สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 (WHC 34) ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ปี 2553

ต่อมา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 ซึ่งมีขึ้น ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2553 ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศ บราซิล คณะผู้แทนไทยได้พยายามเจรจานอกรอบเพื่อขอให้ที่ประชุมเลื่อน การพิจารณาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาระการขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหาร รวมทั้งแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่จัดทำโดยกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ปี 2554 โดยในที่สุด ที่ประชุมได้มีข้อตัดสินใจ 34 COM 7B.66 เกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร ดังนี้

ข้อตัดสินใจที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34
ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล
เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
วันที่ 3 สิงหาคม 2553

Decision: 34 COM 7B.66 The World Heritage Committee,

1. Having received Document WHC-10/34.COM/7B.Add.3,

2. Recalling Decisions 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, and 33 COM 7B.65, adopted at its 31st session (Christchurch, 2007), 32nd session (Quebec City, 2008), and 33rd session (Seville, 2009) respectively,

3. Takes note that the World Heritage Centre has the documents submitted by the State Party;

4. Further welcomes the steps taken by the State Party towards the establishment of an international coordinating committee for the sustainable conservation of the Temple of Preah Vihear;

5. Decides to consider the documents submitted by the State Party at its 35th session in 2011.

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

ข้อตัดสินใจ 34 COM 7B.66 คณะกรรมการมรดกโลก

1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3

2. อ้างถึงข้อตัดสินใจที่ 31 COM 8B.24 (ได้รับการรับรอง ที่ไครสต์เชิร์ช ค.ศ. 2007), ข้อตัดสินใจที่ 32 COM 8B.102 (ได้รับการ รับรองที่ควิเบก ค.ศ. 2008) และข้อตัดสินใจที่ 33 COM 7B.65 (ได้รับการ รับรองที่เซบีญา ค.ศ. 2009)

3. รับทราบว่าศูนย์มรดกโลกมีเอกสารที่รัฐภาคีนำส่ง

4. ยินดีกับขั้นตอนที่รัฐภาคีได้ดำเนินการเพื่อนำไปสู่การ จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) สำหรับการอนุรักษ์ ปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืน

5. ตัดสินใจที่จะพิจารณาเอกสารที่ยื่นเสนอโดยรัฐภาคีใน การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 35 ในปี ค.ศ. 2011

อย่างไรก็ดี แม้ประเทศต่าง ๆ จะได้รับการทาบทามจากฝ่ายกัมพูชา แต่เนื่องจากฝ่ายไทยแสดงการคัดค้านมาโดยตลอดนับตั้งแต่เสร็จสิ้น การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 34 จนถึงปัจจุบัน จึงยังไม่ได้มี การจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee - ICC) แต่อย่างใด

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย