถึงแผนที่ระวางดงรักฉบับเดียว) ซึ่งครอบคลุม เขตแดนไทย - ลาว และไทย - กัมพูชา ปัจจุบันทั้งหมด

“แผนที่ระวางดงรัก” ซึ่งเป็นแผนที่ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด และแสดงเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเพียง 1 ในแผนที่จำนวน 11 ระวางของแผนที่ชุด Bernard (ปัจจุบันเหลือใช้เพียง 8 ระวาง เนื่องจากเส้นเขตแดน ค.ศ. 1904 ตามแผนที่ชุด Bernard จำนวน 3 ระวาง ถูกยกเลิกโดยเส้นเขตแดนใหม่ตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1907)

แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ระวางดงรัก กับคำพิพากษาของ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ปี 2505

ในคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 ศาลฯ ระบุว่า จะไม่ตัดสินว่า เส้นเขตแดนไทย - กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหารเป็นไป ตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ระวางดงรัก (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “แผนที่ดงรัก”) หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ศาลฯ จำเป็นต้องทราบว่า เส้นเขตแดนไทย - กัมพูชา อยู่ที่ใดในบริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อใช้เป็นเหตุผลที่จะตัดสิน ว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศใด

ลักษณะของคำพิพากษาของศาลฯ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

(1) ส่วนเหตุผล (reasoning) ซึ่งในหลักการ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และ (2) ส่วนบทปฏิบัติการ (operative paragraph) ซึ่งมีผลผูกพันคู่กรณี

ในส่วนเหตุผล ศาลฯ อ้างเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า ไทยได้ ยอมรับแผนที่ดงรัก ดังต่อไปนี้

(1) ฝ่ายไทยได้ดำเนินการเผยแพร่แผนที่ดงรักอย่างกว้างขวาง ภายหลังที่ได้รับมาจากฝรั่งเศส และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงขอแผนที่เพิ่มเติมด้วย

(2) ไทยไม่เคยคัดค้านเส้นเขตแดนบนแผนที่ดงรักจนถึง ค.ศ. 1958 แม้ว่าจะมีโอกาสหลายครั้ง เช่น การทำงานของคณะกรรมการ ถอดอักษรสยาม - ฝรั่งเศส ค.ศ. 1909 การสำรวจภูมิประเทศของกรม แผนที่ทหาร ค.ศ. 1934 และต่อมาได้ผลิตแผนที่ที่แสดงเส้นเขตแดน ไปตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 การเจรจาสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์ และการเดินเรือ ค.ศ. 1925 และ ค.ศ. 1937 และระหว่าง การประชุมหารือของคณะกรรมการประนอมฝรั่งเศส - ไทย ค.ศ. 1947

ในส่วนบทปฏิบัติการ ศาลฯ ระบุว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยกัมพูชา โดยไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเส้นเขตแดน หรือสถานะของแผนที่ระวางดงรัก

แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 กับแผนที่ L7017/L7018

ประเด็นว่า เมื่อนำแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 มาทาบลง บนแผนที่ L7017/L7018 แล้วจะพบว่า เส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ทำให้ไทยเสียดินแดนเป็นจำนวนมากนั้น มีข้ออธิบาย ดังนี้

1) แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 และแผนที่ L7017/L7018 เป็น แผนที่ที่มีวิธีการจัดทำ (Projection) แตกต่างกัน จึงมีลักษณะแตกต่างกัน

2) L7017/L7018 จัดทำโดยใช้พื้นผิวของรูปทรงกระบอก (Mercator Projection) ซึ่งจะแสดงระยะทางที่ถูกต้อง แต่ขนาดของ ภูมิประเทศจะคลาดเคลื่อน ในขณะที่แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่ง จัดทำโดยใช้ Sinusoidal Projection (ลักษณะคล้ายหัวหอม) จะแสดง ขนาดภูมิประเทศถูกต้อง แต่ระยะทางคลาดเคลื่อน

3) เนื่องด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของแผนที่ทั้ง 2 ชุด จึงไม่ สามารถนำแผนที่มาทาบกันได้ เพราะขนาดและรูปทรงของภูมิประเทศและ เส้นเขตแดนจะแตกต่างกันมาก

1. ภาพตัวอย่างการนำแผนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำโดย ระบบที่แตกต่างกันมาทาบซ้อนกัน จะเห็นว่าไม่สามารถทาบกันได้สนิท ทั้ง ๆ ที่พื้นที่คือพื้นที่เดียวกัน

***ดังนั้นการนำแผนที่ที่ทำต่างระบบกันมาทาบซ้อนกันจึงไม่ถูกต้อง ทั้งในด้านวิชาการและทางเทคนิค***

2. แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ของไทยทำในระบบเมอเคเตอร์ (Mercator Projection) กำหนดค่าโดยระยะห่างและทิศทาง



3. แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ของฝรั่งเศส ทำในระบบซินูซอยดอล (Sinusoidal Projection) ทุกช่องสี่เหลี่ยมมีพื้นที่เท่ากัน

***ดังนั้นการนำแผนที่ที่ทำต่างระบบกันมาทาบซ้อนกันจึงไม่ถูกต้อง ทั้งในด้านวิชาการและทางเทคนิค***

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย