ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ทัศนะฝ่ายสสารนิยม

(Materialism)

คำว่า “สสารนิยม” เป็นศัพท์บัญญัติศัพท์หนึ่งของคำว่า Materialism ที่ใช้ในทางอภิปรัชญา แต่ถ้าใช้ในทางจริยศาสตร์ ท่านบัญญัติศัพท์ภาษาไทยอีกศัพท์หนึ่งว่า “วัตถุนิยม”

คำว่า “Materialism” ที่ใช้ในทางจริยศาสตร์ หมายถึงทัศนะที่ว่า ศาสตร์ที่ถือว่าทรัพย์สินเงินทอง และอำนาจ ตลอดทั้งสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะอำนวยความสุขสูงสุดให้แก่ชีวิตได้ ท่านจึงบัญญัติศัพท์ว่า “วัตถุนิยม”

คำว่า “Materialism” ที่ใช้ในทางอภิปรัชญา หมายถึง ทัศนะที่ว่า สสาร หรือพลังงาน เป็นเครื่องกำหนดลักษณะพื้นฐานของสิ่ง หรือเหตุการณ์ทั้งหลาย แต่สสารเท่านั้นเป็นภาวะที่มีอยู่จริง นอกนั้นไม่เชื่อว่ามีอยู่จริง เป็นเพียงภาวะอนุพันธ์คือเกิดจากสสารนั่นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผลผลิตของสสาร ท่านจึงบัญญัติศัพท์ว่า “สสารนิยม”

ชาวสสารนิยม หรือชาววัตถุนิยม ถือว่า สสารเป็นสิ่งแท้จริง จิตเป็นเพียงปรากฏการณ์ของสมอง ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ เป็นต้นตำรับแห่งสสารนิยมโดยแท้ เริ่มต้นจากธาเลส (Thales) ซึ่งพยายามที่จะค้นหาแก่นแท้ของสรรพสิ่งอันเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง เขาเชื่อว่า น้ำ เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง หรือเป็นปฐมธาตุของโลก และนักปรัชญาคนต่อ ๆ มาก็พยายามคิดค้นหาเกี่ยวกับปฐมธาตุของสรรพสิ่งเช่นเดียวกัน

ชาวสสารนิยม เชื่อว่า สมอง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ เพราะเป็นศูนย์รวมของสิ่งต่าง ๆ มีหน้าที่ในการบันทึก จดจำทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำในแต่ละวัน เปรียบเหมือนกับห้องสมุดขนาดใหญ่ สมอง สามารถทำงานได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณ การรัยรู้ ตลอดถึงการรับอารมณ์หรือการแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ออกมา ดังนั้น จึงมีนักปรัชญาชาวสสารนิยมท่านหนึ่งกล่าวว่า ชีวิตเปรียบเหมือนกับเครื่องจักรกล เพราะประกอบด้วยเครื่องจักรกลมากมาย ทำงานได้ทั้งในขณะที่เรารู้สึกตัว และไม่รู้สึกตัว หรือทั้งในขณะที่ตื่น และนอนหลับ

สสารนิยม เป็นกลุ่มนักปรัชญาที่มีแนวความคิดที่คัดค้านกับฝ่ายจิตนิยม เพราะเชื่อในความมีอยู่ต่างกัน ชาวจิตนิยมเชื่อในสิ่งที่เป็นนามธรรมว่าเป็นความแท้จริงของสรรพสิ่ง ส่วนชาวสสารนิยมเชื่อในสิ่งที่เป็นรูปธรรมว่าเป็นความแท้จริงของสรรพสิ่ง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของจิตที่ชาวจิตนิยมบอกว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ชาวสสารนิยมบอกว่า เป็นเพียงมันสมองที่ประกอบด้วยระบบประสาท ไม่ใช่จิต อย่างที่ชาวจิตนิยมเข้าใจกัน เป็นต้น ชาวสสารนิยมเชื่อว่า การเคลื่อนไหวของร่างกายทุกส่วน เป็นการสั่งงานของสมอง เพราะหากไม่มีระบบประสาทซึ่งติดอยู่กับสมองแล้ว เราจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย ดังนั้น ชาวสสารนิยม จึงเชื่อว่า เมื่อคนเราตายไปแล้ว จะไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก ไม่มีอะไรไปเกิดใหม่ เพราะสมองและระบบประสาทนั้นเปื่อยผุผังไป

สสารนิยม มีหลักสำคัญ 3 ประการคือ

  1. สิ่งและเหตุการณ์ทั้งมวล รวมทั้งชีวิต วิชาน (Consciousness) และจิต (Mind) เป็นผลระดับต่าง ๆ ของภาวะเชิงซ้อน และพฤติกรรมของวัตถุกายภาพ หรือพลังงานเท่านั้น
  2. สิ่งที่เกิดขึ้นใด ๆ ซึ่งรวมถึงสิ่งทั้งมวล ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ล้วนเป็นการปฏิบัติการแบบรวมแห่งกฎทางวัตถุ
  3. ไม่มีพระเจ้า หรือภาวะเหนือธรรมชาติใด ๆ อื่น จะนำมาใช้อธิบายถึงความมีอยู่ของโลกหรือสภาพของโลก

ลักษณะของสสารนิยม

สสารนิยม เชื่อว่า สสารเป็นต้นกำเนิดของโลกจักรวาล มนุษย์มีร่างกายอันเป็นวัตถุ ประกอบด้วยกลไกต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อน และสามารถทำงานได้เหมือนเครื่องจักรกล ส่วนจิตไม่มีอยู่จริง ความรู้สึก นึกคิดเกิดจากกระบวนการของสสาร หรือสมอง

แนวคิดของนักสสารนิยมที่ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อแท้ของจักรวาลนั้น ที่สำคัญได้แก่

  1. สสารนิยมเป็นเอกนิยม โดยถือว่าปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้นเป็นจริง มีลักษณะครองที่ หรือกินที่ (Space) กล่าวคือแผ่ไปในที่ว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่และเกิดขึ้นในที่ว่าง นั่นคือวัตถุอย่างหนึ่งกินที่ ณ ที่หนึ่งแล้ว วัตถุอีกอย่างหนึ่งจะกินที่นั้นอีกในเวลานั้น ในเวลาเดียวกันไม่ได้
  2. สสารเป็นสิ่งที่กินเวลา (Time) กล่าวคือจะต้องมีอยู่ในเวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ แสดงให้เห็นว่า โลกหรือจักรวาลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรอยู่คงที่
  3. สสารนิยม ยอมรับทฤษฎีหน่วยย่อย หรือทฤษฎีอะตอม โดยถือว่า สิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วยหน่วยย่อยหลายหน่วย และหน่วยย่อยนั้นอาจจะประกอบด้วยหน่วยย่อยลงไปอีก จนกระทั่งไม่สามารถย่อยหรือแยกลงไปอีกได้
  4. สสารนิยม ยอมรับแนวความคิดเรื่องการทอนลง (Reductionism) กล่าวคือสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อย จนถึงอนุภาคที่เล็กที่สุด เช่น สังคม ก็ย่อยลงเป็นกลุ่มคนหลายคน หรือคน ๆ หนึ่ง ก็ย่อยลงเป็นเซลล์ต่าง ๆ มากมาย เป็นต้น
  5. สสารเป็นสิ่งที่เราสามารถรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 นอกจากนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
  6. สสารนิยมถือว่า คุณค่า (Value) เป็นเพียงสิ่งสมมติขึ้นเท่านั้น ไม่มีอยู่จริงเหมือนสสาร เช่น ดี, ชั่ว, งาม, ไม่งาม, ถูก, ผิด เป็นต้น
  7. สสารนิยม เชื่อว่าระบบจักรวาลเป็นระบบจักรกล เพราะสสารเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการเองตามกฎกลศาสตร์ ไม่ใช่เป็นการดลบันดาลของสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่มีสิ่งเหนือธรรมชาติ มีแต่ธรรมชาติเท่านั้นที่เป็นจริง

ทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์

ชาวสสารนิยมเชื่อว่า สภาพความเป็นคนหรือความเป็นมนุษย์ที่ปรากฏอยู่ต้องอาศัยส่วนย่อยทั้งหลาย ถ้าไม่อาศัยส่วนย่อยเหล่านั้นแล้ว ความเป็นมนุษย์จะตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะเชื่อว่าส่วนย่อยเป็นจริงกว่าส่วนรวม ดังนั้น การรวมตัวของกลุ่มอะตอม ก็คือการเกิดขึ้นของมนุษย์ ส่วนการแยกตัวของกลุ่มอะตอม ก็คือการตายของมนุษย์ สิ่งที่เรียกกันว่า ความรู้สึก นึกคิด ความจำ เป็นเพียงสมรรถภาพการทำงานของสมองเท่านั้น ไม่มีจิตหริอวิญญาณอย่างที่จิตนิยมเข้าใจกัน

ทฤษฎีสสารนิยม (Materialism) สามารถแบ่งตามจำนวนปฐมธาตุของอภิปรัชญาได้เป็น 2 ทฤษฎีคือ

1. ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายสสารนิยม (Materialistic Monism)
2. ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสารนิยม (Materialistic Pluralism)

ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายสสาร
(Materialistic Monism)

ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายสสาร (Materialistic Monism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีเพียงสิ่งเดียว มีลักษณะเป็นรูปธรรม นั่นคือ “สสาร” กล่าวคือสิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสเท่านั้นจึงจะเป็นจริง และเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง นอกนั้นไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง เช่น ปรัชญาสสารนิยมทั่วไป เป็นต้นว่า

ธาเลส (Thales) ถือว่า ปฐมธาตุของโลกคือ “น้ำ” น้ำ เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดมาจากน้ำ และจะกลายเป็นน้ำอีก

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย