สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

  1. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง รายการบันทึกการรับและการจ่ายเงินตราต่างประเทศ ที่เกิดจากการดำเนินรายการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้มีภูมิลำเนาในประเทศหนึ่งกับผู้ที่มีภูมิลำเนาในอีกประเทศหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประกอบด้วยบัญชีสำคัญ 4 บัญชี และมีความสำคัญทางด้านการวางนโยบายทางด้านการเงินและการคลัง เพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
  2. ความไม่สมดุลของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึงการเกิดภาวะเกินดุล หรือขาดดุลของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ การขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ หลายประการ มีผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งต้องหาทางแก้ไข
  3. สภาพดุลการชำระเงินระหว่างประเทศในปัจจุบันของประเทศต่างๆ มีทั้งการขาดดุลและเกินดุล ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ไม่ต้องพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศมาก ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศมาก

ความหมาย องค์ประกอบ และความสำคัญของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

  1. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึงรายการบันทึกการรับและการจ่ายเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากการดำเนินรายการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้มีภูมิลำเนาในประเทศหนึ่งกับผู้ที่มีภูมลำเนาในอีกประเทศหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศมีความสำคัญทางด้านการวางนโยบายทางด้านการเงินและการคลังให้มีความเหมาะสมเพื่อช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศประสบความสำเร็จ
  2. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประกอบด้วยบัญชีสำคัญ 4 บัญชี ได้แก่ บัญชีเดินสะพัด บัญชีทุน บัญชีโอน และบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ บัญชี 3 ประเภทแรกอาจมีการเกินดุลหรือขาดดุลก็ได้ ซึ่งจะมีผลทำให้บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  3. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศสามารถจัดทำได้โดยการแยกรายการแลกเปลี่ยนเป็นหมวดหมู่ แล้วนำไปบันทึกทางด้านเดบิตหรือเครดิตของแต่ละบัญชี

ความหมายและความสำคัญของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

ดุลการชำระเงิน หมายถึงการบันทึกการรับและการจ่ายเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากการดำเนินรายการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศหนึ่งกับผู้ที่มีภูมิลำเนาในอีกประเทศหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ดุลการชำระเงินมีความสำคัญทางด้านการวางนโยบายทางด้านการเงินและการคลังให้มีความเหมาะสม เพื่อช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศประสบความสำเร็จ

องค์ประกอบของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

องค์ประกอบของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศได้แก่
(1) บัญชีเดินสะพัด
(2) บัญชีทุน
(3) บัญชีการโอน
(4) บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ

วิธีการจัดทำดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

  1. ส่งข้าวสารไปขายยังประเทศในทวีปยุโรป มูลค่า 1,500 ล้านบาท บันทึกทางด้านรายรับ (Credit) ของหมวดสินค้าของบัญชีเดินสะพัด
  2. ส่งคนงานไปทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลางได้เงิน 100 ล้านบาท บันทึกทางด้านรายรับของหมวดบริการของบัญชีเดินสะพัด
  3. ซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันจากประเทศคูเวทเป็นเงิน 500 ล้านบาท บันทึกทางด้านรายจ่าย (debit) ของหมวดสินค้าของบัญชีเดินสะพัด
  4. บริษัท S.M.A. Investment แห่งประเทศสหรัฐอเมริกามาลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท บันทึกรายการทางด้านรายรับของหมวดการลงทุนระยะยาวของเอกชนในบัญชีทุนเคลื่อนย้าย
  5. ประเทศไทยบริจากข้าวสารช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเป็นมูลค่า 80 ล้านบาท บันทึกทางด้านรายจ่ายของหมวดรัฐบาลในบัญชีการโอน
  6. ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยไปร่วมลงทุนทางด้านตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสิงค์โปร์ คิดเป็นมูลค่า 250 ล้านบาท บันทึกทางด้านรายจ่ายของหมวดการลงทุนระยะยาวของเอกชนในบัญชีทุนเคลื่อนย้าย
  7. ประเทศไทยได้รับเงินค่าชดเชยจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท บันทึกทางด้านรายรับของหมวดรัฐบาลในบัญชีเงินโอน
  8. SDRs ที่ประเทศไทยได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นอีก 12.5 ล้านบาท บันทึกทางด้านรายรับของบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ

» ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

» โครงสร้างและวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

» ประเทศกำลังพัฒนากับการค้าระหว่างประเทศ

» เส้นความพอใจเท่ากัน

» ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (1)

» ดุลยภาพของการค้าระหว่างประเทศสมัย นีโอคลาสสิก

» ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (2)

» ทฤษฎีว่าด้วยสมภาพแห่งราคาปัจจัยการผลิต

» ทฤษฎีอื่นๆ เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ

» อัตราการค้าและการวัดผลได้จากการค้าระหว่างประเทศ

» นโยบายการค้าระหว่างประเทศโดยทั่วไป

» นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน

» ปัญหาการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา

» นโยบายการค้าระหว่างประเทศสำหรับประเทศกำลังพัฒนา

» ความเจริญทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ

» ผลของความเจริญทางเศรษฐกิจที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศ

» ผลของการค้าต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

» ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

» ความไม่สมดุลของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

» สภาพดุลการชำระเงินระหว่างประเทศในปัจจุบัน

» อัตราแลกเปลี่ยนและตลาดเงินตราต่างประเทศ

» ตลาดเงินตราต่างประเทศ

» ระบบการเงินระหว่างประเทศ

» ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงได้

» ระบบมาตรปริวรรษทองคำ

» ระบบการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบัน

» การลงทุนและความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

» ความหมายประเภท และบทบาทของการลงทุนจากต่างประเทศ

» การลงทุนโดยตรงของเอกชนจากต่างประเทศ

» การลงทุนโดยทางอ้อมจากต่างประเทศและความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

» การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

» ทฤษฎีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

» องค์การระหว่างประเทศ

» ธนาคารโลก

» ข้อตกลงทั่วไปเกี่ยวกับการภาษีศุลกากรและการค้า

» การประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ

» ความสัมพันธ์ของนโยบายการเงิน การคลัง การค้าและอัตราแลกเปลี่ยน

» นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการค้ากับความสมดุลฯ

» ผลที่มีต่อดุลการชำระเงินและรายได้ประชาชาติ

» การค้า การเงินระหว่างประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศของประเทศไทย

» ปัญหาการค้าการเงินระหว่างประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย