สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์กำลังคน

กำลังคนกับการศึกษา

  1. การศึกษาเป็นทั้งการบริโภคและการลงทุน เพราะการศึกษาก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศุกษาทั้งในขณะที่ศึกษาอยู่และในอนาคต
  2. การศึกษามีลักษณะของสินค้ากึ่งส่วนบุคคลและสินค้ากึ่งมหาชน เพราะการศึกษาให้ประโยชน์แก่ผู้ศึกษา และผู้อื่นในสังคมด้วย ดังนั้น รัฐก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะใช้มรัพยากรที่ได้จากภาษีอากรในการส่งเสริมบริการการศึกษา แต่จะต้องระมัดระวัง ให้ผลตอบแทนต่อสังคม และต้นทุนของสังคมอยู่ในระดับที่สมดุลกัน
  3. เพื่อให้กำลังคนมีการศึกษาในระดับที่ให้ประโยชน์แก่สังคม จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนการศึกษา ให้สอดคล้องกับการวางแผนกำลังคน

การศึกษา : ลักษณะทางเศรษฐศาสตร์

  • การศึกษามีลักษณะที่เป็นทั้งการบริโภคและการลงทุน
  • การศึกษามีลักษณะของสินค้าส่วนบุคคล และมีลักษณะของสินค้ามหาชนด้วย
  • อุปสงค์ต่อการศึกษาของสังคมนั้น รวมความต้องการของบุคคลและของสังคม และเป็นพื้นฐานสำหรับการแทรกแซงโดยรัฐ

การศึกษา : การบริโภคหรือการลงทุน

การศึกษาเป็นการบริโภคเพื่อให้ความพอใจในขณะที่ได้รับการศึกษา และเป็นการลงทุนหากให้ประโยชน์และความพอใจในอนาคต

การศึกษา : สินค้าส่วนบุคคลหรือสินค้ามหาชน

ผลกระทบภายนอกซึ่งเกิดจากการศึกษา คือประโยชน์ที่สังคมทั่วไปได้รับ นอกเหนือจากประโยชน์ที่ผู้รับการศึกษาได้รับเอง

อุปสงค์ส่วนบุคคลและอุปสงค์ของสังคมต่อการศึกษา

การหาอุปสงค์ส่วนบุคคลต่อการศึกษา และอุปสงค์ของสังคมต่อการศึกษา

การลงทุนทางการศึกษากับการเพิ่มค่าของทุนมนุษย์

  1. การศึกษาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รายได้สูงขึ้น
  2. การลงทุนในทางด้านการศึกษาวิเคราะห์ได้ในระดับบุคคลและในระดับสังคม
  3. การคำนวณอัตราผลตอบแทนภายในสำหรับการศึกษาระดับต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่บุคคล และสังคมได้รับจากการศึกษานั้น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษา อายุกับรายได้

ความสัมพันธ์โดยทั่วไประหว่างอายุ รายได้และการศึกษา โดยทั่วไป สำหรับทุกระดับของการศึกษา รายได้ของบุคคลจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จนถึงช่วงอายุประมาณ 50 ปี และจะเริ่มลดลงหลังจากนั้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีการศึกษาต่างระดับกัน ก็จะมีรายได้ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และยิ่งไปกว่านั้น บุคคลที่มีระดับการศึกษาสูงกว่า จะมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น

การวิเคราะห์การลงทุนทางการศึกษา

  1. ในการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนภายใน จากการศึกษาการลงทุนทางการศึกษาของบุคคลนั้น มีปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ ที่สำคัญๆ มีดังนี้
    (1) ปัญหาการหาต้นทุนค่าเสียโอกาสของบุคคล
    (2) ปัญหาความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ การเปลี่ยนแปลงในนโยบายบางนโยบาย ปัญหาการคาดการณ์ในอนาคตของผลได้ที่เกิดจากการศึกษา และ
    (3) ปัญหาเกี่ยวกับข้อสมมุติเรื่อง การกำหนดให้ตัวแปรบางตัวคงที่ในอนาคต ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะเป็นจริงได้ยากมาก
  2. ในการวิเคราะห์การลงทุนทางการศึกษาของสังคมนั้น มีความ แตกต่าง กับการวิเคราะห์การลงทุนทางการศึกษาของบุคคล

อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุนทางการศึกษา

การวางแผนการศึกษาและการวางแผนกำลังคน

  1. การศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
  2. การวางแผนการศึกษาจะทำให้กำลังคนมีความรู้และทักษะที่เหมาะสมมากขึ้นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

บทบาทของการศึกษาที่มีต่อกำลังคนและการพัฒนาเศรษฐกิจ

การศึกษาที่มีผลต่อทั้งขนาดและคุณภาพของกำลังคน ในช่วงเวลาต่างๆ

กลวิธีในการวางแผนการศึกษา

กลวิธีในการวางแผนการศึกษามีด้วยกัน 3 วิธี คือ

  1. วางแผนการศึกษาโดยการฉายภาพอุปสงค์
  2. วางแผนการศึกษาโดยทำการคาดคะเนความต้องการ ซึ่งพิจารณาได้จากโครงสร้างการผลิตในภาคต่างๆ
  3. วางแผนการศึกษาโดยการใช้อัตราผลตอบแทน จากการลงทุนในการศึกษาระดับต่างๆ

กำลังคนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
หลักและแนวคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์
การลงทุนในทุนมนุษย์
กำลังคนกับการศึกษา
การฝึกอบรม
การลงทุนในสุขภาพอนามัย
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายกำลังคน
กำลังคนกับตลาดแรงงาน
กำลังแรงงานและการเข้าร่วมแรงงาน
ผลิตภาพของแรงงาน
การมีงานทำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
เทคนิคการวางแผนกำลังคน
การวางแผนและนโยบายกำลังคนในประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย