ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

เจตจำนงเสรี (Free Will)

เมื่อเราทราบลักษณะหรือธรรมชาติของจิตหรือวิญญาณแล้ว ก็มาถึงคำถามที่ว่า จิตหรือวิญญาณของมนุษย์มีเสรีภาพในการตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่ ?

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์มีเสรีภาพ สามารถกำหนดการกระทำของตนเองโดยไม่มีใครหรือสิ่งใด (อาจจะเรียกว่าพลังภายนอกก็ได้) มาบังคับหรือกำหนดให้ทำ แม้ว่ามนุษย์จะมีเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัดก็สามารถใช้เสรีภาพนั้นเป็นวิธีการในการพัฒนาตัวเอง หรือกำหนดการเป็นไปของตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการให้สำเร็จได้

คำว่า “เจตจำนงเสรี” (Free Will) หมายถึงการกำหนดการเลือกตัดสินใจในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เห็นว่าเป็นความดี และจงใจกระทำเพื่อบรรลุถึงความดีของตัวเองนั้น การเลือกและเจตนาเกิดจากตนเอง ไม่มีใครหรือสิ่งใดมาบังคับหรือกำหนด

ปัญหาเกี่ยวกับเจตจำนง (Will) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับมนุษย์โดยเฉพาะ การตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์คือเจตจำนงเสรี (Free Will) เราจะสังเกตได้ว่า ในแต่ละวันนั้นเรามักจะพบกับลักษณะความเป็นไปที่ตรงกันข้ามสองลักษณะคือ

  1. เราจะรู้สึกว่าเรามีเสรีภาพในการตัดสินใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง กล่าวคือก่อนที่เราจะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราจะพิจารณาก่อนว่าถ้าทำอย่างนั้น จะเกิดผลอย่างไร หรือถ้าทำอย่างนี้จะเกิดผลอย่างไร แล้วจึงตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่าเราสามารถเลือกเองโดยเสรีในการกระทำสิ่งต่าง ๆ
  2. บางครั้งเราจะรู้สึกว่าการที่เรามีการตัดสินใจเลือกโดยเสรีนั้น ที่จริงแล้วเราได้รับอิทธิพลจากสิ่งอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งอื่น ๆ ที่ว่ามานั้นมีจำนวนมากมาย เช่น การศึกษาอบรม สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ หรือด้านสังคม เป็นต้น เราจะสังเกตได้ว่าขณะที่เราจะเลือกตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะพบว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวผลักดันหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเราเป็นอย่างมาก นั่นแสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถเลือกตัดสินใจได้เองโดยเสรีในการกระทำสิ่งต่าง ๆ

เกี่ยวกับเรื่องเจตจำนงเสรีนี้ มีกลุ่มนักปรัชญาที่ได้แสดงความเห็นเอาไว้แตกต่างกัน 2 กลุ่มคือ (รศ.สุจิตรา รณรื่น, 2540: 42 - 43)

1. กลุ่มเหตุวิสัย (Determinism) นักปรัชญากลุ่มนี้มีความเห็นว่า มนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรีในการตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ เพราะว่าการตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ ของเรานั้นเกิดขึ้นจากการได้รับอิทธิพลจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามาเป็นตัวกำหนดให้เราต้องตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราไม่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเราเอง มีปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวกำหนดให้กระทำหรือเป็นเหตุให้ตัดสินใจ

แนวความคิดดังกล่าวนี้เป็นแบบจักรกล (Mechanism) นั่นคือเชื่อว่า สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติดำเนินไปตามกฎกลศาสตร์ เหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นเพราะมีเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งมากระทำต่อมัน มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ โดยปราศจากสาเหตุ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ล้วนแต่มีสาเหตุทั้งนั้น เช่น ฝนตก ดอกไม้เหี่ยว เป็นต้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ จะต้องมีสาเหตุล่วงหน้ามาก่อน ในกรณีของมนุษย์ก็เช่นกัน มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ย่อมเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การเลือกตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ละครั้งจึงต้องมีสาเหตุนำหน้ามาก่อน กล่าวคือความประสงค์หรือจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ล่วงหน้านั่นเอง

ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ไม่มีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ เพราะการกระทำทุกอย่างของมนุษย์ถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อม นั่นคือมนุษย์เราไม่มีเจตจำนงเสรี

2. กลุ่มอิสรวิสัย (Indeterminism) นักปรัชญากลุ่มนี้มีแนวความคิดว่า การเลือกตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ แม้ว่าจะมีบางครั้งหรือหลายครั้งที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทุกครั้งไป เราจะสังเกตเห็นว่าบางครั้งหรือหลายครั้ง ที่ไม่มีอะไรมาบังคับหรือกำหนดการกระทำของเรา การที่เราสามารถตัดสินใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆ เองโดยไม่มีใครบังคับ หรือไม่มีอะไรเป็นเครื่องกำหนดนั้น แสดงให้เห็นว่าคนเรามีเจตจำนงเสรี

นักปรัชญากลุ่มนี้ เห็นว่า ถ้ามนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรี การยกย่องสรรเสริญและการตำหนิติเตียนก็จะไร้ความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงโทษผู้กระทำความผิดจะทำไม่ได้ถ้าเรายอมรับว่าเขาถูกบังคับให้ทำชั่ว การยอมรับเรื่องการลงโทษผู้กระทำผิด ย่อมแสดงว่าเขาต้องรับผิดชอบการกระทำของเขาเนื่องจากเขาเป็นผู้กระทำเองทั้ง ๆ ที่เขาอาจหลีกเลี่ยงไม่กระทำเช่นนั้นก็ได้ นั่นคือการยอมรับว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี หรือมีอิสระในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ

ในทัศนะของศาสนา โดยทั่วไปแล้วถือว่า มนุษย์มีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกกระทำความดีหรือความชั่ว ศาสนาทุกศาสนาจึงสอนให้ละเว้นความชั่ว กระทำความดี ถ้ามนุษย์ไม่มีอิสระในการตัดสินใจแล้ว คำสอนของศาสนาก็ไม่มีความหมาย ศาสนาและหลักศีลธรรมก็จะเป็นสิ่งที่ไร้สาระหากมนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรี

จะอย่างไรก็ตาม แม้ว่ามนุษย์จะมีเสรีภาพในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เพราะบางสิ่งบางอย่างมนุษย์ไม่สามารถกระทำได้

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย