ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ฮวงจุ้ยและชัยภูมิ

» ภูมิศาสตร์-ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของทำเลและที่ตั้ง

» แนวคิดทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทำเลและที่ตั้ง

» แนวคิดเชิงสิ่งแวดล้อมนิยมและแนวคิดเชิงกำหนดนิยม

» แนวคิดเชิงความเป็นไปได้และแนวคิดเชิงความน่าจะเป็น

» ความเชื่อมโยงของแนวคิดทางภูมิศาสตร์กับโบราณอุบายฮวงจุ้ยและชัยภูมิ

» สร้างบ้านแปงเมือง

» การสร้างเมืองหลวงและเมืองรองของบรรพกษัตริย์ไทย

» นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ อัจฉริยภาพในการเลือกชัยภูมิ

» ชัยภูมิศาสตร์

» การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของโบราณอุบาย

» ความเป็นมงคลและอัปมงคลในการสร้างบ้าน

» บทวิเคราะห์และสรุป

» การเปรียบเทียบแนวคิดทางภูมิศาสตร์

» บทสรุป

» เอกสารอ้างอิง

ภูมิศาสตร์-ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของทำเลและที่ตั้ง

พิจารณาโดยรากศัพท์ “ภูมิศาสตร์” มีที่มาจากคำ 2 คำ คือ “ภูมิ” ซึ่งแปลว่าแผ่นดินหรือพื้นโลก และคำว่า “ศาสตร์” ซึ่งหมายถึงระบบวิชาความรู้ เมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันจึงน่าจะมีความหมายว่า วิชาความรู้ที่เกี่ยวกับแผ่นดินหรือพื้นโลก ทั้งนี้สาระที่เป็นแก่นของวิชาเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญของพื้นโลก 4 องค์ประกอบ คือ ภาคพื้นดิน (Lithosphere) ภาคพื้นน้ำ (Hydrosphere) ภาคบรรยากาศ (Atmosphere) และภาคของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)

ความสนใจในการศึกษาภูมิศาสตร์มีมานานตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล ทั้งนี้เนื้อหาสาระที่ศึกษามีความแตกต่างกันไปตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ในสมัยเริ่มแรกหรือที่เรียกว่า ยุคคลาสสิก (Classical period) สาระของภูมิศาสตร์มุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจกายภาพของโลกเป็นสำคัญ ทั้งนี้ยืนยันได้จากงานของธาเลส (Thales : 624-548 B.C.) ที่สนใจเรื่องการกำหนดขนาดและตำแหน่งของสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก อแนกซิมานเดอร์ (Anaximander : 610-547 B.C.) ในฐานะบุคคลแรกที่จัดทำแผนที่โลกโดยใช้มาตราส่วน และเอราโทสเธนิส (Eratosthenes : 273-192 B.C.) ซึ่งเป็นบุคคลแรกเช่นกันในการใช้คำว่า “Geography” และในการวัดเส้นรอบวงของโลก (Martin & James, 1993)

สาระสำคัญของภูมิศาสตร์เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น เมื่อย่างเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (Modern period) ซึ่งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1770 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษของการก้าวย่าง สู่ยุคใหม่ของภูมิศาสตร์ คือ การเป็นผู้นำทางความคิดของนักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมนี เริ่มต้นยุคด้วย อิมมานุเอล ค้านต์ (Kant, I. : 1724-1804) ที่สนใจภูมิศาสตร์กายภาพและปรัชญาของภูมิศาสตร์

ตามด้วย อเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮัมโบลดท์ (Von Humboldt, A. : 1769-1859) และคาร์ล ริทเทอร์ (Ritter, C. : 1779-1859) ซึ่งสนใจภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์ภูมิภาคตามลำดับ นอกเหนือจากนี้ยังมีนักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมนีที่ให้ความสนใจภูมิศาสตร์มนุษย์ เช่น ทฤษฎีการเลือกทำเลที่ตั้งของ ฟอน ธูเนน (von Thunen, J.H. : 1783-1850) ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐานโดย โคห์ล (Kohl, J.G. : 1805-1875) และความแตกต่างเชิงพื้นที่โดย อัลเฟรด เฮทท์เนอร์ (Hettner, A. : 1859-1941) เป็นต้น (Haggett, 1972) อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 1850 เป็นต้นมา ภูมิศาสตร์ได้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก สาระของภูมิศาสตร์ที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบันมิได้จำกัดตัวเองอยู่ในขอบข่ายของภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์เท่านั้น แต่ขยายครอบคลุมไปถึงภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมและภูมิสารสนเทศ (Geo-informatics) ในทำนองเดียวกัน นักภูมิศาสตร์ที่อุทิศตนเพื่อการพัฒนาความรู้ในสาขาก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในเยอรมนีเท่านั้น แต่ได้มีนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งในฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ รวมไปถึงรัสเซีย และสวีเดน

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยปฏิรูปเป็นต้นมา สาระที่เป็นจุดเน้นของภูมิศาสตร์ได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง

นักภูมิศาสตร์ในยุคของการปฏิรูปนี้ยอมรับนิยามใหม่ของภูมิศาสตร์ว่า หมายถึงศาสตร์เชิงพื้นที่ (Spatial science) ภายใต้นิยามใหม่นี้ สาระของภูมิศาสตร์ถูกเน้นและให้ความสำคัญเป็นพิเศษเกี่ยวกับการวิเคราะห์และสังเคราะห์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่บนพื้นโลก (ฉัตรชัย พงศ์ประยูร, 2549)

ประเด็นของความเป็นศาสตร์เชิงพื้นที่ที่บทความนี้ต้องการใช้เป็นฐานความรู้สำหรับการวิเคราะห์และอธิบายคือ ทำเล (Situation) และที่ตั้ง (Site) ในความเข้าใจของคนทั่วไป ส่วนใหญ่มักคิดว่า 2 ประเด็นนี้คือสิ่งเดียวกัน และ/หรือมีความหมายเหมือนกัน ดังจะเห็นได้จากการพูดหรือการเขียนในรูปของ “ทำเลที่ตั้ง” แท้จริงแล้ว “ทำเล” และ “ที่ตั้ง” มีความคล้ายกันในประเด็นเชิงพื้นที่แต่ไม่เหมือนกันในเชิงรายละเอียดของพื้นที่ ที่ตั้งอาจเป็นเพียงจุด (Point) หรือพื้นที่ (Area) ทางกายภาพที่สิ่งของหรือเหตุการณ์ปรากฏ เช่น ที่ราบชายฝั่ง ในหุบเขา บนยอดดอย หรือบนเกาะกลางแม่น้ำ เป็นต้น การใช้คำว่า “ตำแหน่งที่ตั้ง” อาจทำให้เข้าใจในธรรมชาติของ “ที่ตั้ง” ชัดเจนขึ้น กรณีของ “ทำเล” หรือความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 คือ “ถิ่นที่ตั้ง” มิได้เน้นที่ตำแหน่ง แต่เน้นสภาพแวดล้อมโดยรอบ (ไม่จำกัดระยะว่าใกล้หรือไกล) ของที่ตั้งนั้น เช่น เส้นทางคมนาคม พื้นที่ให้บริการ/รับบริการ และการแข่งขันในทางธุรกิจหรือการพัฒนากับธุรกิจอื่นหรือพื้นที่อื่น เป็นต้น (de Blij, 1995 และ de Blij & Muller, 1994

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย