ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ทฤษฎีเอกนิยม

(Monism)

ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของสรรพสิ่งมีเพียงสิ่งเดียว จะเป็นรูปธรรม (สสาร) หรือนามธรรม (จิต) ก็ได้ แสดงให้เห็นว่า ความจริงจะต้องมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น กล่าวคือเอกนิยม เป็นวิธีการทางปรัชญาที่พยายามที่จะตอบปัญหาเกี่ยวกับความจริงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ความจริงมีเพียงหนึ่งเท่านั้นที่อยู่เบื้องหลังของสรรพสิ่งและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

ทฤษฎีเอกนิยมนี้เด่นชัดที่สุด เมื่อเกิดแนวความคิดของสปิโนซ่า (Spinoza) ที่ว่า สรรพสิ่งในโลกไม่มีอะไรนอกไปจากปรากฏการณ์หรือการปรากฏตัวของความจริงอันสูงสุดเท่านั้น นั่นคือจิตหรือพระเจ้า โลกมีสารัตถะเพียงอย่างเดียว

พวกเอกนิยม ถือว่า ความจริงแท้มีหนึ่งอย่างเท่านั้น ไม่มีมากไปกว่าหนึ่ง ทฤษฎีเอกนิยม ยังแบ่งออกเป็น 2 คือ

ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิต (Idealistic Monism)

ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีเพียงสิ่งเดียว มีลักษณะเป็นนามธรรม นั่นคือ “จิต” จิตหรือนามธรรมเท่านั้นที่มีอยู่จริง โลกนี้ไม่มีอะไร นอกจากจิตดวงเดียว สสารหรือวัตถุไม่มีอยู่จริง จะต้องขึ้นอยู่กับจิต

จิต เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งในโลก กล่าวคือ จิตหรือวิญญาณ เป็นพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งทั้งหลาย แม้ว่ามนุษย์เราจะประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ แต่ส่วนที่สำคัญเป็นตัวบ่งการร่างกาย หรือเป็นการบังคับให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมานั่นคือ “จิต”เช่น

สปิโนซ่า (Spinoza) ถือว่า ความจริงแท้มีเพียงอย่างเดียวคือ เนื้อสารสัมบูรณ์ หรือพระเจ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (หนังสือบางเล่มบอกว่า หมายถึง จิต)

เฮเกล (Hegel) ถือว่า ความจริงแท้มีเพียงจิตดวงเดียว ที่เรียกว่า สิ่งสัมบูรณ์ (The Absolute) เป็นต้นกำเนิดของจิตทั้งปวง ลักษณะของจิตคือหยุดนิ่งไม่ได้ จะต้องมีกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่เช่นนั้น จิตจะไม่มีตัวตนไม่เรียกว่า จิต การเคลื่อนที่ของจิตนั้นเป็นการพัฒนาแบบปฏิพัฒนาการ (Dialectic) ซึ่งมี 3 ระยะคือ จิตดั้งเดิม (Thesis) จิตขัดแย้ง (Anti – Thesis) และจิตสังเคราะห์ (Synthesis) ดังนั้น จิตหรือวิญญาณจึงเป็นอนันตะ

ปรัชญาพราหมณ์ (Brahmanism) ถือว่า พระพรหม หรือพรหมัน เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง เป็นความจริงเพียงอย่างเดียว การที่จะเข้าถึงหรือมองเห็นพรหมันได้นั้น มนุษย์จะต้องละอวิชชาด้วยการบำเพ็ญพรตหรือปฏิบัติตนให้บรรลุโมกษะ จึงจะสามารถเข้าถึงพรหมันได้

ทฤษฎีมัชฌิมนิกาย หรือทฤษฎีสองแง่ ถือว่า ความจริงแท้มีเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ทั้งจิต ไม่ใช้ทั้งวัตถุหรือสสาร ความจริงแท้นั่นคือ “พระเจ้า” (God) ซึ่งแสดงตัวออกมาเป็นทั้งสสาร และทั้งจิต

ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายสสาร (Materialistic Monism)

ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีเพียงสิ่งเดียว มีลักษณะเป็นรูปธรรม นั่นคือ “สสาร” กล่าวคือสิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสเท่านั้นจึงจะเป็นจริง และเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง นอกนั้นไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง เช่น ปรัชญาสสารนิยมทั่วไป เป็นต้นว่า

ธาเลส (Thales) ถือว่า ปฐมธาตุของโลกคือ “น้ำ” น้ำ เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดมาจากน้ำ และจะกลายเป็นน้ำอีก
อแนกซิมานเดอร์ (Anaximander) ถือว่า ปฐมธาตุของโลกคือ “อนันตะ” อนันตะ เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดมาจากอนันตะ และจะกลายเป็นอนันตะอีก
อแนกซิเมเนส (Anaximes) ถือว่า ปฐมธาตุของโลกคือ “อากาศ” อากาศ เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดมาจากอากาศ และจะกลายเป็นอากาศอีก
เฮราคลิตุส (Heraclitus) ถือว่า ปฐมธาตุของโลกคือ “ไฟ” ไฟ เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดมาจากไฟ และจะกลายเป็นไฟอีก
ธรรมชาตินิยม (Naturalism) กล่าวว่า ธรรมชาติเท่านั้น เป็นความจริงสูงสุด และเป็นสาเหตุของสรรพสิ่งในโลก ที่เด่นชัดก็คือนักปรัชญาเยอรมัน ชื่อเชลลิ่ง (Schelling) เขาเสนอปรัชญาเอกนิยมแบบธรรมชาติ โดยเชื่อว่า จักรวาลเป็นการปรากฏตัวของความจริงเอกอุตม์

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย