ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความเบื้องต้น
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก
ความเป็นมาของชนชาติไทย
กลุ่มที่เชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดในถิ่นอื่นนอกจากดินแดนประเทศไทย
กลุ่มที่เชื่อว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ดินแดนประเทศไทยนี้เอง
วิวัฒนาการของสังคมไทยสมัยต่าง ๆ
ความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทย
ความเชื่อก่อนการนับถือพระพุทธศาสนา
ความเชื่อเมื่อนับถือพระพุทธศาสนา
ความเชื่อของคนไทยสมัยใหม่
ชนชาติไทยกับปรัชญา
ภูมิปัญญาไทย หรือ แนวคิดไทย
ปรัชญาไทย
วิธีคิดของคน
วิธีคิดของคนไทย
ระบบปรัชญาไทย 3 สาขา
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชี้ให้เห็นถึงความเจริญและก้าวหน้าทางศิลปวิทยาของมนุษย์ตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก แต่กลุ่มที่ยังคงมีอิทธิพลเหนือความคิดและวิถีชีวิตของมนุษย์จากอดีตมาจนปัจจุบัน มีเพียง 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มอารยธรรมกรีก เป็นอู่อารยธรรมโบราณ
ตั้งอยู่บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดทางปรัชญาตะวันตกทั้งมวล มีอายุเก่าแก่ประมาณ
2,000 322 ปีก่อน ค.ศ. เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดก็ในยุคกรีกโบราณ
มีเมืองเอเธนส์เป็นศูนย์ศิลปะวิทยาการ นักปราชญ์ยิ่งใหญ่เป็นที่รู้จักก็มี
โสคราตีส(Socrates) เพลโต(Plato) และอริสโตเติล(Aristotle)
ความเจริญทางอารยธรรมตะวันตกทั้งปวงแทบกล่าวได้ว่า
มีจุดกำเนิดมาจากกลุ่มนี้แม้แต่แนวคิดทางปรัชญา จนคำพูดว่า
ประวัติศาสตร์ปรัชญาตะวันตก(สมัยหลัง)
เป็นเพียงกลุ่มเชิงอรรถแห่งปรัชญาของเพลโต หรือ เพลโตคือปรัชญา
- กลุ่มอารยธรรมลุ่มน้ำสินธู มีความเจริญไม่น้อยหน้ากว่ากลุ่มแรก
เรียกตัวเองว่า อารยัน มีอายุประมาณ 3,000-1,500 ปี ก่อน ค.ศ.
ตั้งอยู่ดินแดนที่เรียกว่า ชมพูทวีป ครอบคลุมประเทศอินเดีย
ปากีสถานและอาฟกานิสถาน เป็นบ่อเกิดศาสนาต่างๆ เช่น ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ
ศาสนาเชน ศาสนาซิกข์ และเป็นบ่อเกิดปรัชญาตะวันออกที่เรียกว่า ปรัชญาอินเดีย
กลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อความคิดและขยายอาณาจักรทางความคิดแผ่ไปรอบๆ
ประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียทั้งหลาย
- อารยธรรมกลุ่มแม่น้ำแยงซี แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง(Yantse Kiang) คือ ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน เป็นอู่อารยธรรมชาวตะวันออกอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีมิได้ด้อยไปกว่าสองกลุ่มแรก มีอายุในยุคสมัยเดียวกัน คือประมาณ 1,500 300 ปีก่อน ค.ศ. เป็นบ่อเกิดของปรัชญาเมธีและนักการศาสนาชาวจีนที่โดดเด่น 2 ท่าน คือ เล่าจื๊อ(Lao Tzu) ผู้รักธรรมชาติและชีวิต ศาสดาของศาสนาเต๋า(Taoism) และขงจื๊อ (Confucius) ผู้อนุรักษ์ความเป็นระเบียบและขนบประเพณีนิยมของสังคม เป็นศาสดาศาสนาขงจื้อ(Confucianism) หลักความคิดทางปรัชญาของท่านเหล่านี้ เป็นต้นกำเนิดของปรัชญาจีนและแผ่อิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดและวิถีชีวิตของชาวจีนและประเทศใกล้เคียงที่ติดต่อทางการค้า เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม เป็นต้น แต่ที่ญี่ปุ่นได้แตกสายเฉพาะออกไปเป็นศาสนาชินโต แต่ก็ยังพอมองเห็นอิทธิพลของจีนผสมอยู่ไม่น้อย
อารยธรรมทั้ง 3 สาย ต่างก็แสดงบทบาทอันทรงพลังต่อแนวคิดและหลักดำเนินชีวิตของชาวตะวันตกและตะวันออก กลายรูปมาเป็นศาสนา ปรัชญา ระบบการปกครอง ศิลปกรรม ตลอดจนสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่ามาจนปัจจุบัน ชาวไทยก็หลีกไม่พ้นจากการถูกครอบงำความคิดโดยสายอารยธรรมตะวันออก ในยุคแรกโดยเฉพาะจากจีน เพราะชนชาติไทยเคยอยู่ใกล้จีนมาก่อน ต่อมามีความสัมพันธ์กับอินเดียก็ได้ยอมรับเอาอารยธรรมแบบอินเดียที่แฝงมาในรูปของศาสนา เช่น ศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ แม้ว่าสมัยหลัง ชาติไทยนับแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมาได้ติดต่อกับประเทศทางตะวันตก ยอมรับเอาวัฒนธรรมและ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ให้เหมาะกับประเทศของตน ในรูปแบบของการปรับปรุงจารีต(Neotraditionalism)โดยการปฏิรูปความเชื่อ ค่านิยมและจารีตที่ได้รับการตีความใหม่ เพื่อต่อต้านแนวคิดสมัยใหม่แบบสุดโต่ง ดังนั้น วิถีชีวิตของชนชาวไทย จึงเป็นการผสานผสมกลมกลืนอารยธรรมจากจีน อินเดีย และวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่ มาเป็นวิถีชีวิต และเอกลักษณ์ของตน