ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ทฤษฎีจิตนิยม

(Idealism)

ทฤษฎีจิตนิยม (Idealism) ได้แก่พวกที่ถือว่า จิตเท่านั้นเป็นความแท้จริง สสารเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น ชาวจิตนิยมเชื่อว่า จิต เป็นอมตะ ไม่สูญสลาย ร่างกายของมนุษย์เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วขณะหนึ่งของจิต เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต เมื่อร่างกายดับลง จิตก็ยังคงอยู่ ไม่แตกดับไปตามร่างกาย

พวกจิตนิยม พยายามที่จะหาคำตอบให้กับตัวเองว่า จิตคืออะไร มีบ่อเกิดมาจากอะไร มีแหล่งที่มาอย่างไร มีธรรมชาติเป็นอย่างไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร เป็นการศึกษาโลกในลักษณะที่เป็นนามธรรม เพราะพวกเขาเชื่อว่า จิตเท่านั้นที่เป็นความแท้จริง สสารเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ หรือเป็นปรากฏการณ์ของจิต ไม่สามารถดำรงอยู่ชั่วกาลนาน หรือสสารจะต้องมีการแตกสลาย แต่จิตหรือวิญญาณไม่มีการแตกสลาย เป็นอมตะ ดังนั้น ลักษณะของจิตหรือวิญญาณ จึงมีลักษณะต่าง ๆ ตามทัศนะหรือแนวความคิดของนักปรัชญาแต่ละท่าน

ชาวจิตนิยมบางท่านเชื่อว่า เมื่อร่างกายแตกดับ จิตจะกลับไปสู่แหล่งดั้งเดิม กล่าวคือจิตจะกลับเข้าไปสู่จิตสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง ด้วยลักษณะดังกล่าวนี้ จึงมีนักปรัชญาตั้งลัทธิหรือทฤษฎีขึ้นมาใช้อธิบายอีกทฤษฎีหนึ่งว่า “ทฤษฎีวิญญาณเป็นเนื้อสาร”

คำว่า “วิญญาณเป็นเนื้อสาร” ก็หมายถึงวิญญาณเป็นอมตะ คงที่ ไม่สูญสลาย ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าร่างกายจะสูญสลายหรือดับสูญไปก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับจิตวิญญาณนี้ ได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ส่วนลักษณะแนวคิดนั้น จะเหมือนกันบ้าง คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันบ้าง เช่น

เพลโต้ (Plato) นักปรัชญาเมธีที่สำคัญของกรีกโบราณ ท่านถือว่า วิญญาณเป็นเนื้อสารทางจิต ทำหน้าที่คิด รู้สึกและจงใจ

วิญญาณส่วนที่ทำหน้าที่คิด เป็นอมตะ เพราะเป็นส่วนที่เป็นเหตุผล เป็นส่วนแห่งสติปัญญา จะไม่สูญสลายไปในเมื่อร่างกายสูญสลายไป เพราะไม่ถูกสร้างขึ้น

ส่วนวิญญาณที่ทำหน้าที่รู้สึกและจงใจ เป็นการทำหน้าที่ระดับต่ำเกี่ยวข้องกับร่างกายโดยตรง ดังนั้นเมื่อร่างกายสูญสลายไป ความรู้สึกและความจงใจใด ๆ ก็หมดไปด้วย เพราะถือว่าเป็นกิจกรรมของร่างกายโดยเฉพาะ

เพลโต้ ในฐานะที่เป็นนักจิตนิยมที่เด่นดัง ท่านได้พยายามอธิบายหรือค้นหาแหล่งที่เกิดของจิตวิญญาณ โดยท่านสรุปว่า วิญญาณมนุษย์ มีบ่อเกิดจากวิญญาณโลก (World Soul)วิญญาณโลกนี้ เป็นโลกแห่งแบบ (World of Form) หรือโลกแห่งความคิด (World of Ideas) ซึ่งมีมาก่อนร่างกาย ดังนั้น วิญญาณจึงสำคัญกว่าร่างกาย เป็นตัวบังคับกิจกรรมของร่างกาย

อริสโตเติ้ล (Aristotle) ถือว่า วิญญาณเป็นเนื้อสารทางจิต ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกักขังอยู่ในร่างกาย เป็นแต่เพียงรูปแบบที่ทำหน้าที่จัดระบบร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ระหว่างรูปแบบกับเนื้อสารจึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น จะอย่างไรก็ตาม อริสโตเติ้ลก็ได้สรุปหน้าที่ของวิญญาณไว้ 2 อย่างเหมือนเพลโต้คือ

  1. หน้าที่ระดับต่ำ ได้แก่การรับรู้ การจำ การคิดและการจงใจ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอมตะ เมื่อร่างกายแตกดับ ก็จะสูญสลายไปพร้อมกับร่างกาย
  2. หน้าที่ระดับสูง ได้แก่การคิดหาเหตุผล เป็นสิ่งที่เป็นอมตะ เพราะเป็นเนื้อแท้ของวิญญาณ

เดส์การ์ตส์ (Descartes) บิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่ เป็นนักปรัชญาทวินิยม เห็นว่าวิญญาณเป็นเนื้อสาร โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. เนื้อสารสัมบูรณ์ ได้แก่พระเจ้า (God)
2. เนื้อสารสัมพัทธ์ ได้แก่สสารและวิญญาณ สสารมีลักษณะกินที่ อยู่กับที่และย่อมเป็นไปตามกฎกลศาสตร์ ส่วนวิญญาณนั้น เคลื่อนไหว ไม่กินที่ มีความรู้สึกนึกคิด และจงใจ

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย