ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ประเภทของวัฒนธรรม
กระบวนการทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์
ความหลากหลายทางชาติพันธุ์
ประชากรและสังคมโลก
สังคมโลก
ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมโลก
สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์
ลัทธิการครอบโลก
พัฒนาการของความขัดแย้ง
สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกตามการจัดแบ่งมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง
ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม ระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์
การเชื่อมต่อของอารยธรรมขงจื๊อ-อิสลาม
พันธมิตรด้านมืด
สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกตามการจัดแบ่งมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง
สาธารณรัฐตุรกี
เคอร์ดิสถาน
ตุรกี (Turkey) (ตุรกี: Türkiye [ตืร์กีเย]) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี
(Republic of Turkey)
เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในทวีปยุโรปตอนใต้และตอนตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
ซึ่งก่อนหน้าปี พ.ศ. 2465 มีชื่อว่าจักรวรรดิออตโตมัน
คาบสมุทรอนาโตเลียระหว่างทะเลดำและ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นแกนกลางของประเทศ
ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรักและซีเรีย ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ
บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน
คอร์ดิสถานเคยพ่ายแพ้ต่ออารยัน โรมัน เปอร์เซีย ซาฟาวิด
และจักรวรรดิออตโตมัน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 18
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเคอร์ดิสถานเสียหายจนยับเยิน
และชาวเคิร์ดมากมายถูกเนรเทศออกไปกระจัดกระจายอยู่ทั่วจักรวรรดิออตโตมัน ในปี 1597
ชาราฟ อัล-ดิน บิตลิซี นักประวัติศาสตร์
ได้เขียนประวัติศาสตร์ของชนชาติเคิร์ดเล่มแรกออกมา ใช้ชื่อว่า Sharafnama และอาหมัด
คานี ได้แต่งมหากาพย์แห่งชาติชื่อ Mem-o-Zin ขึ้นใน ค.ศ.1695
เพื่อเรียกร้องรัฐเคิร์ด ในปีเดียวกันนั้นเองลัทธิชาตินิยมเคิร์ดก็ก่อตัวขึ้น แซนด์
ซึ่งเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ของชาวเคิร์ดนั้นสถาปนาขึ้นเมื่อ ค.ศ.1750 ทว่าพอถึง
ค.ศ.1867 ก็ตกเป็นของรัฐบาลออตโตมันและเปอร์เซีย
สถานการณ์ของชาวเคิร์ดยิ่งเลวร้ายลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
สนธิสัญญาเซฟเรอคาดการณ์ว่าจะเกิดรัฐอิสระเคิร์ดขึ้นมา
แต่สนธิสัญญาดังกล่าวถูกคัดค้านจากกลุ่มที่สู้รบเพื่อเรียกร้องเอกราช
ฝรั่งเศสและอังกฤษได้แบ่งเขตออตโตมันเคอร์ดิสถานไว้ระหว่างตุรกี ซีเรีย และอิรัก
มีการตั้งแคว้นเคิร์ดอิสระ (เคอร์ดิสถานแดง) ขึ้นในโซเวียตอาเซอร์ไบจันในทศวรรษที่
1920 แต่ล้มเลิกไปเมื่อปี 1929 (ชุมชนชาวเคิร์ดถูกกวาดล้างออกไประหว่างปี 19921994
เมื่ออาร์เมเนียได้ผนวกเอาพื้นที่ที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างนากอร์โน-คาราบักห์ที่ยื่นออกไปนอกเขตประเทศตนหนึ่งกับอาร์เมเนียเข้ามา
นี่เองเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจัน)
ในปี 1945 ชาวเคิร์ดได้ก่อตั้งสาธารณรัฐขึ้นที่มาฮาบัด
ในดินแดนประเทศอิหร่านซึ่งเป็นเขตยึดครองของโซเวียต
สาธารณรัฐนี้อยู่ได้เพียงหนึ่งปีก็จะถูกกองกำลังอิหร่านเข้ายึดครองอีกครั้ง
ในทศวรรษที่ 1970 ชาวเคิร์ดในอิรักสามารถปกครองตัวเองได้ส่วนหนึ่ง
แต่ก็เป็นเช่นนี้อยู่เพียงไม่นานเช่นกัน
เนื่องจากทางอิรักเกิดสงสัยว่าชาวเคิร์ดได้ร่วมมือกับกองกำลังอิหร่านซึ่งยึดครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่ก่อนหน้านี้
ในปี 1988 รัฐบาลแบกแดดจึงสั่งโจมตีเมืองฮาลับจาของเคอร์ดิสถานด้วยก๊าซพิษ
มีชาวเคิรด์เสียชีวิตจากการโจมตีดังกล่าวถึงห้าพันคน ส่วนในตุรกี
ชาวเคิร์ดได้ร่วมกันตั้งพรรคแรงงานแห่งเคอร์ดิสถาน (พีเคเค) ขึ้นในทศวรรษที่ 1980
โดยมีผู้นำคืออับดุลลาห์ โอซาลาน และเริ่มใช้อาวุธต่อต้านฝ่ายรัฐบาลตุรกี
แต่โอซาลานก็มาถูกจับได้ในอิตาลีเมื่อปี 1999
ชาวเคิร์ดที่อาศัยอยู่ในตุรกีนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 10 ล้านคน
กองทัพตุรกียังคงปักหลักแน่นหนาอยู่ในพื้นที่ชาวเคิร์ด
และขู่ว่าจะคว่ำบาตรต่อซีเรียซึ่งสนับสนุนพรรคพีเคเค
ทุกวันนี้ชาวเคิร์ด 20 ล้านคนทั้งในตุรกี อิหร่าน อิรัก
และซีเรียยังเรียกขานบ้านเกิดของตนว่า เคอร์ดิสถาน
แม้ว่าเคอร์ดิสถานจะถูกแบ่งแยกไปแล้วก็ตาม แต่ความจริงก็คือ ประเทศเหล่านั้น
ซึ่งมักจะยึดถืออุดมการณ์การเมืองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ต่างก็ได้ดินแดนไปด้วยการรุกล้ำแย่งชิงทิ้งสิ้น
สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
สาธารณรัฐแองโกลา
สาธารณรัฐบุรุนดี
คอเคซัสและรัสเซีย
สาธารณรัฐโคลอมเบีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์)
เอธิโอเปีย ,รัฐเอริเทรีย ,สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐอินเดีย ,สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
สาธารณรัฐอิรัก
รัฐอิสราเอล ,สาธารณรัฐเลบานอน
รัฐอิสราเอล กับปาเลสไตน์
สาธารณรัฐตุรกี ,เคอร์ดิสถาน
โคโซโว (ยูโกสลาเวีย)
สหรัฐเม็กซิโก
สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
สาธารณรัฐซูดาน
สหภาพพม่า