สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
กรณีปราสาทพระวิหาร
ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย -
กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
กระทรวงการต่างประเทศ
การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ไทยได้พยายามที่จะให้เกิดความร่วมมือและการปรึกษาหารือ
เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกมาโดยตลอด ทั้ง
การติดต่ออย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและการหยิบยกขึ้นหารือในโอกาส ต่าง ๆ กับยูเนสโก
และสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อสอบถาม เกี่ยวกับการดำเนินการของกัมพูชา
รวมทั้งการเสนอแผนบริหารจัดการ ปราสาทพระวิหาร และเอกสารอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหาร
ตลอดจนชี้แจงให้เข้าใจท่าทีของไทยในเรื่องนี้ ในเวทีอื่น ๆ เช่น
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาสหประชาชาติ และ อาเซียน เป็นต้น
ที่ผ่านมา การดำเนินการเกี่ยวกับมรดกโลกอยู่ภายใต้กลไกของ
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งจัดตั้งขึ้น
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 และต่อมา คณะรัฐมนตรี
มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการปรับปรุงองค์ประกอบและ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีตามที่
นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็น รองประธาน
มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่าย เลขานุการ
และมีองค์ประกอบคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนกระทรวง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาความมั่นคง แห่งชาติ
เป็นต้น มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอแหล่งมรดกโลกทาง
วัฒนธรรมและทางธรรมชาติต่อคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อบรรจุไว้ใน บัญชีมรดกโลก
รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมแหล่งมรดกโลกดังกล่าว ให้เหมาะสมตามสถานการณ์
และกำกับดูแลการปฏิบัติตามข้อบัญญัติการ เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ

































