ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ลัทธิบริโภคนิยมและจิตวิญญาณของระบบทุนนิยม
การบริโภคบ่งบอกตัวตน - จิตวิทยาของฝันกลางวัน
Colin Campbell (1987, 1991, 1994) ชี้ว่า การบริโภคบ่งบอกตัวตน
อยู่บนพื้นฐานของกระบวนทางจิตวิทยาของฝันกลางวัน, เป็นวงจรการผลิตซ้ำความฝัน
ความปรารถนา การตอบแทนตนเอง และการสร้างมายาภาพ
ซึ่งหลังจากที่ความปรารถนาของผู้บริโภคถูกเติมเต็มแล้ว
ผู้บริโภคก็จะประดิษฐ์ความปรารถนาขึ้นมาใหม่ เพื่อจะได้บริโภคต่อไป
มันเป็นกระบวนการค้นหาสินค้าแปลกใหม่
ซึ่งก็คือการค้นหาความพึงพอใจทางจิตวิทยาของผู้บริโภคนั่นเอง
ตามธรรมชาติของกระบวนการนี้ เมื่อการบริโภคเสร็จสมแล้ว ผู้บริโภคก็จะพ้นจากมายาภาพ
หลังจากนั้น พวกเขาก็เริ่มต้นค้นหาความแปลกใหม่อีก
ในที่สุดสินค้าที่มีความแปลกใหม่ก็ถูกผู้บริโภคค้นพบ และถูกบริโภคอีก
ส่วนแนวคิดในเรื่องการแข่งขันเพื่อหาตำแหน่งแห่งที่ (positional
competition) Robert Frank ชี้ว่า
การบริโภคไม่ใช่สิ่งสำคัญในแง่ปริมาณที่เราบริโภคโดยสัมบูรณ์
แต่เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบการบริโภคของตัวเองกับการบริโภคของคนอื่น
การแข่งขันเพื่อหาตำแหน่งแห่งที่นี้
วางรากฐานอยู่บนการผลิตสินค้าและการบริโภคที่มากเกินขอบเขต ด้วยต้นทุนที่ต้องเสียไป
เช่น การออมที่ลดลง เวลาพักผ่อนสั้นลง รวมถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไป
(Schor1996, 1998)
ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน มุ่งเน้นที่การบริโภคบ่งบอกตัวตน
และเพื่อที่จะสนับสนุนการบริโภคจึงต้องมีการตลาดที่ซับซ้อนซึ่งแผ่ขยายไปทุกหนทุกแห่ง
รวมทั้งความพยายามในการโฆษณาอย่างหนักหน่วง ในเวลาเดียวกัน
ความเหลื่อมล้ำของรายได้ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ชัดเจนยิ่งในกรณีของสหรัฐฯ
» หัวใจของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน
» แนววิเคราะห์การบริโภค - หลังสมัยใหม่
» การบริโภคบ่งบอกตัวตน - จิตวิทยาของฝันกลางวัน
» องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของลัทธิบริโภคนิยม
» แนวโน้มการบริโภค และกรณีตัวอย่างสหรัฐฯ
» ปริมณฑลทางเศรษฐกิจ แนวคิดอำนาจนำ
» ยุทธศาสตร์ทางการตลาดและการโฆษณา
» ระบบทุนนิยมเปลี่ยนจากแบบแผนอุตสาหกรรมไปสู่ภาคการเงิน