ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์

ความสงสัยหรือการคิดค้นเรื่องสิ่งอันเป็นเหตุหรือเป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่งเป็นเรื่องที่มีมานานตั้งแต่สมัยปรัชญากรีกโบราณ โดยตั้งเป็นคำถามว่า อะไรเป็นปฐมธาตุหรือปฐมเหตุของสรรพสิ่ง ? หรืออะไรเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง ? นักปรัชญาพยายามศึกษาสืบค้นในเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยอาศัยหลักการต่าง ๆ รวมทั้งหลักการทางตรรกวิทยา และสรุปได้ว่ามีสิ่งหนึ่งที่เป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่ง สิ่งนั้นเรียกว่ากฎเหตุผลสากลบ้าง สิ่งสัมบูรณ์บ้าง พระผู้เป็นเจ้าบ้าง จึงเป็นเหตุให้มีการแบ่งแยกนักปรัชญาเป็น 2 พวกคือพวกที่เชื่อไม่เชื่อพระเจ้า ซึ่งเรียกสิ่งอันเป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่งว่า กฎเหตุผลสากลบ้าง สิ่งสัมบูรณ์บ้าง นักปรัชญากลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “อเทวนิยม” (Atheism) และอีกพวกหนึ่งที่เชื่อในเรื่องพระเจ้า ซึ่งเรียกสิ่งอันเป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่งว่า พระผู้เป็นเจ้า นักปรัชญากลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “เทวนิยม” (Theism)

เมื่อเกิดคริสตศาสนาซึ่งสอนว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง นักปรัชญาที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยอิทธิพลของคริสตศาสนาจึงต้องสนใจเรื่องพระผู้เป็นเจ้าด้วย ในแวดวงของชาวคริสต์ด้วยกันแล้ว เรื่องพระเจ้ามีอยู่หรือไม่มิใช่ปัญหา เพราะชาวคริสต์เชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่แน่นอน และเพราะพระเจ้ามีอยู่ สรรพสิ่งจึงมีอยู่ พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง

บางความเห็นของนักเทวนิยม เห็นว่า “พระเจ้าไม่ใช่สิ่งใด ๆ หรือยู่ในกาละและเทศะ คือไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ไม่มีเกิดไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีเสื่อมไม่มีดับ ไม่มีอยู่ในที่ใด ๆ จึงมิใช่สิ่งใดในจักรวาล และพระเจ้าก็ไม่ใช่ทุกสิ่งในจักรวาลรวมกัน” (ผศ.วิธาน สุชีวคุปต์ และคณะ: 2532)

การศึกษาเรื่องพระเจ้า (God) หรือสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) เป็นการค้นคว้าหาสัจภาวะเรื่อง หรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ โดยอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติ ความมีอยู่และคุณลักษณะของพระเจ้า พระเจ้ามีจริงไหม มีธรรมชาติอย่างไร สัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับโลกและสัตว์ทั้งปวง การศึกษาเรื่องพระเจ้าหรือสิ่งสัมบูรณ์ จัดเป็นอภิปรัชญาสาขาหนึ่ง คืออภิปรัชญาที่ว่าด้วยพระเจ้าหรือสิ่งสัมบูรณ์ นักปรัชญาที่สนใจศึกษาส่วนมากจะเป็นนักปรัชญาฝ่ายจิตนิยม ส่วนนักปรัชญาฝ่ายสสารนิยมจะปฏิเสธความมีอยู่ของพระเจ้า

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบันวิทยาการจะเจริญก้าวหน้า หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาไปมาก การศึกษาอภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือความคิดของเทวนิยมนี้ ก็ยังเป็นแนวความคิดหนึ่งที่คนทั่วไปยังให้ความเลื่อมใส และสนใจกันอยู่

คำว่า “เทวนิยม” (Theism) ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้นิยามความหมายไว้ว่า “เทวนิยม หมายถึงลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทางมีอำนาจครอบครองโลก และสามารถดลบันดาความเป็นไปในโลก”

ในพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ – ไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน ได้นิยามความหมายของคำว่า “เทวนิยม” (Theism) ไว้ว่า “เทวนิยม หมายถึงทัศนะที่เชื่อว่าพระเป็นเจ้า (God) มีจริง ทรงเป็นผู้สร้างและคุ้มครองโลก และทรงไว้ซึ่งอัพภันตรภาพ (Immanence) และอุตรภาพ (Transcendence) ตรงกันข้ามกับ อเทวนิยม (Atheism)

ในทางอภิปรัชญา นักปรัชญาเทวนิยมจะเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่จริง คือเป็นภาวะที่มีอยู่อย่างเที่ยงแม้ถาวร ไม่ใช่เป็นเพียงอุดมคติอย่างที่นักปรัชญาธรรมชาติเข้าใจ เพราะนักปรัชญาธรรมชาตินำเอาคำว่า “พระเจ้า” ไปใช้เพียงหมายความถึงมโนภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งยึดเป็นค่านิยมหรือเป็นเป้าหมายของมนุษย์เท่านั้น

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย