ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

สังคมและวัฒนธรรม

ประเภทของวัฒนธรรม
กระบวนการทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์
ความหลากหลายทางชาติพันธุ์
ประชากรและสังคมโลก
สังคมโลก
ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมโลก
สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์
ลัทธิการครอบโลก
พัฒนาการของความขัดแย้ง
สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกตามการจัดแบ่งมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง
ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม ระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์
การเชื่อมต่อของอารยธรรมขงจื๊อ-อิสลาม
พันธมิตรด้านมืด

สถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกตามการจัดแบ่งมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
รัฐเอริเทรีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี

เอธิโอเปีย เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีเข้ายึดครองประเทศนี้ กองทัพอังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษและเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487

เอริเทรีย เป็นประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก มีชายฝั่งทะเลติดกับทะเลแดงเกือบหนึ่งพันกิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดทะเลแดง ทิศตะวันตกติดซูดาน ทิศตะวันออก เฉียงใต้ติดจิบูตี ทิศใต้ติดเอธิโอเปีย มีเมืองหลวง คือ แอสมารา

โซมาลี (Somali Democratic Republic) ตั้งอยู่บนชายฝั่งใน แอฟริกาตะวันออก บนทวีปมีอาณาเขตจดประเทศเอธิโอเปียและประเทศจีบูติทางทิศเหนือและตะวันตกช่วงกลาง และประเทศเคนยาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีอ่าวเอเดน (Gulf of Aden) บนทางตะวันออก

 

ความสัมพันธ์ระหว่างเอธิโอเปียและเอริเทรียนั้นราบรื่นดีมาตลอด เอริเทรียได้ช่วยเหลือเอธิโอเปียในการโค่นล้มเมนจิสตู และในปี 1993 เอริเทรียก็ได้รับเอกราชภายหลังการต่อสู้อันยาวนาน เอริเทรียนั้นยังใช้เงินสกุลเอธิโอเปียมาจนถึงปี 1997 หลังจากเอริเทรียเริ่มนำสกุลเงินของตนเองมาใช้โดยอ้างเหตุผลทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็เริ่มสั่นคลอน ทั้งสองประเทศไม่เคยคิดจะกำหนดแบ่งแนวพรมแดนที่ทอดยาวระหว่างกัน และก่อนหน้า ค.ศ.1998 เรื่องพรมแดนก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร ชาวเอธิโอเปียที่อยากหางานสามารถข้ามชายแดนเข้าสู่เอริเทรียได้อย่างง่ายดาย ขณะเดียวกันก็มีชาวเอริเทรียจำนวนนับหมื่นอาศัยอยู่ในเอธิโอเปีย

แต่หลังจากการกำหนดแนวพรมแดนได้กลายมาเป็นประเด็นหลักของวิกฤติการณ์ การต่อสู้ได้ปะทุขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1998 ในบริเวณซึ่งเรียกว่าสามเหลี่ยมแบดเม ซึ่งมีพื้นที่ 400 ตร.กม. เอธิโอเปียซึ่งดูแลพื้นที่สามเหลี่ยมนี้อ้างว่ามีทหารเอริเทรียบุกรุกเข้ามา และต้องการให้ผู้บุกรุกเหล่านี้ถอยกลับไป ทางเอริเทรียยอมรับว่ากองกำลังของตนได้เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวจริง แต่ก็อ้างว่าเป็นการมาเพื่อจะเอาดินแดนซึ่งเป็นของตนคืน เพราะแผนที่ของอิตาลีซึ่งเขียนขึ้นระหว่างปี 1907 ถึง 1935 ได้ระบุไว้เช่นนั้น ด้านเอธิโอเปียก็บอกว่าตนมีสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวตามแผนที่ของสนธิสัญญาปี 1902 การต่อสู้ระหว่างสองประเทศเป็นเหตุให้ประชาชนนับร้อยล้มตายลงและอีกนับพันไร้ที่อยู่อาศัย เมื่อถึงเดือนเมษายนปี 2000 การต่อสู้ที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ก็เปลี่ยนมาเป็นการสู้รบอย่างเต็มรูปแบบ

สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
สาธารณรัฐแองโกลา
สาธารณรัฐบุรุนดี
คอเคซัสและรัสเซีย
สาธารณรัฐโคลอมเบีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์)
เอธิโอเปีย ,รัฐเอริเทรีย ,สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐอินเดีย ,สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
สาธารณรัฐอิรัก
รัฐอิสราเอล ,สาธารณรัฐเลบานอน
รัฐอิสราเอล กับปาเลสไตน์
สาธารณรัฐตุรกี ,เคอร์ดิสถาน
โคโซโว (ยูโกสลาเวีย)
สหรัฐเม็กซิโก
สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
สาธารณรัฐซูดาน
สหภาพพม่า

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย