ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ลัทธิบริโภคนิยมและจิตวิญญาณของระบบทุนนิยม

แนววิเคราะห์การบริโภค - หลังสมัยใหม่

ที่ผ่านมา มีแนววิเคราะห์การบริโภคต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น แนววิเคราะห์ธรรมชาติของความสัมพันธ์ในระบบตลาด ผ่านผู้เล่นที่ประกอบด้วย ปัจเจกบุคคล, รัฐ, และผู้เล่นอื่นๆ ทั้งในประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน หรือแนววิเคราะห์ที่มองว่า ผู้บริโภคมีเสรีภาพเต็มที่ในการเลือกซื้อสินค้า หรือ Frankfurt school ที่มองว่า ผู้บริโภคเป็นผู้ซื้อที่ไร้ชีวิตจิตใจ พวกเขาตกอยู่ในกำมือของนักการตลาด บางแนววิเคราะห์ก็มองว่า จากผลพวงของระบบทุนนิยม ผู้บริโภคถูกกำหนดให้เป็นทาส เป็นต้น

ส่วนแนวการวิเคราะห์หลังสมัยใหม่ (Pietrykowski 1994, 1995) ให้ความสำคัญเชิงบวกกับผู้บริโภค โดยมองว่า ผู้บริโภคเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน, มีความแตกต่างหลากหลาย, เป็นผู้ที่มีความคิดซับซ้อน, และมีแนวการมองที่เป็นอิสระในการบริโภค (Brown 1998; Featherstone 1991; Goulding 2003; Hirschman and Holbrook 1992; Jameson 1996) งานลักษณะนี้เป็นการอธิบายการบริโภคสมัยใหม่ว่า เป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นปัจเจกบุคคล (individuality) ภายในขอบเขตของโครงสร้างระบบทุนนิยม อันเป็นการแสดงออกซึ่งความทันสมัยผ่านสุนทรียศาสตร์ (Guillet de Monthoux and Strati 2002), และเป็นการแสดงออกถึงความหลากหลายโดยธรรมชาติของการบริโภคเอง



แม้ว่าจะมีหลายแนวคิดที่วิเคราะห์การบริโภคไปในลักษณะต่างๆ ก็ตาม แต่ในแบบแผน “การบริโภคบ่งบอกตัวตน”นั้น ผู้บริโภคถูกเร่งเร้าอย่างไร้ความปราณี, ถูกทำให้ตื่นตาตื่นใจอยู่ตลอดเวลา สังคมตกภายใต้โครงสร้างที่ไร้เสถียรภาพ และอยู่บนความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง ตลาดได้ผสมผสานคุณค่าสองสิ่งที่ขัดแย้งกันเข้าไว้ด้วยกัน คือ ความปรารถนาในการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น กับความไม่แน่นอนและความไร้หลักประกันต่อผู้บริโภค, กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงคือ ในสังคมบริโภคไม่มีหลักประกันหรือความแน่นอนใดๆ ที่จะประกันว่า สินค้าที่ถูกบริโภคไปแล้ว จะถูกผลิตขึ้นมาทดแทนในแบบเดิมอีกเสมอไป

» หัวใจของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน

» แนววิเคราะห์การบริโภค - หลังสมัยใหม่

» การบริโภคบ่งบอกตัวตน - จิตวิทยาของฝันกลางวัน

» องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของลัทธิบริโภคนิยม

» แนวโน้มการบริโภค และกรณีตัวอย่างสหรัฐฯ

» ปริมณฑลทางเศรษฐกิจ แนวคิดอำนาจนำ

» ยุทธศาสตร์ทางการตลาดและการโฆษณา

» คนยากจนบริโภคสินค้าในด้านใด

» ระบบทุนนิยมเปลี่ยนจากแบบแผนอุตสาหกรรมไปสู่ภาคการเงิน

» ทิวทัศน์เศรษฐกิจ ภายใต้ระบบหลังฟอร์ด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย