ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ทัศนะฝ่ายจิตนิยม

(Idealism)

คำว่า “จิตนิยม” เป็นศัพท์บัญญัติศัพท์หนึ่งของ Idealism ที่ใช้ในทางอภิปรัชญา แต่ถ้าใช้ในทางจริยศาสตร์ ท่านบัญญัติศัพท์ภาษาไทยอีกศัพท์หนึ่งว่า “อุดมคตินิยม” จึงก่อให้เกิดปัญหาตอบมาว่า คำว่า Idealism คำเดียว ทำไมจึงบัญญัติศัพท์ภาษาไทยถึง 2 คำ

เกี่ยวกับปัญหานี้มีคำตอบว่า เพราะท่านใช้ในความหมายต่างกัน กล่าวคือ ในทางจริยศาสตร์ท่านใช้คำว่า Idealist หมายถึงบุคคลผู้เห็นเป้าหมายอันสูงส่งของชีวิต และพยายามจะเข้าถึงเป้าหมายอันนั้นให้ได้ ในภาษาไทยเราจึงเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า “นักอุดมคติ”

แต่ในทางอภิปรัชญา Idealist หมายถึงบุคคลผู้ศึกษาค้นคว้าว่า อะไรคือความจริง อะไรคือสภาพมูลฐานของสิ่งทั้งหลายที่เข้ากันได้กับความรู้สึกนึกคิด และจิตใจของมนุษย์ดังที่บรัดเล่ย์ (F.H. Bradley) ได้กล่าวไว้ว่า

“นอกเหนือจากจิตแล้ว ไม่มี หรือไม่อาจมีความจริงใด ๆ อื่น ยิ่งเป็นเรื่องของจิตมากเท่าใด ก็ยิ่งมีความจริงมากเท่านั้น” ในภาษาไทยจึงเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า “นักจิตนิยม”

คำว่า “จิตนิยม” (Idealism) เป็นกลุ่มนักปรัชญาที่มีความเชื่อว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีอยู่อย่างเดียว มีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้ มองเห็นไม่ได้ สิ่งนั้นคือ “จิต” โดยถือว่า สรรพสิ่งในจักรวาล เมื่อค้นหาความแท้จริงให้ถึงที่สุดแล้ว จะมีสภาพเป็นจิต หรือนามธรรม เราไม่สามารถรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคนธรรมดา เช่น เรื่องพระเจ้า กฎแห่งกรรม อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น แม้ว่าเราไม่สามารถจะรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ปรากฏในฐานะเป็นนามธรรม หรืออสสาร (Immaterial)

คำว่า “จิต” แปลว่า คิด เป็นธรรมชาติที่ซับซ้อน มีความอยากเป็นพื้นฐาน มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น มนัส มโน วิญญาณ และจิต

นักปรัชญากลุ่มจิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วยกายและจิต จิตเป็นอสสาร ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง เป็นตัวการสำคัญในการทำให้มนุษย์มีความคิด มีความรู้สึก และเป็นการบ่งการให้ร่างกายทำอะไรก็ได้ตามความต้องการของจิต จิตมีสภาพเป็นจริง และเป็นอิสระจากกาย

ในลักษณะของความเชื่อของชาวจิตนิยม เป็นลักษณะที่สุดโต่งเกี่ยวกับสภาวะที่เป็นนามธรรม เพราะชาวจิตนิยมบอกเราให้ทราบว่า “มีสิ่งที่เป็นจริงยิ่งกว่าวัตถุหรือสสาร เป็นความจริงที่ไม่มีตัวตน มีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial)”

เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า จิตนิยม ไม่ใช่ว่าปฏิเสธสสารเสียทีเดียว ยอมรับว่ามีอยู่ แต่ไม่ใช่ความจริงสูงสุด ที่บอกว่ามีวัตถุหรือสสาร เพราะมีจิตเป็นตัวกำหนด ส่วนที่เป็นเนื้อแท้ของโลก จึงได้แก่ “จิต” ซึ่งมีอยู่อย่างนิรันดร ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ในทัศนะเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า

พระเจ้า (God) ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเทวนิยม ในส่วนของชาวจิตนิยมที่ให้แนวความคิดเกี่ยวกับพระเจ้านั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันตามความเชื่อของแต่ละคน เช่น ตามคติของผู้ที่นับถือคริสตศาสนา ถือว่า “พระผู้เป็นเจ้าไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นวิญญาณบริสุทธิ์ ที่ทรงอำนาจยิ่งใหญ่, รอบรู้ทุกอย่าง, เป็นผู้สร้างโลก” กล่าวคือมีลักษณะคล้ายกับจิต

ลักษณะของจิตนิยม

โดยทั่วไป จิตนิยม (Idealism)คือ ลัทธิที่ถือว่าความจริงแท้หรือความจริงสูงสุดเป็นจิต หรืออสสาร ซึ่งมีอยู่นิรันดร ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อแยกลักษณะของจิตนิยมออกพิจารณาจะได้ดังต่อไปนี้

  1. ชาวจิตนิยม เชื่อว่า จิตเป็นความแท้จริงเพียงสิ่งเดียว สสารเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น กล่าวคือเนื้อแท้ของโลกเป็นอสสาร
  2. ชาวจิตนิยม เชื่อเรื่องพระเจ้า ความเป็นอมตะของวิญญาณ พระเจ้าสร้างและบันดาลความเป็นไป ตลอดถึงความสิ้นสุดของสรรพสิ่ง
  3. ชาวจิตนิยม ถือว่าคุณค่า เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เช่น ความดี ความงาม ความถูก ความผิด เป็นต้น จะต้องมีอยู่จริง ๆ ไม่ใช่สิ่งที่สมมติขึ้น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ตัดสิน
  4. อสสารหรือจิตมีลักษณะเป็นนิรันดร (Eternal) และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าโลกของสสารจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เพราะจิตมีลักษณะสัมบูรณ์

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย