ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก

ดังที่ได้ศึกษามาแล้ว ปรัชญาตะวันออกส่วนมากเราเน้นที่ปรัชญาอินเดียเป็นหลัก เพราะเป็นแหล่งแห่งอารยธรรม ที่บ่อเกิดแห่งศาสนาและปรัชญา ส่วนปรัชญาจีนและญี่ปุ่นต่างก็ได้รับอิทธิพลจากอินเดียทั้งสิ้น ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับสสารนิยมนี้ ก็จะพิจารณาเฉพาะปรัชญาอินเดียเท่านั้น

สสารนิยมในปรัชญาอินเดีย

1. กลุ่มอาสติกะ

เป็นกลุ่มที่มีความเชื่อว่าพระเวทมีความศักดิ์สิทธิ์ และถูกต้องโดยไม่ต้องพิสูจน์ เชื่อในความมีอยู่มีพระผู้เป็นเจ้า กลุ่มอาสติกะมีสำนักปรัชญามากมายนั่นคือปรัชญาพระเวท อุปนิษัท ภควัทคีตา นยายะ ไวเศษิกะ สางขยะ โยคะ มีมางสา เวทานตะ ในทัศนะเกี่ยวกับสสารนิยมนี้ ที่เห็นเด่นชัดที่สุดเห็นจะเป็น ปรัชญาไวเศษิกะและปรัชญานยายะ

1.1 ปรัชญาไวเศษิกะ (Vaisesika)

ปรัชญาสำนักไวเศษิกะ เป็นปรัชญาที่เด่นกว่าปรัชญาสำนักอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับอภิปรัชญา เพราะปรัชญาไวเศษิกะได้กล่าวถึงหลักของอภิปรัชญาโดยเฉพาะนั่นคือ เรื่องของภววิทยา กล่าวคือวิชาที่ว่าด้วยความมีอยู่ ความเป็นอยู่

ปรัชญาไวเศษิกะ ได้อธิบายอภิปรัชญาไว้ 2 เรื่องคือ

  • เรื่องปทารถะ หรือประเภทของสิ่งที่มีอยู่จริงทั้งหลาย
  • เรื่องปรมาณู
  • เรื่องปทารถะ หมายถึงสิ่งที่สามารถแสดงให้รู้กันได้ด้วยคำพูด มี 7 อย่างคือ

1. ทรัพย์ (Substance) หมายถึงที่รองรับคุณและกรรม กล่าวคือสิ่งที่เป็นที่อาศัยของคุณและกรรม ทรัพย์ในที่นี้มี 9 ชนิดคือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ, อากาศ, กาล, อวกาศ, อัตตา และมนัส
2. คุณ (Quality) หมายถึงสิ่งที่ตั้งอยู่ในทรัพย์ หรืออาศัยทรัพย์อยู่ ไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ด้วยตัวเองได้ คุณในที่นี้มีหลายประการเช่น สี กลิ่น รส ผัสสะ จำนวน ความสุข ความทุกข์ ขนาด ความรู้ เหล่านี้เป็นต้น
3. กรรม (Action) หมายถึงกิริยาหรือความเคลื่อนไหวทางกายภาพ เป็นกิริยาของทรัพย์ เป็นกระบวนการเคลื่อนไหวที่ทำให้วัตถุชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ไปหาวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง กรรมจะมีอยู่ในทรัพย์ที่มีรูปร่างจำกัด เช่น ปรมาณู, ดิน, น้ำ, ไฟ และลม กรรมไม่สามารถอยู่ในทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างจำกัดได้ เช่น อากาศ และกาล ซึ่งแผ่กระจายอยู่ทั่วไป ไม่มีขอบเขต กรรมหรือการเคลื่อนไหวมีอยู่ 5 อย่างคือ การเคลื่อนสู่เบื้องสูง, การเคลื่อนลงเบื้องต่ำ, การหดตัว, การยึดตัวออก หรือการขยายตัว และการเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง
4. สามานยะ (Universality) หมายถึงลักษณะสามัญทั่วไปที่มีอยู่ประจำแต่ละสิ่ง และมีอยู่อย่างถาวร เช่น คน แม้จะมีหลายภาษา หลายตระกูล ลักษณะการเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน แต่ก็มีลักษณะสามัญที่เราเห็นแล้วจะรู้และเข้าใจทันทีว่าเป็นคน
5. วิเศษ (Particularity) หมายถึงลักษณะที่พิเศษที่มีอยู่ประจำแต่ละสิ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้เราเห็นความแตกต่างของสิ่งนั้น ๆ
6. สมวายะ (Inherence) หมายถึงความสัมพันธ์ ซึ่งมี 2 อย่างคือ

  1. ความสัมพันธ์ชั่วคราว (สังโยค) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่ง 2 สิ่งที่สามารถแยกจากกันได้ เช่น คน 2 คน วิ่งไปคนละทางแล้วมาประจบกัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นต้น
  2. ความสัมพันธ์ถาวร (สมวายะ) เป็นความสัมพันธ์ที่แยกกันไม่ได้ หากแยกกันแล้ว สิ่งนั้นก็จะหายไป เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างผ้าและเส้นด้าย เส้นด้ายหลาย ๆ เส้นรวมกันกลายเป็นผ้า แต่ถ้าหากแยกเส้นด้ายออกเมื่อไร ผ้าก็จะหายไปทันที เป็นต้น

7. อภาวะ (Non- Existence) หมายถึงความไม่มี มี 2 อย่างคือ

  1. ความไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (สังสารคาภาวะ) เช่น ไม่มีเงิน ในกระเป๋า เป็นต้น
  2. ความไม่มีที่ปฏิเสธความเหมือนกัน (อันโยนยาภาวะ) เช่น โต๊ะไม่ใช่ เก้าอี้, เก้าอี้ไม่ใช่โต๊ะ เป็นต้น

เรื่องปรมาณู

ไวเศษิกะ ถือว่า โลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลกประกอบด้วยส่วนสัดต่าง ๆ โดยที่ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเริ่มต้นและที่สุด กล่าวคือ

  • การเริ่มต้นของสรรพสิ่ง เกิดมีขึ้นเมื่อสัดส่วนของมันมารวมกันเข้า นั่นคือการรวมตัวของธาตุ หรือปรมาณู 4 อย่างคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
  • การสิ้นสุดของสรรพสิ่ง เกิดมีขึ้นเมื่อสัดส่วนเหล่านั้นแยกออกจากกัน
  • สรรพสิ่งสามารถแยกย่อยออกไปเป็นสัดส่วนใหญ่ ๆ และสัดส่วนใหญ่ ๆ นั้นสามารถแยกย่อยลงไปได้อีก แบ่งแยกย่อยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงอนุภาคที่เล็กที่สุด

ด้วยความเห็นเช่นนี้ ทฤษฎีของไวเศษิกะ จึงถูกเรียกว่า “ทฤษฎีปรมาณูของโลก” ปรมาณูเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดจองสสาร แต่ละปรมาณูไม่ประกอบด้วยสัดส่วน เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ แบ่งแยกไม่ได้ ทำลายไม่ได้ สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้

ปรัชญานยายะ (Nyaya)

ปรัชญาสำนักนี้ที่จัดว่าเป็นสสารนิยม เพราะแนวความคิดที่ถือว่าอณูของดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นมูลกำเนิดของโลกและสรรพสิ่งในโลก รวมทั้งคนและสัตว์ จัดเป็นปรัชญาอณูพหุนิยม (Atomic Pluralism)

2. กลุ่มนาสติกะ

ได้แก่กลุ่มที่ไม่เชื่อคัมภีร์พระเวท ไม่เชื่ออำนาจของพระผู้เป็นเจ้า ในส่วนของแนวความคิดที่เป็นสสารนิยมนั้น ที่เด่นชัดที่สุดก็ได้แก่ ปรัชญาจารวาก ดังนี้

ปรัชญาจารวาก (Charavaka) เป็นสำนักปรัชญาสสารนิยม หรือวัตถุนิยมโดยแท้ โดยถือว่า วัตถุหรือสสารเท่านั้นที่มีอยู่จริง นอกจากนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มี โลกประกอบด้วยวัตถุธาตุ 4 อย่างคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม (ปรัชญาอินเดียสำนักอื่น ๆ ส่วนมากจะบอกว่า โลกประกอบด้วยวัตถุธาตุ 5 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศธาตุ) เพราะวัตถุธาตุทั้ง 4 นี้เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

วัตถุธาตุทั้ง 4 ผสมหรือรวมกันเองโดยบังเอิญ ไม่มีใครสร้างหรือไม่มีอำนาจเหนือธรรมชาติมาบังคับให้รวมตัวกัน การรวมตัวกันดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดผลตามมา 2 อย่างคือ

  • การรวมตัวทำให้เกิดสิ่งที่มีชีวิตขึ้นมา เช่น พืช ต้นไม้ คน สัตว์ เป็นต้น
  • การรวมตัวทำให้เกิดสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น แผ่นดิน ก้อนหิน เป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ จารวากจึงมีปรัชญาหลัก ๆ อยู่ข้อหนึ่งว่า “จงกิน จงดื่ม จงรื่นเริงเสียแต่วันนี้ เพราะพรุ่งนี้เราอาจตายได้” โดยที่จารวากไม่ยอมรับเรื่องโลกหน้า เรื่องนรก สวรรค์

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย