สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายกำลังคน
- การเคลื่อนย้ายกำลังคน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการวางแผนกำลังคน
โดยอาจพิจารณาลักษณะการเคลื่อนย้ายกำลังคนได้ 3 ลักษณะสำคัญ คือ
การเคลื่อนย้ายกำลังคนตามสาขาอาชีพ ระหว่างสาขาทางเศรษฐกิจ และทางภูมิศาสตร์
นอกจากนี้
ยังอาจจะพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนย้ายกำลังคนกับปัจจัยทางด้านประชากรบางประการ
- การเคลื่อนย้ายกำลังคนตามสาขาอาชีพ
เป็นการพิจารณากระแสการเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างอาชีพต่างๆ ส่วนสาเหตุสำคัญๆ
ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นได้แก่ การเลิกจ้าง การปิดโรงงานหรือลดการผลิต
อุปสงค์ต่อสินค้าเปลี่ยนแปลง ผลจากการนำเทคนิคการผลิตแบบใหม่ๆ มาใช้
ตลอดจนปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ การเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสาขาเศรษฐกิจนั้น
มักพบว่า เป็นการเคลื่อนย้ายแรงงานจากสาขาที่มีผลิตภาพของแรงงานต่ำ
ไปสู่สาขาที่ผลิตภาพของแรงงานสูง
ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักพบการเคลื่อนย้ายแรงงาน ระหว่างแรงงานนอกระบบด้วย
ส่วนการย้ายถิ่นนั้น เป็นการอพยพจากถิ่นเดิมที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำ
ไปสู่ถิ่นใหม่ที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่า ซึ่งอาจเป็นการย้ายถิ่นภายในประเทศ
หรือระหว่างประเทศก็ได้
- เนื่องจากข้อมูลที่พออ้างอิงได้เกี่ยวกับ การเคลื่อนย้ายกำลังคนทางภูมิศาสตร์มีมากกว่า การเคลื่อนย้ายกำลังคนลักษณะอื่นๆ จึงขอเน้นอธิบายการย้ายถิ่น ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากประเด็นสำคัญๆ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นกับค่าจ้าง การย้ายถิ่นกับความยากจน และการย้ายถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพิจารณาการเคลื่อนย้ายกำลังคน
- การพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนย้ายกำลังคนนั้น
มีความสำคัญต่อการวางแผนกำลังคน ส่วนการพิจารณาการเคลื่อนย้ายกำลังคน
อาจจะทำได้โดยการจำแนกลักษณะของการเคลื่อนย้ายกำลังคนออกเป็น 3 ลักษณะสำคัญคือ
การเคลื่อนย้ายกำลังคนตามสาขาอาชีพ
การเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสาขาเศรษฐกิจและ
การเคลื่อนย้ายกำลังคนทางภูมิศาสตร์ หรือที่บางคนเรียกว่าการย้ายถิ่น
- นอกจากการพิจารณาการเคลื่อนย้ายกำลังคนตามลักษณะ 3 ประการดังกล่าวไว้ในแนวคิดข้อ 1. แล้วอาจจะพิจารณาเคลื่อนย้ายกำลังคน โดยดูจากความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนย้ายกำลังคน กับปัจจัยทางด้านประชากรบางประการ เช่น อายุ สถานภาพครอบครัว และการศึกษา เป็นต้น
ความสำคัญและลักษณะของการเคลื่อนย้ายกำลังคน
- การเคลื่อนย้ายกำลังคนมีความสำคัญต่อการวางแผนกำลังคน
- การเคลื่อนย้ายกำลังคน อาจจะพิจารณาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
(1) การเคลื่อนย้ายกำลังคนตามสาขาอาชีพ
(2) การเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสาขาทางเศรษฐกิจ
(3) การเคลื่อนย้ายกำลังคนทางภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่า การย้ายถิ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนย้ายกำลังคนกับปัจจัยทางด้านประชากรบางประการ
ลักษณะต่างๆ ของการเคลื่อนย้ายกำลังคน
- การพิจารณาการเคลื่อนย้ายกำลังคน ส่วนใหญ่มักเป็นการวิเคราะห์กระแสการเคลื่อนย้ายกำลังคน ระหว่างอาชีพต่างๆ ของประชากรที่มีงานทำ ภายในช่วงเวลาหนึ่ง สาเหตุสำคัญ 5 ประการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายกำลังคนคือ การเลิกจ้าง การปิดกิจการหรือการลดอัตรากำลังการผลิต การเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาด การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต ตลอดจนปัจจัยทางเศรษฐกิจ
- การเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสาขาทางเศรษฐกิจนั้น พบว่ามีเกิดขึ้นเสมอๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ มักมีการทำงานต่ำระดับ และยังพบว่า มักมีการเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างตลาดแรงงานนอกระบบด้วย
- การเคลื่อนย้ายกำลังคนทางภูมิศาสตร์ หรือที่บางคนเรียกว่าการย้ายถิ่นนั้นเป็นการเคลื่อนย้ายกำลังคนจากสถานที่หนึ่ง ไปอีกสถานที่หนึ่งซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย โดยอาจจะเกิดขึ้นภายในประเทศ หรือเป็นการย้ายถิ่นชั่วคราว หรือถาวรก็เช่นกัน สำหรับปัจจัยที่กำหนดการย้ายถิ่น มีทั้งที่เป็นปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด
การเคลื่อนย้ายกำลังคนตามสาขาอาชีพ
สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนอาชีพหรือเปลี่ยนงาน มีหลายสาเหตุด้วยกัน
แต่ที่สำคัญๆ มีดังนี้
(1) การเลิกจ้าง
(2) การปิดกิจการหรือการลดอัตรากำลังการผลิต
(3) การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาด
(4) การนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานบางส่วน
(5) ปัจจัยทางเศรษฐกิจของแรงงาน
การเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสาขาทางเศรษฐกิจ
ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างตลาดแรงงานนอกระบบนั้นจะเกี่ยวข้องอย่างมากกับปัญหาความยากจนในชนบท
และความล้มเหล็วของตลาดแรงงานในระบบ
อันเป็นแหล่งที่จะก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างสำคัญ
การเคลื่อนย้ายกำลังคนทางภูมิศาสตร์
การเคลื่อนย้ายทางภูมิศาสตร์ หรือการย้ายถิ่นนั้น
อาจจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยผลักดันในถิ่นต้นทาง เช่น ความยากจน และ/หรือ
ปัจจัยดึงดูดในถิ่นปลายทาง เช่น ค่าจ้าง การมีงานทำ เป็นต้น
แนวคิดเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
- การเคลื่อนย้ายกำลังคนกับค่าจ้างจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยความแตกต่างของค่าจ้างในระหว่างสองพื้นที่ จะนำมาสู่การเคลื่อนย้ายกำลังคนและการเคลื่อนย้ายกำลังคนเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ค่าจ้างถูกปรับเข้าสู่ระดับดุลยภาพ
- การพัฒนาสาขาการเกษตรให้ทันสมัย โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการผลิตเพื่อตลาดซึ่งมักจะติดตามด้วยการนะเครื่องทุ่นแรง และปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาใช้ ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายของเกษตรกรสูงขึ้น ในขณะที่สามารถขายผลผลิตได้ในราคาต่ำ การมีรายจ่ายไม่พอกับรายได้ก่อให้เกิดความยากจน จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่น
- การย้ายถิ่นในประเทศโดยเฉพาะการย้ายออกจากสาขาเกษตรกรรมสู่สาขาอุตสาหกรรม และสาขาบริการ มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดกระบวนการเติบโต ในทุกส่วนของระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นกับค่าจ้าง
ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างสองพื้นที่ โดยเฉพาะเมืองกับชนบท
จะนำไปสู่การย้ายถิ่นจากชนบทสู่เขตเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นกับความยากจน
การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนย้ายกำลังคนกับความยากจนนั้น
เป็นการพิจารณาด้านปัจจัยผลักดันซึ่งอยู่ในถิ่นต้นทาง
เป็นเหตุให้มีการย้ายถิ่นออกจากถิ่นเดิม
สาเหตุหนึ่งที่พบมากก็คือความยากจนของแรงงาน
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพสาขาเกษตรกรรม
เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วจะพบข้อน่าตกใจประการหนึ่งก็คือ
การมุ่งพยายามที่จะเพิ่มผลผลิตจากการเกษตร อาจด้วยวิธีใดๆ
เช่นการนำเทคนิคการผลิตสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตร
แล้วทำให้เกษตรกรมีภาระหนี้สินรุงรัง จนในที่สุดอาจจะต้องสูญเสียที่ดินทำกิน
ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ และต้องอพยพย้ายถิ่นออกจากถิ่นเดิมในที่สุด
ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
การย้ายถิ่นโดยเฉพาะการย้ายถิ่นออกจากสาขาเกษตรกรรม
(หรือสาขาเศรษฐกิจที่มีผลิตภาพของแรงงานต่ำ และการผลิตที่เน้นการใช้แรงงานสูง)
สู่สาขาอุตสาหกรรม (ซึ่งมีผลิตภาพของแรงงานสูง การผลิตเน้นการใช้ทุนเป็นหลัก)
จะก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
กำลังคนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
หลักและแนวคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์
การลงทุนในทุนมนุษย์
กำลังคนกับการศึกษา
การฝึกอบรม
การลงทุนในสุขภาพอนามัย
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายกำลังคน
กำลังคนกับตลาดแรงงาน
กำลังแรงงานและการเข้าร่วมแรงงาน
ผลิตภาพของแรงงาน
การมีงานทำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
เทคนิคการวางแผนกำลังคน
การวางแผนและนโยบายกำลังคนในประเทศไทย