สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

การดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

การประชุม JBC ครั้งต่อ ๆ มา เกิดขึ้นภายหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จึงต้องได้รับความเห็นชอบ จากรัฐสภา ตามมาตรา 190 วรรคสอง และต้องดำเนินการตามมาตรา 190 วรรคสาม คือ ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญา นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการเจรจาด้วย

ต่อมา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบกรอบ การเจรจาในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) ตามที่ คณะรัฐมนตรีเสนอ ด้วยคะแนน 406 ต่อ 8 (จาก 418 เสียงของผู้เข้าร่วม ประชุม) ตามลำดับ

กรอบการเจรจาด้านการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ไทย - กัมพูชา ตลอดแนวในกรอบของ JBC และกลไกอื่น ๆ ภายใต้กรอบนี้

ให้ JBC ฝ่ายไทยเจรจากับฝ่ายกัมพูชาเพื่อดำเนินการสำรวจและ จัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักร กัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารดังต่อไปนี้

    อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขข้อบทเพิ่มเติม ข้อบทแห่งสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ. 112 (ค.ศ. 1893) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่น ๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 (ค.ศ. 1904)
    สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับลงนาม ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้าย สนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907)
    แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับ อินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตาม อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

นับตั้งแต่รัฐสภาให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาดังกล่าว จนถึง เดือนพฤษภาคม 2554 คณะกรรมาธิการร่วมฯ ได้มีการประชุมกันต่อมาอีก 4 ครั้ง ดังนี้ คือ

-การประชุม JBC สมัยวิสามัญ (10 - 12 พฤศจิกายน 2551) ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
-การประชุม JBC ครั้งที่ 4 (3 - 4 กุมภาพันธ์ 2552) ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย
-การประชุม JBC สมัยวิสามัญ (6 - 7 เมษายน 2552) ที่ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
-การประชุม JBC (7 - 8 เมษายน 2554) ที่เมืองโบกอร์ ประเทศ อินโดนีเซีย


ข้อมูลปราสาทพระวิหาร
ประวัติการกำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ฝรั่งเศส
คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีปราสาทพระวิหาร
คำตัดสินวันที่ 15 มิถุนายน 2505 (ค.ศ. 1962)
ความเห็นแย้งที่ว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของไทย
การปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยในการแก้ไขปัญหา เขตแดนไทย - กัมพูชา
การดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
การเสนอบันทึกการประชุม JBC 3 ฉบับ เพื่อขอรับ ความเห็นชอบของรัฐสภา
สาระสำคัญในการประชุม JBC
การเจรจาร่างข้อตกลงชั่วคราว (draft Provisional Arrangement - PA) เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร
บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - กัมพูชา ว่าด้วย การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2543 (MOU 2543)
ความเป็นมาของ MOU 2543
การละเมิดข้อตกลงของกัมพูชาและการประท้วงของไทย
แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2546 (TOR 2546)
การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา
การแก้ไขปัญหาไทย - กัมพูชา ในกรอบคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC และกรอบอาเซียน
บทบาทของประธานอาเซียนในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาระหว่างไทย - กัมพูชา ผ่านกลไกทวิภาคีของทั้งสอง ประเทศ
การแก้ไขปัญหาไทย - กัมพูชา ในกรอบศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เขตอำนาจ (jurisdiction) ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินคดีปราสาท พระวิหาร ปี 2505 ทำไมกัมพูชายังสามารถนำข้อพิพากษา กลับเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้อีก
กัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคำสั่ง ออกมาตรการชั่วคราว
เงื่อนไขในการมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว
ข้อมูลที่น่าสนใจ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc)
ตัวแทน (Agent)
ปราสาทพระวิหารกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
กระบวนการการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (WHC 32) ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ปี 2551
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 33 (WHC 33) ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ปี 2552
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 (WHC 34) ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ปี 2553
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 (WHC 35) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี 2554
การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ท่าทีของไทยต่อความสัมพันธ์ไทย - กัมพูชา
การดำเนินความสัมพันธ์กับกัมพูชาของรัฐบาลปัจจุบัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย