สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

การเจรจาร่างข้อตกลงชั่วคราว

 (draft Provisional Arrangement - PA) เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร

ในการประชุม JBC ทั้ง 3 ครั้ง ที่กล่าวมาแล้ว ทั้งสองฝ่ายหารือ เกี่ยวกับร่างข้อตกลงชั่วคราว (PA) เกี่ยวกับปัญหาชายแดนไทย - กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร และสามารถตกลงกันได้เป็นส่วนใหญ่ เหลือ เพียงประเด็นเดียว คือ การเรียกชื่อปราสาทพระวิหารและเปรียะวิเฮียร์ ซึ่งจะต้องเจรจากันต่อไป รัฐบาลจึงมิได้เสนอร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ นี้เพื่อ ขอความเห็นชอบของรัฐสภาแต่อย่างใด

กรอบการเจรจาร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ นี้ ได้รับความเห็นชอบจาก รัฐสภาแล้วเช่นกันเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ดังนี้

1. วัตถุประสงค์

เพื่อมีมาตรการชั่วคราวร่วมกันสำหรับลด ความตึงเครียดและลดการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร ระหว่างรอให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย - กัมพูชา (Thai - Cambodian Joint Commission on Demarcation for Land Boundary - JBC) สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ ดังกล่าวแล้วเสร็จ

2. สาระสำคัญ

--ปรับกำลังของแต่ละฝ่ายออกจากวัดแก้วสิขาคีรีสะวารา พื้นที่รอบวัด และปราสาทพระวิหาร เหลือไว้เพียงชุดติดตามสถานการณ์ ทหาร (Military Monitoring Groups) ของแต่ละฝ่ายในจำนวนที่เท่ากัน
--จัดการประชุมระหว่างหัวหน้าชุดประสานงานชั่วคราว ฝ่ายกัมพูชา (ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551) กับประธานคณะกรรมการ ชายแดนส่วนภูมิภาคฝ่ายไทย ครั้งที่ 2 ที่กัมพูชา เพื่อหารือเรื่องการปรับ กำลังช่วงที่สอง และให้ฝ่ายไทยจัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราว
--เก็บกู้ทุ่นระเบิดในลักษณะที่ประสานงานกัน ในพื้นที่ ที่จะทำการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดย JBC ตามบันทึกความเข้าใจ ปี 2543
--ให้ JBC กำหนดพื้นที่ที่จะทำให้อยู่ในสภาพพร้อม สำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนภายใต้แผนแม่บทและข้อกำหนด อำนาจหน้าที่ของ JBC และทำให้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมก่อนที่ ชุดสำรวจร่วมจะเริ่มงาน
--จัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราวประกอบด้วยหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เพื่อพิจารณาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ รวมทั้ง วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา
--ข้อตกลงชั่วคราวนี้จะไม่กระทบต่อสิทธิของแต่ละฝ่าย เกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ในกรอบของ JBC และท่าทีทาง กฎหมายของตน


ข้อมูลปราสาทพระวิหาร
ประวัติการกำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ฝรั่งเศส
คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีปราสาทพระวิหาร
คำตัดสินวันที่ 15 มิถุนายน 2505 (ค.ศ. 1962)
ความเห็นแย้งที่ว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของไทย
การปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยในการแก้ไขปัญหา เขตแดนไทย - กัมพูชา
การดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
การเสนอบันทึกการประชุม JBC 3 ฉบับ เพื่อขอรับ ความเห็นชอบของรัฐสภา
สาระสำคัญในการประชุม JBC
การเจรจาร่างข้อตกลงชั่วคราว (draft Provisional Arrangement - PA) เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร
บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - กัมพูชา ว่าด้วย การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2543 (MOU 2543)
ความเป็นมาของ MOU 2543
การละเมิดข้อตกลงของกัมพูชาและการประท้วงของไทย
แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2546 (TOR 2546)
การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา
การแก้ไขปัญหาไทย - กัมพูชา ในกรอบคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC และกรอบอาเซียน
บทบาทของประธานอาเซียนในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาระหว่างไทย - กัมพูชา ผ่านกลไกทวิภาคีของทั้งสอง ประเทศ
การแก้ไขปัญหาไทย - กัมพูชา ในกรอบศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เขตอำนาจ (jurisdiction) ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินคดีปราสาท พระวิหาร ปี 2505 ทำไมกัมพูชายังสามารถนำข้อพิพากษา กลับเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้อีก
กัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคำสั่ง ออกมาตรการชั่วคราว
เงื่อนไขในการมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว
ข้อมูลที่น่าสนใจ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc)
ตัวแทน (Agent)
ปราสาทพระวิหารกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
กระบวนการการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (WHC 32) ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ปี 2551
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 33 (WHC 33) ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ปี 2552
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 (WHC 34) ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ปี 2553
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 (WHC 35) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี 2554
การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ท่าทีของไทยต่อความสัมพันธ์ไทย - กัมพูชา
การดำเนินความสัมพันธ์กับกัมพูชาของรัฐบาลปัจจุบัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย