สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

การดำเนินการของฝ่ายไทยในการแก้ไขปัญหา เขตแดนไทย - กัมพูชา

โดยที่ประเทศไทยมีนโยบายอย่างชัดเจนและต่อเนื่องที่จะสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดน อย่างถาวร อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขของประชาชนของทั้งสองประเทศ และเสริมสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน จึงเป็นที่มาของ การจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Boundary Commission - JBC) ขึ้นในปี 2540 เพื่อเป็นกลไกหลักในการเจรจาและ การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย - กัมพูชา

คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Boundary Commission - JBC) 2540

จัดตั้งตามคำแถลงร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชา (Joint statement on the Establishment of the Thai - Cambodian Joint Commission on Demarcation for Land Boundary) ฉบับวันที่ 21 มิถุนายน 2540 โดยคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยประกอบด้วยผู้แทนจากหลายส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวง มหาดไทย และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น

ภูมิหลังการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (JBC)

ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปี 2554 มีการจัดการประชุม JBC แล้ว 9 ครั้ง การประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 7 - 8 เมษายน 2554 ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย

การประชุม JBC ครั้งที่ 1 (30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2542) ตกลงกันในประเด็นพื้นฐาน เช่น การจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม และการกำหนดพื้นฐานทางกฎหมายที่จะนำไปใช้ในการสำรวจและ จัดทำหลักเขตแดนทางบก ซึ่งได้แก่เอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดนทางบกระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส อาทิ อนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1907 รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยทั้งสองประเทศหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่จะ เป็นการกระทบต่อเขตแดน และหากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะ พยายามแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติ

การประชุม JBC ครั้งที่ 2 (5 - 7 มิถุนายน 2543) ณ กรุงพนมเปญ ตกลงกันว่าหากมีปัญหาชายแดนที่มีปัจจัยเรื่องเขตแดน ประธาน JBC ร่วมทั้งสองฝ่ายจะหารือกันโดยรวดเร็ว และที่ประชุม เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วย การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ประธาน JBC ของทั้งสองฝ่ายคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนายวาร์ กิมฮง ที่ปรึกษารัฐบาล กัมพูชารับผิดชอบกิจการชายแดน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Kingdom of Cambodia on the Survey and Demarcation of Land Boundary) หรือ MOU 2543 ทั้งนี้ ฝ่ายไทยเห็นว่าบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะช่วยลดความขัดแย้งตาม แนวชายแดนที่มีอยู่ในปัจจุบันอันอาจเกิดจากความเข้าใจผิดเรื่อง แนวเขตแดน และจะเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาเขตแดน ระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดยจะวางกรอบและกลไก ในการ ปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการเคารพเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ ทั้งสองที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสยามกับฝรั่งเศสเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเส้นเขตแดนแต่อย่างใดเพราะ ทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์ให้มีการได้หรือเสียดินแดน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่าย จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในภูมิประเทศเพื่อให้เห็นแนว เขตแดนอย่างชัดเจนเท่านั้น

การประชุม JBC สมัยวิสามัญ (25 สิงหาคม 2546) ทั้งสองฝ่าย ได้รับรองแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ (TOR 2546) ในการ สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมระหว่างไทย - กัมพูชา เพื่อเป็น แนวทางในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างกัน

การประชุม JBC ครั้งที่ 3 (31 สิงหาคม 2547) ทั้งสองฝ่าย ได้รับรองผลการดำเนินงานในสำนักงาน (ตามขั้นตอนที่ 1 ของ TOR 2546 ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน (อ่าน TOR ในหัวข้อถัดไป)) เกี่ยวกับการปักหลัก เขตแดน ซ่อมแซม และการสร้างทดแทนหลักเขตแดนที่เคยปักไว้แล้ว ทั้ง 73 หลัก รวมทั้งจะส่งชุดสำรวจร่วมไทย - กัมพูชา ลงไปปฏิบัติงาน ภาคสนามในต้นปี 2547

การประชุม JBC สมัยวิสามัญ (11 - 15 มีนาคม 2549) ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้ชุดสำรวจร่วมเริ่มต้นสำรวจหาที่ตั้ง หลักเขตแดนเดิมจำนวน 73 หลัก โดยเริ่มลงพื้นที่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ชุดสำรวจร่วมได้ดำเนินการสำรวจหาที่ตั้งหลักเขตแดน ไปแล้ว 48 หลัก (จากหลักที่ 23 - 70) มีความเห็นตรงกัน จำนวน 33 หลัก และมีความเห็นไม่ตรงกัน 15 หลัก

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย