ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

เทววิทยา

(Theology)

คำว่า “เทววิทยา” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “วิชาที่ว่าด้วยพระเจ้า (God) และความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับโลก”

นอกจากคำว่า “เทววิทยา” แล้ว ในทางอภิปรัชญายังมีคำที่ใช้ในลักษณะเดียวกันอีกคำหนึ่งคือคำว่า “เทวนิยม” (Theism) ซึ่งหมายถึงลัทธิที่เชื่อว่า “มีพระเจ้าผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงอำนาจครอบครองโลก และสามารถดลบันดาลความเป็นไปในโลก” ดังนั้นจะเห็นว่า เทววิทยา ในทางอภิปรัชญาจะเน้นว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร ไม่ใช่เป็นเพียงอุดมคติตามทัศนะของธรรมชาตินิยมบางพวกเข้าใจเท่านั้น

เทววิทยา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. เทววิทยาธรรมชาติ (Natural Theology)
2. เทววิทยาวิวรณ์ (Revealed or Sacred Theology)

เทววิทยาธรรมชาติ หมายถึง พระเจ้าเปิดเผยสัจจะไว้ในธรรมชาติโดยให้มนุษย์ใช้ความสามารถของตนค้นคว้าไปเรื่อย ๆ หมายความว่า ความจริงหรือสัจภาวะนั้น มิได้ปรากฏเพียงแต่ในคัมภีร์ หากแต่ปรากฎในธรรมชาติด้วย และกฎธรรมชาตินั้นเป็นกฎที่แน่นอนตายตัว ไม่ว่ามนุษย์จะเอาไปตีความอย่างไร กฎก็ยังคงเดิมเป็นนิรันดร์ไม่สะเทือนไปตามความคิดเห็น และเหตุการณ์ที่มนุษย์ก่อขึ้น เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระเจ้าโดยไม่อาศัยคัมภีร์ ความศรัทธา ประเพณีนิยม หรือแม้แต่สำนักสอนศาสนา เป็นต้น เป็นการศึกษาโดยใช้เหตุผลตามธรรมชาติเป็นหลัก

เทววิทยาวิวรณ์ หมายถึง การเปิดเผยโดยตรงของพระเจ้า หรือที่เรียกว่า “เทวบันดาล” คือการที่พระเจ้าทรงเปิดเผยความรู้แก่มนุษย์ผู้ที่ทรงเลือกแล้ว เช่นเปิดเผยบัญญัติ 10 ประการให้แก่โมเสส หรือคัมภีร์ไบเบิ้ลแก่พระเยซู หรือคัมภีร์อัลกุรอ่านแก่ท่านนะบีมูฮัมหมัด เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงทำให้ฝ่ายเทววิทยาวิวรณ์ถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสัจจะแท้จริง เพราะผ่านมาจากพระเจ้าโดยตรง จึงเชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ที่ถูกต้องแม่นยำ เพราะมิใช่วิสัยของมนุษย์ที่จะรู้อย่างครบถ้วนเช่นนั้น

ลักษณะของวิวรณ์นั้นมี 2 ลักษณะคือ

  1. การที่สิ่งเหนือธรรมชาติเปิดเผยความรู้แก่มนุษย์ สิ่งเหนือธรรมชาติที่ว่านั้นได้แก่ พระเจ้า พระองค์เป็นผู้ทรงความรู้ เพราะเป็นผู้รอบรู้ทุกอย่าง ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต เป็นผู้เปิดเผยความรู้ของพระองค์แก่มนุษย์
  2. ความรู้ที่ได้จากการเปิดเผยของสิ่งเหนือธรรมชาติ เมื่อพระเจ้าเปิดเผยความรู้แก่มนุษย์แล้ว จะสังเกตได้ว่ามนุษย์เรามีความรู้ซึ่งได้จากการเปิดเผยของพระเจ้า เพราะหากพระองค์ไม่เปิดเผยความรู้แก่มนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถจะมีความรู้ได้เลย

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย