ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความเบื้องต้น
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก
ความเป็นมาของชนชาติไทย
กลุ่มที่เชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดในถิ่นอื่นนอกจากดินแดนประเทศไทย
กลุ่มที่เชื่อว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ดินแดนประเทศไทยนี้เอง
วิวัฒนาการของสังคมไทยสมัยต่าง ๆ
ความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทย
ความเชื่อก่อนการนับถือพระพุทธศาสนา
ความเชื่อเมื่อนับถือพระพุทธศาสนา
ความเชื่อของคนไทยสมัยใหม่
ชนชาติไทยกับปรัชญา
ภูมิปัญญาไทย หรือ แนวคิดไทย
ปรัชญาไทย
วิธีคิดของคน
วิธีคิดของคนไทย
ระบบปรัชญาไทย 3 สาขา
ความเป็นมาของชนชาติไทย
เพื่อย้อนให้เห็นภูมิหลังและรู้จักต้นตอของชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า ไทย ตลอดสาย นักค้นคว้าชาวตะวันตก แสดงวิธีการค้นคว้า สืบหาต้นตอของชนชาติใดๆไว้ 2 วิธี คือ วิธีโดยตรง ได้แก่ นักสำรวจค้นคว้าต้องเดินทางไปสำรวจดินแดนนั้นให้เห็นประจักษ์ด้วยตนเอง เก็บข้อมูลทางภาษา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ นับแต่การแต่งกาย ขนบจารีต ประเพณี ระบบสังคม เป็นต้น และ วิธีโดยอ้อม ได้แก่ นักวิชาการต้องค้นคว้าจากหลักฐานประเภทต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ของชนชาตินั้น หรือ ข้อมูลเอกสารที่ชนชาติอื่นๆได้บันทึกเกี่ยวกับชาตินั้นๆ ทั้งแง่บวกและแง่ลบ หรือ เอกสารการค้นคว้าของนักวิชาการชาวต่างประเทศได้รวบรวมเขียนรายงานเอาไว้
ความเป็นมาของชนชาติไทย ก็ควรย้อนอดีต
เพราะประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นมา แม้จะไม่หมดเปลือกก็ตาม
ชาติไทยเป็นชาติที่เก่าแก่ชาติหนึ่ง
แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนแสดงถิ่นฐานกำเนิดเดิมว่าอยู่ที่ใดแน่ การใช้วิธีโดยตรง คือ
ประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า เคยอยู่ที่ใด ก็ไปสืบค้นหาต้นตอถึงแหล่งที่นั้นๆ วิธีนี้
สิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่ายมาก
มีคณะค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาติไทยได้เดินทางไปสำรวจถึงดินแดนอัลไต มองโกเลีย
ยูนนาน และเสฉวนที่ประเทศจีนมาแล้ว
ก็ไม่พบหลักฐานที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันอันสื่อได้ว่า คนไทย เคยอยู่ที่นั้นๆ
และชาติพันธุ์ที่อาศัยต่อมาก็เป็นคนละชาติพันธุ์กับชาวไทย
เมื่อใช้วิธีโดยอ้อม ตรวจสอบจากหลักฐาน เอกสาร
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชาติเพื่อนบ้านมาเทียบเคียง แม้กระนั้น ความเห็นว่า
คนไทยมาจากไหน ก็มีความเห็นต่างกันหลายกลุ่ม