ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความเบื้องต้น
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก
ความเป็นมาของชนชาติไทย
กลุ่มที่เชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดในถิ่นอื่นนอกจากดินแดนประเทศไทย
กลุ่มที่เชื่อว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ดินแดนประเทศไทยนี้เอง
วิวัฒนาการของสังคมไทยสมัยต่าง ๆ
ความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทย
ความเชื่อก่อนการนับถือพระพุทธศาสนา
ความเชื่อเมื่อนับถือพระพุทธศาสนา
ความเชื่อของคนไทยสมัยใหม่
ชนชาติไทยกับปรัชญา
ภูมิปัญญาไทย หรือ แนวคิดไทย
ปรัชญาไทย
วิธีคิดของคน
วิธีคิดของคนไทย
ระบบปรัชญาไทย 3 สาขา
กลุ่มที่เชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดในถิ่นอื่นนอกจากดินแดนประเทศไทย
ในกลุ่มนี้เองก็ยังระบุถิ่นกำเนิดชาวไทย เอาไว้หลายแหล่ง คือ
- คนไทยอพยพมาจาก บริเวณเทือกเขาอัลไต เจ้าของความคิด คือ วิลเลียมส์ คริฟตัน
ด็อด(Williams Clifton Dodd) หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน กล่าวไว้ในหนังสือ The Tai
Race : The elder Brother of Chinese เมื่อ ปี 2425 หลังการไปสำรวจจากดินแดนไทย
ถึง ตอนใต้ของจีน ออกไปถึงกวางตุ้ง ระบุว่า เชื้อชาติไทย เป็นเชื้อสายมองโกล
เก่าแก่กว่า ฮิบรู และจีน เรียกว่า อ้ายลาว หรือ ต้ามุง คำว่า ต้า
ในภาษากวางตุ้งเรียกว่า ไต แปลว่า ใหญ่ จึงระบุว่า ถิ่นกำเนิดไทยที่ อัลไต (อัล
= อะเลอ แปลว่า ดินแดน ไต คือ ไท) จากประเทศมองโกเลีย แล้วเคลื่อนย้ายเข้าจีน
และร่นลงมาทางใต้เรื่อยๆ จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน
กลุ่มนี้ มีคนสืบสอดหลายคน เช่น W.A.R .WOOD ใน A History of Siam. (2467) ขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนพันธ์) ใน หลักไทย (2437) และ หลวงโกษากรวิจารณ์(บุญศรี ประภาศิริ) นักค้นคว้าผู้เชี่ยวชาญภาษาจีน และภาษาอังกฤษ ในงาน วิเคราะห์เรื่องเมืองไทเดิม(2478) - มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่บริเวณมณฑลเสฉวน แนวคิดนี้ ย้อนลงทางใต้ของอัลไต
มาที่จีนตอนใต้ คือ มณฑลเสฉวน ยืนยันโดย Terrien de la Couperiee ใน หนังสือ
The Cadle of The Shan Race Amongst the Shans(พ.ศ. 2428) ค้นคว้าจากหลักฐานจีน
ได้ความว่า ในประวัติศาสตร์จีน เป็นรายงานสำรวจภูมิประเทศจีน สมัยพระเจ้ายู้
กล่าวถึงชนชาติไทยไว้หน่อยหนึ่งว่า
มีชนชาติหนึ่งซึ่งมิใช่ชาวจีนอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงซึ่งจีนเรียกว่า
คนเถื่อน ชนชาตินี้ต่อมาเป็นบรรพบุรุษของลาวและฉาน
พระยาอนุมานราชธนก็ยืนยันว่า เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว จีนเรียกเผ่านี้ว่า
มุง หรือ ต้ามุง (Ta Mung) ก็คือคนไทย และมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ลุง ปา
เงี้ยว ตั้งอาณาจักรลุง อาณาจักรปา และอาณาจักรเงี้ยว
ชนชาตินี้ต่างกระจัดกระจายอยู่ในแถบมณฑลยูนนาน เฉสวน ฮูเป โฮนาน และ แอนหุย
ในแถบเขาเซียลุง (Chia Lung) ภูมิภาคแถบนี้เป็นภูเขา เป็นที่ลุ่มและป่าไม้
ได้รับน้ำจากลุ่มน้ำโขง และเจ้าพระยาตอนล่าง
งานศึกษา เรื่อง ชนชาติไทย ของพระยาอนุมานราชธน(2483) บวกกับงาน พงศาวดารชาติไทย ของพระบริหารเทพธานี(2496) รวมทั้งงาน สยามกับสุวรรณภูมิ(2476) และ ชนชาติไทย (2490) ของหลวงวิจิตรวาทการ ยืนยันแนวคิดที่ 2 นี้ - บรรพบุรุษชาวไทย มีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณทางตอนใต้ของจีน
ตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่บริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย
นักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ Archibal R. Colquhoun ไปสำรวจดินแดนในถิ่นนี้ พบเห็นความเหมือนกันด้านภาษา การแต่งกาย อาหารการกิน และวิถีชีวิต สรุปว่า เชื้อสายไทย กระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนแถบดังกล่าว - ถิ่นเดิมอยู่ที่คาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆในอินโดนีเซีย ได้อพยพขึ้นมา มีนายสมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ เสนอใน สยามสมาคม ปี 2506 โดยอาศัยวิชาการแพทย์ด้านกลุ่มเลือด สุ่มตัวอย่างเลือกเก็บจากกลุ่มคนบริเวณนี้ ว่ามีความคล้ายกับคนไทย จึงสรุปว่า มิได้มาไกลจากถิ่นภูเขาอัลไต