ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ทฤษฎีทวินิยม

(Dualism)

ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของสรรพสิ่งมี 2 อย่างเป็นของคู่กัน คือเป็นทั้งรูปธรรม (สสาร) และนามธรรม (จิต) มีนักปรัชญาจำนวนมากที่พยายามให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องของทวินิยม เพราะเชื่อว่ามนุษย์เรามีทั้งร่างกายและจิตวิญญาณอยู่คู่กัน เช่น

เดส์การ์ตส์ (Descartes) ถือว่า ความแท้จริงมี 2 อย่างคือ สสารและจิตวิญญาณ เพราะมนุษย์จะต้องประกอบด้วยร่างกาย และวิญญาณ จึงจะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้

กาย กับจิต เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และเป็นคนละอย่างกัน กาย เป็นสสาร หรือรูปธรรม ส่วนจิต เป็นอสสาร หรือเป็นนามธรรม แต่ทั้งสองอย่างมีปฏิกริยาต่อกัน กล่าวคือ กิจกรรมของกายก่อให้เกิดกิจกรรมของจิต และกิจกรรมของจิตก็ก่อให้เกิดกิจกรรมทางกาย เพราะทั้งกายและจิตมีความจริงเท่ากัน และมีอิทธิพลต่อกัน ที่เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า “อันตรกิริยานิยม” (Interactionism) เช่น เมื่อเรารู้สึกกลัว หัวใจก็จะเต้นแรง แสดงว่าจิตมีอิทธิพลต่อกาย หรือเมื่ออยู่ในห้องที่ร้อนอบอ้าว จะรู้สึกหงุดหงิด แสดงว่ากายมีอิทธิพลต่อจิต เป็นต้น

ทฤษฎีทวินิยม แบ่งออกไปอีกได้ 2 ทฤษฎีคือ

  1. ทฤษฎีรังสรรค์นิยม (Creationism) เป็นที่ยอมรับกันว่า ทฤษฎีทวินิยม คือทฤษฎีที่ยอมรับว่าความจริงมี 2 อย่างได้แก่ จิตกับร่างกาย จิต เป็นสภาวะที่ใหญ่กว่าร่างกาย เพราะเป็นผู้สร้างสสาร เรียกว่า พระผู้สร้าง (The Creation) หลังจากที่สร้างแล้วก็ปล่อยให้สสารอยู่ด้วยตัวเอง พระผู้สร้างมีอำนาจในการควบคุมและทำลายสสาร พระผู้สร้างนี้ เป็นความแท้จริงสูงสุด เป็นอมตะ เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนจิตวิญญาณที่อยู่กับสสาร เป็นจิตวิญญาณของมนุษย์ พระวิญญาณบริสุทธิ์ ทำหน้าที่จัดระบบสสาร เพราะสสารเป็นวัตถุ วิญญาณเป็นแบบ ดังนั้น พระเจ้าจึงไม่ใช่สสาร แต่เป็นแบบ
  2. ทฤษฎีชีวสสารนิยม (Hylozoism) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีจิตสสารนิยม เพราะเป็นทฤษฎีที่ถือว่า จิตกับสสารเป็นของคู่กัน จิตควบคุมสสารได้

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย